เทคนิค "กล้องยักษ์สามหัว" ชะลออายุดาราได้ 30 ปี

เทคนิค "กล้องยักษ์สามหัว" ชะลออายุดาราได้ 30 ปี

เทคนิค "กล้องยักษ์สามหัว" ชะลออายุดาราได้ 30 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เนื่องจาก เรื่องนี้เล่าชีวิตของมาเฟียช่วงระยะเวลายาวนาน 30 ปี หลายคนอาจจะหันมาให้ความสนใจกับเทคนิคพิเศษของภาพยนตร์เรื่องนี้ ในการทำให้ดาราดูหน้าอ่อนลง “The Irishman” กำกับโดย มาร์ติน สกอร์เซซี เป็นการเล่าเรื่องราวที่มีระยะเวลายาวนาน 3 ทศวรรษ ของกลุ่มนักเลง ผู้มีอิทธิพล โดยมีโรเบิร์ต เดอ นีโรวัย 76 ปีแสดงนำ ในช่วงชีวิตต่างๆ ของตัวละคร

เทคนิคการทำให้นักแสดงดูอ่อนกว่าวัยในอุตสาหกรรมภาพยนตร์นี้เรียกว่า "de-aging" หรือการลดวัยนั่นเอง

มีภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่องที่ออกฉายเมื่อปีที่แล้ว ที่ใช้เทคนิคการลดความชราระบบดิจิตอลเพื่อทำให้นักแสดงดูมีอายุน้อยลง อย่างเช่น ซามูเอล แอล แจ็คสัน และวิล สมิธ ที่ปรากฏตัวอยู่ในภาพยนตร์ที่ทำให้พวกเขาดูเหมือนเป็นชายหนุ่มนักวิจารณ์บางคนเรียกปีพ.ศ. 2562 ว่าเป็นปีแห่งการใช้เทคนิคลดความชราในวงการภาพยนตร์

ทั้งนี้วิธีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทำให้นักแสดงดูอ่อนกว่าวัยนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกันสำหรับภาพยนตร์เรื่อง “The Irishman” ผู้สร้างภาพยนตร์หลีกเลี่ยงการใช้เทคนิค Tracking ซึ่งเป็นจุดๆ ที่แต้มอยู่บนใบหน้าของนักแสดง ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถการคำนวณการเคลื่อนไหวของใบหน้าได้ วิธีดังกล่าวอาจทำให้นักแสดงเสียสมาธิได้ ดังนั้น ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงใช้ เครื่องถ่ายวิดีโอขนาดใหญ่ที่มีสามกล้อง ที่ถูกเรียกว่า “three-headed monster” หรือ “กล้องยักษ์สามหัว”

กล้องกลางเป็นกล้องสำหรับผู้กำกับ ส่วนอีกสองกล้องในเทคนิคอินฟราเรด ซึ่งจะไม่บันทึกเงาที่เกิดขึ้น เพราเงาจะทำให้ซอฟท์แวร์ "de-aging" ทำงานผิดปกติได้ ใบหน้าวัยหนุ่มของโรเบิร์ต เดอ นีโร และนักแสดงคนอื่นๆ ใน “The Irishman” เป็นผลงานของ พาโบล เฮลแมน หัวหน้างานฝ่าย Visual Effect ที่บริษัท Industrial Light and Magic ซึ่งในอดีตเขาเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สำหรับผลงานในเรื่อง "Star Wars: Episode II - Attack of the Clones" และ "War of the Worlds"

ในเรื่อง“ The Irishman” เฮลแมนและทีมงานใช้เวลาถึงสองปีในการดูภาพยนตร์เก่าๆ เพื่อดูความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุของโรเบิร์ต เดอนีโร นอกจากนี้ยังสร้างโปรแกรมที่คล้ายกับที่ใช้สร้างวิดีโอ “deepfake” ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวสามารถทำให้ผู้คนในวิดีโอมีลักษณะเหมือนกับคนอื่นได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook