ไม่อยากทำ “เงินหาย” อย่าละเลย “พาสเวิร์ด” ทำธุรกรรมการเงิน

ไม่อยากทำ “เงินหาย” อย่าละเลย “พาสเวิร์ด” ทำธุรกรรมการเงิน

ไม่อยากทำ “เงินหาย” อย่าละเลย “พาสเวิร์ด” ทำธุรกรรมการเงิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกวันนี้ คนทำงานส่วนใหญ่มักเลือกทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ Mobile Banking กันแทบทั้งนั้น เพราะช่วยอำนวยความสะดวก และประหยัดเวลาไปได้เยอะ แต่หากใครเผลอไปทำมือถือหาย หรือตั้งค่าให้เว็บไซต์ที่เข้าไปทำธุรกรรมจดจำรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ดของตัวเอง ก็อาจเกิดปัญหา “เงินหาย” โดยไม่รู้ตัวจากผู้ไม่ประสงค์ดีทั้งหลายได้

ทุกวันนี้ คนทำงานส่วนใหญ่มักเลือกทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเทอร์เน็ต หรือ Mobile Banking กันแทบทั้งนั้น เพราะช่วยอำนวยความสะดวก และประหยัดเวลาไปได้เยอะ แต่หากใครเผลอไปทำมือถือหาย หรือตั้งค่าให้เว็บไซต์ที่เข้าไปทำธุรกรรมจดจำรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ดของตัวเอง ก็อาจเกิดปัญหา “เงินหาย” โดยไม่รู้ตัวจากผู้ไม่ประสงค์ดีทั้งหลายได้

ทั้งนี้ จากผลการสำรวจล่าสุดโดย Specops Software ระบุว่าคนที่ไม่เคยอัพเดท หรือเปลี่ยนแปลงพาสเวิร์ดของตัวเองเลย มีมากถึง 38 เปอร์เซ็นต์ด้วยกัน และยังพบด้วยว่า 1 ใน 3 มักใช้พาสเวิร์ดที่ทำธุรกรรมทางการเงิน มาตั้งเป็นพาสเวิร์ดสำหรับการใช้งานบริการสตรีมมิ่งต่าง ๆ อาทิ Netflix ด้วย จากจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 1,353 คน

นอกจากนี้ ยังมีสถิติที่น่าตกใจด้วยว่า 29.03 เปอร์เซ็นต์ของผลสำรวจระบุว่าพวกเขาใช้พาสเวิร์ดเดียวกันในทุกบัญชีการใช้งาน โดยมีถึง 32.26 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้ซีเรียสกับการใช้พาสเวิร์ดเดียวในทุกบัญชีการใช้งาน และมีเพียง 13.79 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่ระบุว่า พวกเขาจะยอมเปลี่ยนพาสเวิร์ดตัวเอง เมื่อรู้ตัวว่ามีคนอื่นพยายามเข้ามาแฮกข้อมูล

จากข้อมูลเหล่านี้้ ทำให้น่าเป็นห่วงไม่น้อยสำหรับคนที่ละเลยเรื่องพาสเวิร์ดในการทำธุรกรรมทางการเงินที่อาจจะโดนแฮกข้อมูลจนสูญเงินในบัญชีไปแบบไม่รู้ตัว หากไม่อยากตกเป็นเหยื่อก็ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นการเปิดทางให้กับมิจฉาชีพได้โดยง่าย

แค่ยอมเสียเวลาเพียงเล็กน้อยในการเปลี่ยนพาสเวิร์ด หรือตั้งพาสเวิร์ดให้เดาได้ยากขึ้น ก็จะช่วยให้บัญชีธนาคารต่าง ๆ ปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งมีเคล็ดลับง่าย ๆ เพียงไม่กี่อย่าง ดังนี้

1. ตั้งพาสเวิร์ดที่มีความยาวอย่างนัอย 12 ตัวอักษร โดยให้มีทั้งอักษรภาษาอังกฤษที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ และตัวพิมพ์เล็ก รวมถึงตัวเลขด้วย
2. ในการใช้คำภาษาอังกฤษเพื่อตั้งพาสเวิร์ด ไม่ควรใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นคำโดด ๆ แต่ควรพิมพ์เป็นประโยค เพราะจะขโมยข้อมูลได้ยากขึ้น
3. เว็บไซต์ที่ทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ควรใช้พาสเวิร์ดที่แตกต่างกัน เพราะหากพลาดถูกล้วงข้อมูล จะทำให้สูญเงินไปทั้งหมดได้
4. ไม่ให้มือถือหรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานจดจำรหัสผ่านในการทำธุรกรรมการเงิน เพราะอาจถูกมิจฉาชีพฉวยโอกาสนำไปใช้ประโยชน์ได้
5. ตั้งค่าความปลอดภัยหลายชั้น เพื่อยืนยันตัวตันก่อนทำธุรกรรมการเงิน ซึ่งการมีข้อความแจ้งเตือนผ่านอีเมลทุกครั้งที่มีการเข้าใช้งานบัญชีการเงินต่าง ๆ จะช่วยให้ทราบได้ว่ามีผู้อื่นพยายามโจรกรรมเงินออนไลน์หรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook