จรวด Atlas V ขนส่งเครื่องบินอวกาศ X-37B ทำภารกิจครั้งที่ 6 ภายใต้กองบัญชาการ Space Force

จรวด Atlas V ขนส่งเครื่องบินอวกาศ X-37B ทำภารกิจครั้งที่ 6 ภายใต้กองบัญชาการ Space Force

จรวด Atlas V ขนส่งเครื่องบินอวกาศ X-37B ทำภารกิจครั้งที่ 6 ภายใต้กองบัญชาการ Space Force
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

X-37B เป็นเครื่องบินอวกาศที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ มีภารกิจเที่ยวบินถึง 5 ครั้งโดยสามารถบินอยู่ในวงโคจรของโลกรวมกันถึง 2,865 วันและจะใช้งานร่วมกับ FalconSat-8 ดาวเทียมของ Space Force อีกทั้ง X-37B ถือว่าเป็นความสำเร็จของ Space Force สาขาทางอวกาศของกองทัพที่เปิดใหม่ตั้งแต่ปี 1947

20 ธันวาคม 2019 ประธานาธิบดี Donald Trump ได้ก่อตั้ง Space Force หรือกองบัญชาการอวกาศขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยอนุมัติให้เป็นกองกำลังใหม่ล่าสุดสาขาที่ 6 ของกองทัพสหรัฐฯ ซึ่งมีงบประมาณ 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับดูแลกิจการในอวกาศของกองทัพสหรัฐฯ Space Force ได้เป็นแผนกหนึ่งของกองทัพอากาศเช่นเดียวกับเหล่านาวิกโยธินสหรัฐฯ ที่เป็นแผนกหนึ่งของกองทัพเรือ และ Space Force กำลังอยู่ในกระบวนการสร้างกำลังพลและขณะนี้มีผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศที่ได้ทำหน้าที่อยู่ 88 คน สิ้นปีนี้คาดว่าจะมีกำลังพลในงานทั้งหมดประมาณ 16,000 คน

กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้ปล่อยเครื่องบินอวกาศ X-37B กลับไปสู่วงโคจรต่ำของโลกเพื่อทำภารกิจครั้งที่ 6 ด้วยจรวด Atlas V501 ของ ULA (United Launch Alliance) ในวันที่ 17 พฤษภาคม และนับว่าเป็นภารกิจแรกของ X-37B ภายใต้การกำกับดูแลของ Space Force ในนามกองทัพอากาศ และเป็นที่ล่ำลือกันว่า X-37B เป็นโปรแกรมลับเฉพาะ

Space.com เปิดเผยว่า X-37B ได้เพิ่มโมดูลบริการใหม่เป็นส่วนขยายรูปทรงกระบอกที่ติดอยู่ใต้ท้องเครื่องบินอวกาศเพื่อช่วยให้สามารถทดลองเทคโนโลยีใหม่ได้เพิ่มเติม คาดว่าน่าจะเป็นดาวเทียมขนาดเล็ก FalconSat-8 ซึ่ง NASA มี 2 โครงการที่กำลังศึกษาคือ การดูผลกระทบของรังสีที่มีต่อเมล็ดพืชและวัสดุอื่น ๆ และการทดลองส่งพลังงานแสงอาทิตย์มายังโลกโดยใช้คลื่นไมโครเวฟ หากภารกิจเหล่านี้สำเร็จก็จะช่วยให้สหรัฐฯ พัฒนาขีดความสามารถในการใช้อาเขตในอวกาศได้เหนือกว่าใคร

บางคนคิดว่าการทดสอบภายใต้ Space Force อาจต้องการความท้าทายเพื่อทำสถิติการบินโคจรรอบโลกที่ยาวนานขึ้น ซึ่งไม่ชัดเจนว่า X-37B มีพื้นที่ว่างมากเพียงใด แต่อาจจะบินได้นานนับกันเป็นปีเลยก็ว่าได้ อันนี้ต้องรอพิสูจน์กันต่อไป

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook