เจาะตัวเลข Facebook Watch ทำไมคนชอบวิดีโอถึงชอบดู
เฟซบุ๊กได้จัดงานแถลงข่าวเพื่อแนะนำความสามารถของ Facebook Watch แท็บวิดีโอที่คัดเนื้อหาต่างๆ จากโลกเฟซบุ๊กมาแสดงให้เหมาะสมสำหรับผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งหลังจากเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคม 2018 แท็บวิดีโอของเฟซบุ๊กก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคุณพาเรช ราชวัต ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์วิดีโอของเฟซบุ๊กได้ให้ตัวเลขการเติบโตของ Facebook Watch ที่น่าสนใจว่า
มีผู้ชม Facebook Watch มากกว่า 720 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละเดือน (นับเฉพาะคนที่ใช้เวลาในการรับชมวิดีโอผ่าน Watch อย่างน้อย 1 นาที) แต่ละวันมีผู้ชม Facebook Watch กว่า 140 ล้านคนทั่วโลก (นับเฉพาะคนที่ใช้เวลาในการรับชมวิดีโอผ่าน Watch อย่างน้อย 1 นาทีในแต่ละวัน) โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้คนจำนวนกว่า 140 ล้านคนเหล่านี้ ใช้เวลารับชมวิดีโอผ่าน Watch มากกว่า 26 นาทีในแต่ละวัน
ทำให้ Facebook Watch เป็นช่องทางที่สำคัญในการรับชมและเผยแพร่วิดีโอ เพราะ Watch สามารถแนะนำเนื้อหาที่ผู้ใช้น่าจะสนใจได้ ทำให้ผู้ใช้เจอวิดีโอที่ตรงกับจริตของตัวเองเรื่อยๆ แถมยังมีเนื้อหาในส่วนของ Popular with friends ที่คัดวิดีโอที่เพื่อนของเราในเฟซบุ๊กชอบดูออกมาเน้นให้ดูด้วย และจุดที่เฟซบุ๊กเน้นมากคือการชมวิดีโอด้วยกัน แชร์ความคิดเห็นไปด้วยกัน เป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์นั้นๆ ผ่านวิดีโอ ซึ่งมีตัวเลขออกมาว่าผู้คนมีแนวโน้มที่จะแสดงความคิดเห็นบนวิดีโอที่รับชมร่วมกับผู้อื่นในปาร์ตี้รับชม (Watch Party) มากกว่าการรับชมวิดีโอเพียงลำพังถึง 8 เท่า (ประมาณว่าดูคนเดียวก็สนุก แต่ดูกับเพื่อนมันส์กว่า)
ลูกเล่นวิดีโอของเฟซบุ๊กที่ทำให้คลิปน่าสนใจขึ้น
นอกจากการฉายวิดีโอตามปกติแล้ว เฟซบุ๊กยังมีทางเลือกในการออกอากาศและรับชมหลายอย่างเพื่อให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น หรือสร้างความแปลกใหม่ในการนำเสนอคือ
พรีเมียร์ (Premiere): การแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้ รับชมวิดีโอและเพื่อสร้างความน่าตื่นเต้นให้กับเนื้อหาวิดีโอ เครื่องมือนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถโพสต์วิดีโอในรูปแบบเอ็กซ์คลูซีฟได้ ด้วยการกำหนดเวลาฉายวิดีโอ คล้ายกับการฉายภาพยนตร์ การเผยแพร่สด (LIVE): การเผยแพร่สด ซึ่งรวมถึงความสามารถในการเผยแพร่รอบซ้อม การตัดเนื้อหา การขยายช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้น การแสดงรายการพร้อมกันผ่าน Live API ซึ่งมีให้บริการใน Facebook Lite ด้วย ปาร์ตี้รับชม (Watch Party): ทำให้คุณสามารถเชื่อมต่อเพื่อนๆ และชุมชนเพื่อรับชมวิดีโอร่วมกันตามเวลาจริงภายในกลุ่มที่พวกเขาเข้าร่วม รวมถึงการเผยแพร่สด (โดยผู้สร้างสามารถแชร์ความคิดเห็นตามเวลาจริงได้) หรือวิดีโอที่ถูกบันทึกและแชร์จากเพจอื่นๆ ระหว่างการเผยแพร่ปาร์ตี้รับชม ผู้ใช้สามารถสร้างบทสนทนาผ่านคอมเม้นท์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน รวมถึงกำหนดเวลาและเล่นซ้ำได้ นอกจากนี้ ปาร์ตี้รับชมยังมีการอัพเดทเมตริกใหม่ (เช่น จำนวนนาทีที่รับชม และจำนวนผู้ชม 60 วินาทีโดยไม่นับซ้ำ) และการตั้งค่าปาร์ตี้รับชมให้เป็นเนื้อหาที่มีแบรนด์ โพลล์ (Poll): กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้โหวตเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเนื้อหาวิดีโอ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและสร้างการมีส่วนร่วมที่สนุกสนานแก่ผู้ติดตาม สตูดิโอครีเอเตอร์ (Creator Studio): ผู้เผยแพร่ใช้เครื่องมือนี้เพื่อโพสต์ จัดการ สร้างรายได้ และวัดผลเนื้อหาของพวกเขา ทั้งบน Facebook และ Instagram โดยมีฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้แก่ ตารางผู้ชมที่กลับมาชมซ้ำ (Return Viewer Table) การตั้งคำบรรยายแบบอัตโนมัติ (Auto-captioning) และสถานะการเผยแพร่ (Distribution Status)
ซึ่งคุณ Matthew Henick หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์เนื้อหาของเฟซบุ๊กก็บอกเราว่า วิดีโอที่ดีสำหรับเฟซบุ๊กควร empower หรือสร้างพลังให้ผู้คน ทำให้เข้าถึง สร้างประสบการณ์ที่ดี ซึ่งเฟซบุ๊กก็ทำหน้าที่คัดเลือกวิดีโอที่เหมาะสมมาให้ และให้คำแนะนำผู้สร้างสรรค์วิดีโอว่า
facebook เน้นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผู้ชม ดึงดูดความสนใจของผู้คน ตอบโจทย์คน ถ้าอยากให้คนดูวิดีโอของเรา ก็ต้องพยายามสร้างคลิปที่ดึงคนกลับมาที่วิดีโอของเราเป็นนิสัย มีปฏิสัมพันธ์กับวิดีโอของเราตลอดเวลา ซึ่งเกิดจากมีคนกดแชร์ กดไลค์ แล้วระบบก็จะดึงเนื้อหาขึ้นไปปรากฎในจุดต่างๆ ให้คนเห็นมากขึ้นเอง
วิดีโอในเฟซบุ๊กกับการหารายได้
เฟซบุ๊กก็มองว่าวิดีโอก็ควรสนับสนุนผู้สร้างด้วย ทั้งการสร้างรายได้ และเข้าถึงผู้ชมได้ใกล้ชิดขึ้น ซึ่งผู้สร้างสรรค์จะสร้างรายได้หลักจากโฆษณาของเฟซบุ๊กคือการคั่นด้วยโฆษณาหรือ Ad Break ในคลิปนั่นเอง
การคั่นด้วยโฆษณาคือโฆษณาแบบสั้นที่คุณสามารถรวมไว้ในวิดีโอที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อสร้างรายได้ ตำแหน่งการจัดวางวิดีโอแบบในสตรีม (In-stream video placements): สามารถเลือกตำแหน่งการจัดวางโฆษณาให้อยู่ก่อน ระหว่าง และหลังเนื้อหาวิดีโอได้ ข้อมูลเชิงลึก: รับข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปดำเนินการต่อได้ เพื่อประเมินศักยภาพการทำงานของคุณในฐานะผู้สร้างเนื้อหา การควบคุม: เลือกนักโฆษณาหรือประเภทของนักโฆษณาที่คุณต้องการและไม่ต้องการ
ซึ่งตัวเลขในการสร้างรายได้ (Monetization) มีจำนวนเพิ่มขึ้น
การคั่นด้วยโฆษณาเป็นฟีเจอร์ที่มีให้บริการอยู่ใน 40 ประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน เพจที่ใช้การคั่นด้วยโฆษณาเป็นประจำมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม เพจที่ได้รับรายได้มากกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 8 เท่า เพจที่ได้รับรายได้มากกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน มีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า
และ Facebook ก็แนะนำว่าเนื้อหาที่มีการลงทุนสร้าง นั้นจะได้รับตอบรับที่ดีด้วย โดยผู้สร้างสรรค์อาจทำเนื้อหาในรูปแบบ
คลิปสรุปเนื้อหา (Catchup Clips) คลิปวิดีโอแบบสั้นที่ทำให้แฟนๆ สามารถติดตามเนื้อหารายการหรืออีเว้นท์ที่พวกเขาชื่นชอบได้อย่างต่อเนื่อง และทำให้พวกเขามีส่วนร่วมในบทสนทนากับแฟนๆ คนอื่นเพิ่มขึ้น รายการเบื้องหลัง (Shoulder Programs): คลิปวิดีโอแบบสั้นที่ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นผ่านการจัดรายการที่มีคุณภาพสูง ด้วยวิธีการที่ทำให้แฟนคลับมีความชื่นชอบเพิ่มมากขึ้นผ่านการรับชมวิดีโอที่มีเนื้อหาที่ผลิตขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติและมีความยาวขึ้น ในหัวข้อเนื้อหาที่พวกเขาสนใจ เช่น เบื้องหลังการถ่ายทำ เนื้อหาฉบับเต็มที่ไม่ผ่านการตัดต่อ การจับคู่ (Match): โปรแกรมที่ช่วยมอบข้อมูลการคาดการณ์ด้านการจัดรายการและเนื้อหาที่จะสามารถเพิ่มจำนวนผู้ชมให้กับพันธมิตร ครีเอเตอร์ และบุคคลที่มีชื่อเสียง การลงทุนด้านเนื้อหาของเฟซบุ๊ก
ปัจจุบันเฟซบุ๊กมีการลงทุนด้านเนื้อหามากมายเพื่อให้มีเนื้อหาเฉพาะตัวไปฉายในระบบของตัวเอง โดยในส่วนของประเทศไทยนั้นก็เริ่มมีการร่วมงานกับบริษัทผลิตเนื้อหาชั้นนำมากมาย
เวิร์คพอยท์ ประเทศไทย: แสดงเนื้อหาพรีเมียมจากรายการยอดนิยม เช่น รายการ The Rapper รายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง รายการ I Can See Your Voice ประเทศไทย และรายการ Super Mum ซุปเปอร์หม่ำ รายการ Social Icon ซึ่งออกอากาศเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา รายการแข่งขันที่ตามหาครีเอเตอร์วิดีโอที่ดีที่สุดจากทุกประเภท โดยสามารถรับชมผ่านช่องเวิร์คพอยท์และ Facebook Watch บีอีซี (BEC): แสดงคลิปวิดีโอ เบื้องหลังการถ่ายทำ และเนื้อหาฉบับเต็มก่อนการตัดต่อของละครยอดนิยมที่ออกอากาศทางช่อง 3 เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบเนื้อหาและเหล่าแฟนคลับ และมีวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในการสร้างรายได้ผ่าน Facebook Watch เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ (Zense Entertainment): เน้นแสดงเนื้อหาของรายการชั้นนำ เช่น รายการตลก (บริษัทฮาไม่จำกัด) รายการเกมโชว์ (Couple or Not? คู่ไหน..ใช่เลย) และรายการเกมโชว์ใหม่ที่กำลังจะเปิดตัวในเดือนตุลาคม พ.ศ.2562 (Guess My Age)
และยังมีเนื้อหาที่ผลิตเองและเผยแพร่บน Facebook Watch อีกด้วย
รายการ The Real World Bangkok ของเอ็มทีวี: เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ที่มีเนื้อหาทั้งหมด 12 ตอน และเป็นรายการที่ผลิตขึ้นเองโดย Facebook Watch เป็นรายการแรกในภูมิภาค โดยเริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รายการ The Real World Bangkok ของเอ็มทีวีเล่าเรื่องราวของผู้เข้าร่วมรายการที่เป็นคนไทยและออกอากาศผ่านทาง Facebook Watch เท่านั้น
ความร่วมมือกับครีเอเตอร์และโปรแกรมการจับคู่รายการเข้ากับผู้ชม
รายการ Woody World: ผู้ผลิตเนื้อหาชั้นนำในประเทศไทย ซึ่งผลิตรายการแบบเอ็กซ์คลูซีฟเพื่อแสดงเนื้อหาบน Facebook
สุดท้ายการเจริญเติบโตของตัวเลข Facebook Watch ภายใน 1 ปีนี้และการร่วมลงทุนจากหลายๆองค์กร ทำให้ Facebook Watch เป็นสิ่งที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ชมและผู้ประกอบการ แต่ Facebook Watch จะดึงดูดความสนใจของคนได้มากแค่ไหนนั้น การสร้าง Content ให้ดีเป็นส่วนสำคัญ แต่การกด Like กด Share ก็มีส่วนสำคัญมากอย่างหนึ่ง