แคสเปอร์สกี้เตือนภัยแอปหาคู่ เจอคู่แน่แล้ว? หรือกำลังเดทกับอาชญากรไซเบอร์?
ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นยุคเวลาแห่งการทำดิจิทัลไลเซชั่นในทุกภาคส่วนของชีวิต และการสื่อสารน่าจะเป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ชีวิตรักของผู้คนก็ไม่เป็นข้อยกเว้น และในโอกาสที่วันแห่งความรักกำลังใกล้เข้ามา ทั้งคนโสดและที่มีคู่รักอยู่แล้วต่างก็วางแผนสุดพิเศษสำหรับวันนี้ แต่สำหรับคนโสดก็มีแอปเดทติ้งช่วยหาคู่มาเป็นตัวช่วย... หรือไม่ช่วยก็ยังไม่แน่?
การปาดหน้าจอไปทางขวานั้นง่ายดาย แต่การค้นหายอดรักคู่ใจ (หรือคู่เดท หากไม่อยากผูกมัดในตอนนี้) ไม่มีอะไรจะง่ายอย่างที่คุณวาดฝัน แม้ว่าคุณจะอยู่ในโลกดิจิทัลก็ตาม นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ประเมินความเสี่ยงและความท้าทายของหนทางสู่ความรัก และพบว่าอาชญากรไซเบอร์ก็ไม่ได้เป็นคนแปลกหน้าสำหรับวงการนี้แต่อย่างใด
แอปหาคู่เดทสุดฮอตที่เป็นที่นิยมทั่วโลก เช่น Tinder หรือ Badoo มักเป็นเหยื่อล่อที่ใช้แพร่กระจายเชื้อมัลแวร์หรือฉกข้อมูลส่วนตัวเพื่อใช้กลับมาถล่มยูสเซอร์ด้วยโฆษณาสารพัดสารพัน หรือสมัครสมาชิกที่แสนแพง เป็นต้น ไฟล์เหล่านี้ไม่เกี่ยวข้องกับแอปที่ถูกกฎหมายแต่อย่างใด เพราะเพียงใช้ชื่อและบางครั้งก็ใช้รูปแบบดีไซน์ของบริการหาคู่ตัวจริง
จากการวิเคราะห์มัลแวร์ที่แฝงชื่อแอปหาคู่ยอดนิยมกว่า 20 แอปและคำค้น ‘หาคู่’ ได้แสดงไฟล์ลักษณะเฉพาะ 1,963 ไฟล์ถูกกระจายออกไปในช่วงปี 2019 ด้วยการแฝงไปในคราบแอปพลิเคชั่นที่ถูกต้อง สองในสามแฝงไปในชื่อแอป Tinder (1,262 ไฟล์) และหนึ่งในหกโยงไปยังแอป Badoo (263 ไฟล์) ซึ่งทั้งสองแอปเป็นที่นิยมทั่วโลก
อันตรายจากไฟล์มัลแวร์เหล่านี้จากต่างกันในแต่ละไฟล์ ตั้งแต่เป็นโทรจันที่แอบดาวน์โหลดมัลแวร์ตัวอื่นเข้ามาจนกระทั่งเป็นตัวที่แอบส่ง SMS แอดแวร์ สร้างความรำคาญให้แก่ผู้รับด้วยเสียงเตือนที่ดังตลอดเวลาแต่ไม่ใช่คู่เดทที่เฝ้ารอ
ตัวอย่างเช่น หนึ่งในแอปพลิเคชั่นที่มองแวบแรกนึกว่าเป็น Tinder แต่ที่จริงแล้วเป็นแบ้งกิ้งโทรจันที่ขอรีเควสต์สิทธิ์เข้าใช้บริการ Accessibility พอได้แล้วก็จะทำการแอบอ้างใช้สิทธิ์นั้นโจรกรรมเงินของยูสเซอร์เลยทีเดียว บางตัวก็จะแฝงตัวชื่อ ‘Settings’ หลังจากติดตั้งแล้วเสร็จ แสดง ‘error’ ปลอมและต่อมาก็หายไป พร้อมกับความเป็นไปได้สูงว่าจะย้อนกลับมาใหม่อีกไม่กี่วันพร้อมกับโฆษณาสารพัดรูปแบบที่ไม่ต้องการ