Facebook ประเทศไทยเปิดเผย ยอดการรับชม Facebook Watch เติบโตขึ้น
Facebook Social Network ชื่อดังที่ให้บริการทั้งข้อมูล และวิดีโอ มีการเปิดเผยข้อมูลของ Facebook Watch บริการรับชมวิดีโอที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดข้อมูลที่เกิดจากผลสำรวจดังนี้
- ผู้คนจำนวนมากกว่า 720 ล้านคนทั่วโลก ใช้เวลาในการรับชมวิดีโอผ่าน Watch อย่างน้อย 1 นาที ในแต่ละเดือน
- ผู้คนมากกว่า 140 ล้านคนทั่วโลก ใช้เวลาในการรับชมวิดีโอผ่าน Watch อย่างน้อย 1 นาที ในแต่ละวัน
- โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้คนจำนวนกว่า 140 ล้านคนเหล่านี้ ใช้เวลารับชมวิดีโอผ่าน Watch มากกว่า 26 นาทีในแต่ละวัน
- ผู้คนมีแนวโน้มที่จะแสดงความคิดเห็นผ่านคอมเม้นท์บนวิดีโอที่รับชมร่วมกับผู้อื่นในปาร์ตี้รับชม (Watch Party) มากกว่าการรับชมวิดีโอเพียงลำพังถึง 8 เท่า
นอกจากนี้ Facebook Watch ในประเทศไทยยังมีลูกเล่นต่างๆ ที่เพิ่มเติมจากเดิมตั้งแต่
- พรีเมียร์ (Premiere): การแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้ รับชมวิดีโอและเพื่อสร้างความน่าตื่นเต้นให้กับเนื้อหาวิดีโอ เครื่องมือนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถโพสต์วิดีโอในรูปแบบเอ็กซ์คลูซีฟได้ ด้วยการกำหนดเวลาฉายวิดีโอ คล้ายกับการฉายภาพยนตร์
- การเผยแพร่สด (LIVE): การเผยแพร่สด ซึ่งรวมถึงความสามารถในการเผยแพร่รอบซ้อม การตัดเนื้อหา การขยายช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้น การแสดงรายการพร้อมกันผ่าน Live API ซึ่งมีให้บริการใน Facebook Lite ด้วย
- ปาร์ตี้รับชม (Watch Party): ทำให้คุณสามารถเชื่อมต่อเพื่อนๆ และชุมชนเพื่อรับชมวิดีโอร่วมกันตามเวลาจริงภายในกลุ่มที่พวกเขาเข้าร่วม รวมถึงการเผยแพร่สด (โดยผู้สร้างสามารถแชร์ความคิดเห็นตามเวลาจริงได้) หรือวิดีโอที่ถูกบันทึกและแชร์จากเพจอื่นๆ ระหว่างการเผยแพร่ปาร์ตี้รับชม ผู้ใช้สามารถสร้างบทสนทนาผ่านคอมเม้นท์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน รวมถึงกำหนดเวลาและเล่นซ้ำได้ นอกจากนี้ ปาร์ตี้รับชมยังมีการอัพเดทเมตริกใหม่ (เช่น จำนวนนาทีที่รับชม และจำนวนผู้ชม 60 วินาทีโดยไม่นับซ้ำ) และการตั้งค่าปาร์ตี้รับชมให้เป็นเนื้อหาที่มีแบรนด์
- โพลล์ (Poll): กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้โหวตเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเนื้อหาวิดีโอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและสร้างการมีส่วนร่วมที่สนุกสนานแก่ผู้ติดตาม
- สตูดิโอครีเอเตอร์ (Creator Studio): ผู้เผยแพร่ใช้เครื่องมือนี้เพื่อโพสต์ จัดการ สร้างรายได้ และวัดผลเนื้อหาของพวกเขา ทั้งบน Facebook และ Instagram โดยมีฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้แก่ ตารางผู้ชมที่กลับมาชมซ้ำ (Return Viewer Table) การตั้งคำบรรยายแบบอัตโนมัติ (Auto-captioning) และสถานะการเผยแพร่ (Distribution Status)
และในฟีเจอร์เกี่ยวกับการโฆษณาบน Facebook ในส่วนของวิดีโอ หรือ การคั้นโฆษณา แม้ว่าจะเริ่มใช้ในบางประเทศ แต่ก็มีลูกเล่นที่น่าสนใจได้แก่
- การคั่นด้วยโฆษณาคือโฆษณาแบบสั้นที่คุณสามารถรวมไว้ในวิดีโอที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อสร้างรายได้
- ตำแหน่งการจัดวางวิดีโอแบบในสตรีม (In-stream video placements): สามารถเลือกตำแหน่งการจัดวางโฆษณาให้อยู่ก่อน ระหว่าง และหลังเนื้อหาวิดีโอได้
- ข้อมูลเชิงลึก: รับข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปดำเนินการต่อได้ เพื่อประเมินศักยภาพการทำงานของคุณในฐานะผู้สร้างเนื้อหา
การควบคุม: เลือกนักโฆษณาหรือประเภทของนักโฆษณาที่คุณต้องการและไม่ต้องการ
ในเรื่องการสร้างรายได้ของ Facebook ในแบบวิดีโอ นอกจากเครื่องมือที่ได้บอกไปก่อนหน้านี้ ก็จะมีแนวนโน้มในเรื่องการเติบโตเพิ่มขึ้น ใน Page ทุกแบบ
ส่วนในเรื่องของกรณีศึกษาในประเทศไทยของ Facebook เพจคอยแม่สลอง ที่น่าสนใจ
- ดอยแม่สลอง สื่อสังคมออนไลน์ คือเพจ Facebook ที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย โดย พรพจน์ เจริญทั้งศิลปชีพ หรือเจ นักศึกษาจบใหม่ที่มีความชื่นชอบด้านการสร้างสรรค์วิดีโอมาอย่างยาวนาน เขาเริ่มผลิตละครดิจิทัลผ่าน Facebook และใช้การคั่นด้วยโฆษณา เมื่อตอนที่เครื่องมือดังกล่าวได้เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2561
- การใช้การคั่นด้วยโฆษณาทำให้เจสามารถสร้างทีมพนักงานประจำจำนวน 15 คนได้สำเร็จ และทีมยังคงขยายอย่างต่อเนื่อง
- การรับชมวิดีโอ 1 นาทีเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จของการสร้างรายได้จากการคั่นด้วยโฆษณา เนื่องจากตำแหน่งโฆษณาตำแหน่งแรกที่สามารถวางในวิดีโอได้คือหลังจากเนื้อหา 1 นาทีเป็นต้นไป
- ในระยะเวลา 3 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2562 ร้อยละ 90 ของวิดีโอของเพจดอยแม่สลอง สื่อสังคมออนไลน์ มียอดผู้ชมวิดีโอถึง 1 นาทีเป็นจำนวนอย่างน้อย 300,000 ครั้ง
ความร่วมมือในประเทศไทย โดย แจ็ค คุณธรรมสาธิต หัวหน้าฝ่ายพันธมิตรด้านเนื้อหาบันเทิง ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนแผ่นดินใหญ่
ส่วนในเรื่องการลงทุนเกี่ยวกับ Content ในประเทศไทยที่ Facebook ทั้งเกิดจากความร่วมมือเช่น Workpoint, BEC, Zense Entertraiment และอื่นๆ อีกมากมายคงต้องลุ้นกันต่อไป ว่าจะออกมาในรูปแบบไหน