สำรวจช่องทางผ่อนสินค้าออนไลน์แบบไม่ง้อบัตรเครดิตสู้วิกฤติ COVID-19

สำรวจช่องทางผ่อนสินค้าออนไลน์แบบไม่ง้อบัตรเครดิตสู้วิกฤติ COVID-19

สำรวจช่องทางผ่อนสินค้าออนไลน์แบบไม่ง้อบัตรเครดิตสู้วิกฤติ COVID-19
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในสถานการณ์ที่ไวรัส COVID-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก ไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ทำให้รัฐบาลต้องออกนโยบาย Lockdown ส่งผลให้พนักงานบริษัทต้องหอบงานกลับไปทำที่บ้าน หรือ Work From Home (WFH) เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ถ้าใครยังมีงานทำอยู่ก็ควรต้องจับไว้ให้มั่น ดีกว่าตกงาน หรือโดน Leave without pay ที่ทำให้ต้องขาดรายได้

cover

อย่างไรก็ตาม แม้ช่วงเวลานี้การสำรองเงินไว้เพื่อซื้อข้าวปลาอาหารจะดูเป็นเรื่องจำเป็น แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่าของใช้จำพวกโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็ดูจะเป็นสินค้าจำเป็นสำหรับใครหลาย ๆ คนที่อาจต้องใช้เพื่อการทำงานที่บ้าน สำหรับคนที่มีบัตรเครดิตก็ยังคงเลือกใช้บริการผ่อนรายเดือนได้ถ้าคิดว่ารายได้ของตนยังคงที่ในอีกหลายเดือนข้างหน้า

ถ้าไม่แน่ใจก็ควรจำกัดยอดสั่งซื้อของตนเองให้น้อยลง หรือเลือกผ่อนน้อยแต่นานไว้ก่อนเพื่อป้องกันปัญหาขาดรายได้ในอนาคต ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทำให้ iPrice บริษัทวิจัยตลาดอีคอมเมิร์ซจับมือกับ Thisshop.com เพื่อแชร์ประสบการณ์การให้บริการผ่อนสินค้าออนไลน์แบบไม่ง้อบัตร โดยมี 5 ไฮไลท์จากฐานข้อมูลลูกค้าที่น่าสนใจ ดังนี้

นักเรียน/นักศึกษา หรือบัณฑิตจบใหม่ คือกลุ่มลูกค้าใหญ่ที่สุดในการทำตลาดอีคอมเมิร์ซ
 
ทั้งนี้ด้วยร้านค้าอีคอมเมิร์ซที่มีจุดเด่นในการเปิดให้บุคคลผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ที่ยังไม่มีรายได้สามารถยื่นขออนุมัติวงเงินผ่อนสินค้าได้ ทำให้ช่วงอายุระหว่าง 18-24 ปี หรือช่วงของวัยกำลังศึกษาเล่าเรียนเลือกใช้บริการผ่อนสินค้ามากที่สุดถึง 70% ถัดมาคือกลุ่มลูกค้าช่วงอายุ 25-34 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่บุคคลทั่วไปล้วนมีบัตรเครดิต

บางรายก็มีมากจนวงเงินเต็มหลายบัตรทำให้ไม่สามารถยื่นผ่อนสินค้าที่ต้องการในเวลานั้นได้ การผ่อนสินค้าโดยไม่ใช้บัตรเครดิตที่มีในตอนนี้จึงเป็นเหมือนช่องทางเสริมที่ช่วยให้ได้สินค้ามาไว้ในครอบครองได้เร็วขึ้น ช่วงอายุนี้จึงกลายเป็นกลุ่มลูกค้าขนาดกลาง 25% ของจำนวนลูกค้าทั้งหมด สุดท้ายคือช่วงอายุระหว่าง 35 ปี ขึ้นไป ถือเป็นวัยที่หลายคนเริ่มจะมีฐานะการงานมั่นคง รู้จักใช้บัตรเครดิตให้เกิดประโยชน์ ไม่ก็ผ่านช่วงเวลาเป็นหนี้บัตรเครดิตมาแล้ว กลุ่มช่วงอายุนี้จึงเป็นกลุ่มลูกค้าขนาดเล็กที่มีผู้ขอยื่นรับจำนวนเงินผ่อนสินค้าน้อยสุดเพียง 5% เท่านั้น

รายได้ของลูกค้าส่วนใหญ่ไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานสำหรับยื่นสมัครบัตรเครดิต
 
ปัจจุบันแม้กฎหมายจะระบุว่าบัณฑิตจบใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานเป็นที่แรกควรได้รายได้ขั้นต่ำอยู่ที่ 15000 บาท แต่เอาเข้าจริง ๆ หลายบริษัทก็เลือกจะยื่นเงินเดือนให้ต่ำกว่าเกณฑ์ไว้ก่อน เพื่อประเมินความสามารถของพนักงาน  ซึ่งรายได้ขั้นต่ำสำหรับการยื่นสมัครบัตรเครดิตส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 15000 บาท ขึ้นไป

บางสถาบันการเงินก็ตรวจสอบอายุการทำงานของผู้ยื่นคำขอด้วย ทำให้บุคคลผู้มีรายได้ระหว่าง 5000-14999 บาท เป็นกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ที่มีเปอร์เซ็นต์การขอรับวงเงินผ่อนสินค้าสูงสุดที่ 40% และกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 0-4999 บาท เช่น พนักงานพาร์ทไทม์ นักเรียน/นักศึกษา เป็นกลุ่มลูกค้าขนาดรองลงมามีจำนวนมากถึง 35% สำหรับลูกค้ากลุ่มเล็กที่สุด ส่วนมากจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ทำงานประจำแล้ว มีรายได้แน่นอนตั้งแต่ 15000 บาท ขึ้นไป แต่ยังไม่มีบัตรเครดิต (หรือบัตรวงเงินเต็ม) มีจำนวน 25% ของลูกค้าทั้งหมด

istock-1135054250
ภาคอีสาน คือกลุ่มลูกค้าที่ยื่นขอรับวงเงินผ่อนสินค้ามากที่สุดรองจากกรุงเทพฯ
 
เป็นไปตามคาดว่าจังหวัดกรุงเทพฯ คือกลุ่มลูกค้าที่ใหญ่ที่สุดของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในหลาย ๆ ประเภท การผ่อนสินค้าโดยไม่ใช้บัตรเครดิตก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน  ทาง Thisshop เผยว่า ลูกค้ากว่า 45% มาจากจังหวัดกรุงเทพฯ รองลงมาคือลูกค้าที่อาศัยอยู่ทางภาคอีสานกว่า 27% อาจเป็นผลพวงมาจากการที่ประชาชนทางภาคอีสานต่างเข้ามาทำงานในเมืองหลวงเป็นส่วนใหญ่ ทำให้กลุ่มลูกค้าในภาคนี้มีจำนวนเพิ่มตามไปด้วย

ถัดมาคือลูกค้าทางภาคเหนือ และภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพฯ) ซึ่งมีขนาดไล่เลี่ยกันคือ 16% และ 12% ตามลำดับ ที่น่าสนใจคือกลุ่มลูกค้าทางภาคใต้ที่มีจำนวนน้อยกว่า 1% อาจเป็นเพราะภาคใต้มีประชากรแบ่งออกเป็นศาสนาพุทธ กับศาสนาอิสลาม โดยผู้นับถือศาสนาอิสลามจะไม่นิยมยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายดอกเบี้ยนั่นเอง

หมวดหมู่สินค้าที่ได้รับความนิยมซื้อเงินผ่อนมากที่สุดคือ "สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์เสริม"
 
เพราะสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตได้รับความนิยมให้เป็นเครื่องดำรงชีพปัจจัยที่ 5 ของใครหลายๆ คน บางคนใช้งานมากก็จะเลือกรุ่นที่มีฟังก์ชั่นเยอะหน่อย ซึ่งราคาก็จะสูงตามไปด้วย ปกติสมาร์ทโฟนแต่ละเครื่องจะสามารถใช้งานโดยเฉลี่ยที่ 2 ปี ขึ้นอยู่กับหน่วยความจำและการอัพเดตระบบปฎิบัติการของเครื่อง บางคนอาจใช้ได้นานถึง 5 ปี

หากใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารเป็นหลักและไม่ค่อยดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น แต่บางคนก็ใช้ได้เพียง 1 ปี หรือน้อยกว่า เพราะตามเทรนด์อัพเดตรุ่นใหม่ ๆ รายปีอย่าง iPhone เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทำให้มีผู้ยื่นขอรับวงเงินผ่อนสินค้ากับ Thisshop เพื่อซื้อสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สมาร์ทวอทช์และอุปกรณ์เสริมมากกว่า 75% และอีก 25% เป็นการยื่นเพื่อผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอื่น ๆ

ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าราคาสูง เช่น เครื่องซักผ้า, ตู้เย็น, โทรทัศน์ และโน๊ตบุ๊ค เป็นต้น อีกหนึ่งข้อดีของการสั่งซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใหญ่ออนไลน์คือ ประหยัดค่าจัดส่ง, ตามการรับประกันง่าย (เพราะมีใบเสร็จรับเงินเป็น E-receipt) และไม่ต้องเสียเวลาไปเลือกด้วยตนเอง

ระยะเวลาผ่อนยอดนิยมของแบรนด์สมาร์ทโฟนขายดีที่ลูกค้าสนใจมากที่สุด
 
จากข้อมูลบางส่วนเผยให้เห็นว่า 5 อันดับแบรนด์สมาร์ทโฟนที่ขายดีที่สุดคือ Apple, Oppo, Vivo, Huawei และ Samsung ซึ่ง iPrice ได้เจาะลึกถึงระยะเวลาผ่อนยอดนิยมของแบรนด์สมาร์ทโฟนขายดี

โดยรวมแล้วลูกค้าส่วนใหญ่จะเลือกซื้อสมาร์ทโฟนที่มีงวดผ่อนชำระ 12 เดือนขึ้นไปมากถึง 67% เหตุเพราะมีจำนวนเงินผ่อนต่อเดือนที่ค่อนข้างน้อย ไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายหลัก และอีก 33% เป็นของสมาร์ทโฟนรุ่นดังที่มีงวดผ่อนชำระที่ 6 เดือน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นรุ่นที่มีราคาต่ำกว่า 5000 บาท ทำให้ค่างวดผ่อนต่อเดือนมีจำนวนน้อยสะดวกต่อการผ่อนตามไปด้วยนั่นเอง


ทั้งนี้ในปัจจุบันปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 นี้ อาจทำให้ลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ขาดส่งงวดผ่อนชำระ ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาเดรดิตบูโรหรือแบล็คลิสภายหลังได้ หากลูกค้ามีปัญหาสภาพคล่องทางการเงินจริง ขอแนะนำให้ติดต่อแจ้งกับบริษัทโดยตรงเพื่อทำเรื่องผ่อนผันต่อไป

 

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ สำรวจช่องทางผ่อนสินค้าออนไลน์แบบไม่ง้อบัตรเครดิตสู้วิกฤติ COVID-19

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook