แค่ “ข้าม” ในสิ่งที่ไม่ชอบ “ดราม่า” ก็ไม่เกิดในโซเชียล

แค่ “ข้าม” ในสิ่งที่ไม่ชอบ “ดราม่า” ก็ไม่เกิดในโซเชียล

แค่ “ข้าม” ในสิ่งที่ไม่ชอบ “ดราม่า” ก็ไม่เกิดในโซเชียล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ก่อนหน้านี้ Tonkit360 เคยนำเสนอเกี่ยวกับ 7 เหตุผลดี ๆ ทำไมคนเลือก “เสพข่าว” จาก Twitter ไปแล้วนั้น ทำให้หลายคนพอจะเข้าใจว่า ทวิตเตอร์ (Twitter) เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่กำลังเป็นที่นิยม มีจุดเด่นอยู่ที่ความรวดเร็วในการเสพข่าว สามารถอัปเดตความเคลื่อนไหวรอบโลกแบบเรียลไทม์ได้ไวมาก แถมยังไม่ตามอ่านเรื่องราวเก่า ๆ ได้ไม่ยาก เพียงแค่รู้แฮชแท็ก (#) เท่านั้น จึงไม่น่าแปลกที่จะมี Account ผู้ใช้เพิ่มขึ้น

ผู้ใช้ทวิตเตอร์เองก็มีหลายสาขาอาชีพ มีประสบการณ์แตกต่างกัน นั่นทำให้มี content หลายแบบในทวิตเตอร์ ทั้งความรู้ทั่วไป ความรู้เฉพาะด้าน ความบันเทิง หวีดนักแสดง หรือแม้แต่บ่นระบายเรื่องสัพเพเหระในชีวิต ซึ่งผู้ใช้ก็มีสิทธิ์เลือกเสพเฉพาะข้อมูลที่ตนเองสนใจ หน้าฟีดหน้าไทม์ไลน์เต็มไปด้วยข้อมูลที่อยากรับรู้เท่านั้น จนหลายคนเลือกปฏิเสธการรับข้อมูลจากด้านอื่น ๆ ด้วยการปิดแจ้งเตือนไปเลย อะไรที่ไม่ชอบ ไม่สนใจ ก็จะไม่เห็น ในที่สุดอาจกลายเป็น “ห้องเสียงสะท้อนในใจ”

อย่างไรก็ตาม เราอาจมีโอกาสเห็นข้อมูลที่ตนเองไม่สนใจขึ้นมาได้บ้าง จากการที่มีคนเห็นต่างมาแสดงความคิดเห็น บางคนเลือกที่จะไม่สนใจ ไม่ชอบก็แค่ข้าม แต่จะมีคนประเภทไม่เปิดใจฟังคนอื่นเลยให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง จนมีการ “cap ไปด่า” “quote ไปฉอด” “reply มาต่อว่า” กลายเป็นเรื่องเป็นราวแตกแยกอยู่บ่อยครั้ง

ปัจจัยหนึ่งที่สร้างดราม่าได้ง่ายมาก คือการใช้ภาษา ด้วยการใช้ถ้อยคำรุนแรง บางครั้งถึงขั้นหยาบคาย เพื่อแสดงความไม่เห็นด้วย ต่อล้อต่อเถียงกันในลักษณะตรรกะวิบัติ ไม่มีเหตุผล ซึ่งบางทีอาจจะมีผลกระทบต่อจิตใจคนอ่านได้เลยทีเดียว จึงเกิดเรื่องราวผ่านตัวอักษรกับคนที่ไม่ได้รู้จักตัวตนกันจริง ๆ

นั่นทำให้ผู้ใช้ทวิตเตอร์บางคนถึงกับบ่นว่า “สังคมทวิตเตอร์ไม่น่าอยู่เหมือนแต่ก่อน” ที่คนมีสิทธิ์พิมพ์อะไรก็ได้ ด้วยตัวอักษร 280 ตัว ในพื้นที่ (ที่คิดว่าเป็น) ของเขา โดยลืมนึกไปว่า แม้จะเป็นพื้นที่ของตนเอง แต่ทุกสิ่งทุกอย่างออกสู่สาธารณะไปเรียบร้อยแล้ว และอันที่จริงก็ไม่เพียงทวิตเตอร์เท่านั้น สังคมโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ก็เช่นกัน

ดังนั้น เราอาจต้องยอมรับว่าอะไรก็ตามที่เราโพสต์สู่สาธารณะย่อมมีคนเห็นต่าง ซึ่งถ้าเขามาเตือนดี ๆ ถูกผิดก็รับฟังไว้บ้าง ส่วนคนที่เข้าไปแสดงความคิดเห็น เมื่อเห็นอะไรไม่ถูก ไม่เหมาะสม หรืออยากแสดงความคิดเห็นในอีกมุม ก็ควรใช้เตือนกันดี ๆ คุยกันด้วยเหตุผล ไม่จำเป็นต้องขวางโลก สร้างดราม่าทุกเรื่อง ถ้าไม่ใช่เรื่องใหญ่โตข้ามได้ก็ข้าม ปล่อยไปบ้าง ช่างเขาบ้างก็ได้ ตราบใดที่เขาไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ใคร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook