Facebook ฟ้องร้องนักพัฒนาแอป 2 ราย ที่สร้างมัลแวร์เพื่อคลิกดูดเงินจากการโฆษณา

Facebook ฟ้องร้องนักพัฒนาแอป 2 ราย ที่สร้างมัลแวร์เพื่อคลิกดูดเงินจากการโฆษณา

Facebook ฟ้องร้องนักพัฒนาแอป 2 ราย ที่สร้างมัลแวร์เพื่อคลิกดูดเงินจากการโฆษณา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตลาดโฆษณาบนโลกออนไลน์มีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ ธุรกิจต่างๆ นิยมลงโฆษณาเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาซื้อและใช้บริการของตน และในตลาดการขายแอปบนสมาร์ตโฟน บริษัทเจ้าของแอปก็หันมาใช้โฆษณาเพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้สมาร์ตโฟนสนใจเข้ามาซื้อแอป ซึ่งผู้ที่เผยแพร่โฆษณาช่วยแนะนำแอป ก็จะได้เครดิตเป็นเงินค่าตอบแทนที่ช่วยให้ขายแอปได้นั่นเอง

เมื่อไม่นานมานี้ ได้เกิดกลโกงในช่องทางธุรกิจโฆษณาขึ้น เมื่อมีนักพัฒนาแอปจอมขี้โกง พัฒนาแอปที่เรียกว่า Click injection fraud หรือ การคลิกหลอกลวงเพื่อสูบค่าโฆษณา ขยายความต่อเลยว่า แอปเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นแอปใช้งานฟรีทั่วไปบนแอนดรอยด์ เช่น แอปไฟฉาย และแอปเปลี่ยนภาพวอลล์เปเปอร์อัตโนมัติ เป็นต้น ซึ่งแอปฟรีจะไม่ถูกตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยอะไรมากนัก สามารถดาวน์โหลดติดตั้งได้ง่ายๆ และของฟรี ใครๆ ก็ชอบ

ภาพ Click injection fraud จากเว็บ tune.com

กระบวนการทำงานของแอปฉ้อโกง คือ เมื่อผู้ใช้สมาร์ตโฟนติดตั้งแอปฉ้อโกงให้ทำงาน มันจะคอยจับตาดูการติดตั้งแอปใหม่ และถึงตอนที่ผู้ใช้คลิกโหลดซื้อแอปใหม่ มันจะแอบไปคลิกโฆษณาปลอม ซึ่งทำเหมือนว่าได้แนะนำให้ผู้ใช้โหลดแอปใหม่นี้ แล้วก็รับเครดิตเป็นเงินเข้าบัญชีไป ก่อนขั้นตอนสุดท้ายที่ผู้ใช้จะติดตั้งและเปิดใช้แอป โดยไม่รู้เลยว่ามีการคลิกโฆษณาปลอมเกิดขึ้น

การฉ้อโกงนี้ทำให้เกิดความเสียหายในวงการโฆษณาออนไลน์ ซึ่งสถิติที่เกิดจากการคลิกโฆษณาปลอมจะทำให้ข้อมูลถูกบิดเบือนและไม่น่าเชื่อถือ  รวมทั้งเจ้าของธุรกิจต้องจ่ายค่าโฆษณาไปโดยที่ไม่ได้ใช้บริการจริง

ล่าสุดตามหัวข้อข่าว Facebook ไม่ยอมทนอยู่เฉย ได้ออกมาฟ้องร้องผู้พัฒนาแอป 2 ราย ที่สร้างมัลแวร์เผยแพร่ผ่าน Google Play เพื่อคลิกโฆษณาปลอมบน Facebook ซึ่งผู้พัฒนาแอป LionMobi ตั้งอยู่ที่ฮ่องกง และแอป JediMobi ซึ่งตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ ก็รับรายได้จากโฆษณาเหล่านี้ไป

Facebook กล่าวว่า แอป LionMobi ทำผิดนโยบายของบริษัทและเป็นอันตรายต่อระบบการโฆษณาบน Facebook  จึงฟ้องร้องเป็นคดี ซึ่งเป็นหนึ่งของคนแรกที่ออกมาต่อต้านปฏิบัติการฉ้อโกงในรูปแบบนี้ และจะคืนเงินให้ผู้จ่ายโฆษณาจากการติดตั้งแอปนับล้านที่เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม 2562 ด้วยฝีมือการโกงของนักพัฒนาแอปทั้งสอง ส่วน Google ก็ไม่ได้นิ่งเฉย เดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้ลบ 30 แอปที่คลิกดูดค่าโฆษณาออกไปเรียบร้อยแล้ว

จากข่าวนี้ขอสันนิษฐานว่า Facebook ได้แสดงออกถึงความสนใจในปัญหาที่เกิดจากการใช้บริการต่างๆ ของตน ซึ่งเป็นผลพวงจากที่ Facebook ได้ถูกปรับเป็นเงิน 155,000 ล้านบาท เพราะไม่สามารถปกป้องข้อมูลในกรณี Cambridge Analytica ทำให้ต้องออกมาดูแลความปลอดภัย และปกป้องผู้ใช้บริการมากขึ้น

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook