รู้จักกับโครงการ The Stanford Thailand Research Consortium งานวิจัยระดับโลก แก้หลายสิ่งในเมืองไทย
วันนี้ (18 กันยายน 2019) ทีม Sanook! Hitech ได้พาคุณมาเปิดตัวโครงการวิจัยครั้งประวัติศาสตร์ เนื่องจาก มหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด (Stanford University) ร่วมมือกับ SEAC (ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคเอเชีย), AIS, และ ธนาคารกสิกรไทย ได้เปิดตัวโครงการ Thailand Research Consortium เพื่อเป็นการเปิดเรื่องของการวิจัยให้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องของการวิจัย ในประเทศไทย และทำให้เกิดคุณภาพที่ดีของข้อมูล
ทางมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด เป็นอีกมหาวิทยาลัยระดับโลกที่มีผลการวิจัยมากมายและยังเชียวชาญในด้านการบริหารซึงเป็นมรดกทางความคิดของผู้ก่อตั้ง โดยนักวิจัยที่มีผลเกี่ยวกับการวิจัยในบทบาทของ Consortium ทั้งคณะต่างๆ และรูปแบบการทำงาน
รวมถึงการวิจัยในเรื่องของการนำ AI มาเจาะลึกและทำงานได้ดีขึ้นอย่างไร ซึ่งทำงานร่วมกับทาง AIS ทำให้เกิดผลวิจัยเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงินหรือ อสังหาริมทรัพย์ และรวมไปถึงเรื่องการศึกษา (เพราะนักวิจัยนั้นมาจากคณะต่างๆ เช่นวิศกรรมศาสตร์, คณะบริหารศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สิ่งแวดล้อมและพลังงาน เป็นต้น)
ในส่วนของ SEAC หรือ ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคเอเชีย มีบทบาทอะไรกับโครงการนี้
- คัดเลือกบริษัทในประเทศไทย ที่มีผลประโยชน์ต่อประเทศชาติ และ ต้องการพัฒนาต่อ
- บริษัท ต้องการจะช่วยอะไรกับในประเทศไทย หรือต้องการพัฒนาเพื่อให้เติบโต และส่งไปยังกับ มหาวิทยาลัย
- บริษัท ต้องสามารถทำงานกับ AIS, AP และ สมาชิกใหม่ TU (Thai Union) เพื่อหาข้อมูลและทำเป็นผลวิจัยให้กับ Stanford University
และทั้งหมดนั้นไม่ได้เริ่มต้นจากการนำสิ่งต่างๆ เข้ามา แต่ความจริงคือการทำให้เกิดความเข้าใจบริบทของประเทศไทย และเกิดความร่วมมืออย่างดีกับ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด นั่นเอง
ในส่วนของ AIS เองไม่ได้มองว่าทำการวิจัยของ AIS เอง แต่การทำงานร่วมกับ Stanford University มันก็จะเป็นความร่วมมือที่ดี การรอให้ภาครัฐอย่างเดียว อาจจะช้าเกินไป การรวมตัวของเอกชนที่มีความพร้อมก็จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนไปได้ และ AIS ได้มองว่าในเรื่องของศัพท์ที่ขั้นสูง เช่น Digital Enterpreneurship การพูดไกล และ มองไกลไว้ก่อน ก็จะเป็นเรื่องดีเพราะทำให้องค์กรเกิดการปรับตัวได้อย่างมาก และยิ่งเป็นองค์กร โทรคมนาคม จะต้องมีการ Active ตลอดเวลา
โครงการนี้ เป็นการร่วมกันผลักกันในภาคเอกชน และทำให้โครงการนี้ จะทำให้ประเทศไทยดูแข็งแรงขึ้นในเรื่องของการทำวิจัยและการแก้ปัญหาต่างๆ แต่จะความเคลื่อนไหวจะเป็นอย่างไร คงต้องรอติดตามกันต่อไปหลังจากที่การวิจัยต่างๆ มีผลและเผยแพร่ออกมาในลำดับถัดไป
ทางด้าน AP Thai ได้เผยว่า โครงการนี้ถือว่าเป็นการทำวิจัยระดับโลกครั้งแรกในเมืองไทย โดยจุดประสงค์เพื่อพัฒนาในประเทศไทย การทำวิจัยทั้งหมดนี้ มีทั้งการสร้างนวัตกรรม, ทำเรื่อง AI และ Technology และศักยภาพของคนในประเทศ ในการวิจัยนี้มีเรื่องของการศึกษาในประเทศไทย เพราะเป็นอีกเรื่องที่น่าเป็นห่วง ในเรื่องของการตามเทคโนโลยีของโลก และเป็นเหตุที่ทำให้บริษัทบางรายปิดตัวเพราะก้าวตามไม่ทัน การก้าวให้ทันจะต้องขึ้นอยู่กับคน
โดยการวิจัยนี้จะทำให้หาคำตอบในเรื่องของการ อัปเกรดความรู้ของคนไทยอย่างไรให้ทันกับเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ ได้
และทางด้านของ KBANK หรือ ธนาคารกสิกรไทย ได้มีความมุ่งหมายให้โปรเจ็คนี้ ให้สำเร็จอย่างมาก เพราะก่อนหน้านี้มีการทำโครงการต่างๆ ก่อนหน้านั้นทั้งป่าจังหวัดน่าน (แม่น้ำน่าน), โครงการเกี่ยวกับ โรงพยาบาลจุฬาฯ ที่ทำให้การทำงานสะดวกสบายและคนไข้ได้รับการบริการอย่างทั่วถึง
การตอบรับโครงการ Thailand Research Consortium จากมหาวิทยาลัย Stanford ก็มีการตอบรับทันที นอกจากจะช่วยให้แก้ปัญหาได้แล้ว ยังมีการเผยแพร่ผลการวิจัยสู่คนหมู่มากและวงกว้างมากขึ้น และที่มี Passion แม้ว่าจะเป็น นักวิจัย Stanford อาจจะคิดว่าทำอยู่ในห้อง แต่ความจริงแล้วนักวิจัย และ ทีมงาน เหล่านั้น ได้ลงพื้นที่จริง ดูปัญหาทั่วถึง เช่นการลงพื้นที่จังหวัดน่าน ก็เข้าไปดูถึงที่ เพื่อแก้ปัญหา
ส่วนด้านจุฬา Care มีการดูตัวอย่างจากผู้สูงวัย 20 – 30 รายเพื่อนำมาพัฒนา AI เพื่อใช้งานได้จริง เริ่มต้นจากที่ โรงพยาบาลจุฬา และคาดว่าการวิจัยนี้จะต่อไปถึง โรงพยาบาลอื่นๆ ได้
เราเชื่อมั่นเกี่ยวกับข้อมูลและรายละเอียดที่ได้ทำลงไป และการร่วมมือจะทำให้โครงการเกิดความสำเร็จได้
การวิจัยดังกล่าวจริงๆ เริ่มต้นกันไปแล้วอต่ก็จะมีการเผยแพร่ให้เห็นได้ชัดกันต่อไป