"ยางรถยนต์อัจฉริยะ" เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจน

"ยางรถยนต์อัจฉริยะ" เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจน

"ยางรถยนต์อัจฉริยะ" เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ยางล้อรถยนต์แบบใหม่ที่กู้ดเยียร์ (Goodyear)กำลังพัฒนานี้ เป็นยางล้อรถยนต์แห่งอนาคต มีลักษณะใสเเละมีสีเขียว เพราะภายในบรรจุมอสมีชีวิตเอาไว้จนเต็ม

เซบาสเตียน ฟอนเทน (Sebastien Fontaine) นักออกแบบทางอุตสาหกรรมอาวุโสแห่งบริษัทกู้ดเยียร์ กล่าวว่า ยางล้อรถยนต์ยุคใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อมนี้ มีชื่อเรียกว่า “อ็อกซิจีน” (Oxygene) เหมาะแก่การใช้งานในเมืองใหญ่ที่มีประชากรสิบล้านคนขึ้นไป เพราะจะมีรถยนต์ใช้กันถึงสองล้านกว่าคัน



มอสที่บรรจุอยู่ภายในยางล้อรถยนต์ช่วยดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ผ่านรูขนาดเล็กๆ หลายรูที่อยู่บริเวณขอบยาง เเล้วเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้กลายเป็นแก๊สอ็อกซิเจน ผ่านขั้นตอนการสังเคราะห์เเสงตามธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้เเสงแดด

เเละนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมตัวยาง “อ็อกซิจีน” จึงมีความใส

นอกจากนี้ ลายหยักบนล้อยางจะช่วยให้ล้อดูดซับน้ำ ซึ่งจำเป็นสำหรับมอสเพื่อใช้ร่วมกับแสงแดดในการเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นอ็อกซิเจน

นอกเหนือจากจะช่วยลดมลพิษลงเเล้ว ยางล้อรถยนต์สีเขียว “อ็อกซิจีน” ยังผลิตกระเเสไฟฟ้าเองได้ด้วย จากพลังงานที่เกิดจากการสังเคราะห์เเสง


ยางล้อรถยนต์ชนิดใหม่นี้ทำขึ้นจากยางที่ได้จากยางล้อรถยนต์เก่าที่นำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ซึ่ งช่วยลดปริมาณขยะลง

จิม โฮล์เดอร์ (Jim Holder) ผู้อำนวยการฝ่ายบรรณาธิการของนิตยสารออโต้คาร์ เเม็กกาซีน (Autocar Magazine) กล่าวว่า อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ประสบปัญหาในการกำจัดยางล้อรถยนต์ใช้เเล้วมานานเเล้ว และต้องการหาทางออกแก่เรื่องนี้ โดยจะต้องเป็นเเนวทางแก้ปัญหาแบบองค์รวม ไม่ควรทิ้งให้เป็นปัญหาของผู้ผลิตรถยนต์ต้องรับมืออยู่ฝ่ายเดียวเพราะมีปัญหาสิ่งเเวดล้อมรอบด้านที่ต้องคำนึงถึง ตั้งเเต่การผลิตรถยนต์ไปจนถึงการขับขี่รถยนต์

เขาชี้ว่า บริษัทกู้ดเยียร์กำลังพยายามหาทางแก้ปัญหานี้ด้วยการพัฒนายางล้อสีเขียวนี้

ยางล้อสีเขียว “อ็อกซิจีน” ที่เป็นมิตรต่อส่งเเวดล้อมนี้ ยังจะต้องนำไปทดสอบภาคสนามอีกหลายครั้ง ก่อนที่จะออกมาใช้งานจริงๆ ได้กับรถยนต์ที่ขับขี่กันตามท้องถนน

เเต่บริษัทกู้ดเยียร์ชี้ว่า เป็นไปได้ที่ยางล้อรถยนต์ที่ทำความสะอาดอากาศไปในตัวนี้ น่าจะออกมาสู่ตลาดผู้บริโภคได้ภายในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook