[Review] Panasonic Lumix G100 กล้อง Mirrorless เพื่อ Vlogger ที่อยากอัปเกรด
กลับมาพบกับรีวิว Gadget จากทีม Sanook Hitech อีกครั้ง ในครั้งนี้จะตอบสนองความต้องการกับกล้องถ่ายภาพ และวิดีโออย่าง Panasonic Lumix G100 ที่มีราคาเปิดตัวเริ่มต้น 20,990 บาท ไปจนถึง 23,990 บาท จะคุ้มค่าแค่ไหน มาดูกันกับรีวิว
เปิดกล้อง Panasonic Lumix G100
หากคุณซื้อ Panasonic Lumix G100 ก็จะมีอุปกรณ์ดังนี้
- ตัวกล้องของ Panasonic Lumix G100
- แบตเตอรี่
- สาย Micro USB
- ปลั๊กชาร์จไฟ
- ที่ชาร์จไฟแบตเตอรี่
- สายคล้องคอ
- เลนส์ 12 – 32 mm. (เฉพาะ Set)
- ไม้สำหรับพร้อมกดปุ่มเพื่อถ่ายและพักกล้อง (เฉพาะ Set)
รูปลักษณ์ดีไซน์ของ Panasonic Lumix G100
เริ่มต้นกับดีไซน์ ของ Panasonic Lumix G100 ซึ่งมีการพัฒนาใหม่หมด โดยหน้าตานั้นจะไปทาง Lumix G95 และ Lumix GF10 ก่อนหน้านี้ โดยกล้องจะเอนเอียงไปทาง G95 ย่อส่วนมากกว่า ที่โดดเด่นคือ Grip ที่จับนั้นมีขนาดกำลังดีไม่ใหญ่และเล็กจนเกินไป
พร้อมกับคำว่า Lumix อยู่ด้านบน ที่สามารถดึงเพื่อเปิด Flash ได้นั่นเอง และด้านข้างซ้ายจะมีไฟ LED สำหรับช่วยโฟกัส และปุ่มสำหรับถอดเลนส์ออก และมี Grip สามารถถอดได้อย่างดี
ฝั่งซ้ายของเครื่องมีแค่ช่องเสียบไมโครโฟนภายนอก
ฝั่งขวามีช่องเสียบ HDMI รองรับการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ และสามารถถ่าย Live ได้แบบ Clean HDMI (แสดงแต่หน้าจอ ที่ไม่มีหน้าจอแสดงผล), Micro USB สำหรับเสียบชาร์จและลิงค์ออก
ส่วนบนจะมีปุ่มควบคุมต่างๆ แบ่งออกเป็นฝั่งซ้ายจะมาพร้อมกับปุ่มสำหรับเชื่อมต่อกับ Smart Phone, ปุ่มสำหรับเปิด/ปิด ช่องมองภาพ (Electronic View Finder) กลางสุดเป็น Hot Shoe สำหรับเสียบอุปกรณ์เช่น Flash หรือ ไมโครโฟน
ฝั่งขวามีปุ่มสำหรับเลือกโหมดของกล้องพร้อมกับปุ่มสำหรับเปิดปิด, ไฟสถานะของเครื่องและมีปุ่มสำหรับตั้งค่าเพิ่ม / ลดความสว่าง และมี Shutter, ปุ่มสำหรับการถ่ายวิดีโอ, และมี ปุ่มชดเชยแสง
ด้านใต้กล้องจะมีช่องสำหรับใส่ Tripod พร้อมกับช่องใส่แบตเตอรี่, SD Card เช่นเดียวกัน
ด้านหลังของเครื่องจะมาพร้อมกับช่อง Eletronic View Finder ที่มีความละเอียด 3.14 ล้านพิกเซล, พร้อมกับหน้าจอขนาด 3 นิ้วที่สามารถพลิกได้ พร้อมกับปุ่ม Controller ที่ครบถ้วนเช่นเดียวกัน
เมื่อเชื่อมต่อกับไม้ของกล้องที่ติดมาสามารถใช้ถือแล้วถ่ายภาพหรือวิดีโอได้กำลังดีเพราะไม้น้ำหนักเบาและมาถ่วงกับกล้องที่มีน้ำหนักกำลังถือว่าใช้งานได้ดีมาก แต่ก็ยังมีเรื่องที่ต้องปรับปรุงอีกหน่อยคือ ตำแหน่งช่องสายนั้นจะอยู่ไปทางซ้าย ถ้าต้องใช้ไม้ถ่าย หน้าของเรามันจะพอดี
แต่ถ้าต้องเอาไปถ่ายสิ่งอื่น สายที่ไปเชื่อมกับกล้องจะตึงไปหน่อยเท่านั้นเอง และ การปรับอาจจะเหมือนง่าย แต่ถ้าต้องหมุนไปด้านใดด้านหนึ่ง รู้สึกต้องใช้เวลาในการปรับพอสมควร ซึ่งจุดนี้คู่แข่งจะทำได้ดีกว่า
ภาพรวมกล้อง / น้ำหนักกล้อง
ในภาพรวมของการออกแบบที่เรียกเป็นจุดกึ่งกลางของกล้อง Mirrorless ของกล้องรุ่นนี้ มาพร้อมกับขนาดไม่ได้เล็กหรือใหญ่ไป และคล่องมือในการใช้งาน ตำแหน่งปุ่มกดถือว่าทำได้ลงตัวเช่นเคย ไม่ต้องมีอะไรซ้ำซ้อน อย่างไรก็ตาม อุปกรณ์เสริม ไม้ที่ถือยังคงเป็นจุดบอดอยู่ แต่ถ้าเทียบกับคู่แข่งรู้สึกว่า จะตัวใหญ่ เนื่องจาก Mirror Less ที่เปลี่ยนเลนส์ได้เช่นเดียวกันนั่นเอง
แต่มันก็เล็กกว่ากล้อง APS-C และเหมาะกับการเป็น Vlog Camera อยู่มาก
เปิดกล้องลองถ่ายภาพของ Panasonic Lumix G100
สเปกกล้อง Panasonic Lumix G100 แบบคร่าวๆ
- มิติของกล้อง : 115.6 x 82.5 x 54.2 มิลลิเมตร
- น้ำหนัก : 345 กรัม (รวมแบตเตอรี่ และการ์ดความจำ)
- ชนิดเซนเซอร์ : Micro Four Third
- ความละเอียดภาพนิ่ง : 20.3 ล้านพิกเซล
- ความละเอียดสูงสุดในการถ่ายวิดีโอ : Full HD 25/30/60 FPS 4K 25/30 FPS, Slowmotion 240 fps, Timelapse
- การ์ดความจำ : การ์ดหน่วยความจำ SD, การ์ดหน่วยความจำ SDHC, การ์ดหน่วยความจำ SDXC
(ใช้งานได้กับการ์ดหน่วยความจำ SDHC / SDXC มาตรฐาน UHS-I UHS Speed Class 3) - ไมโครโฟน : Nokia OZO รอบทิศ สามารถเสียบเพิ่มได้
- การเชื่อมต่อ : WiFi Direct, Bluetooth, HDMI, Micro USB
- หน้าจอ : 3.0 นิ้วรองรับ Touch Screen + Eletronic View Finder
- แบตเตอรี่ : 1025 mAh ชาร์จไฟผ่าน Micro USB
หมายเหตุ : Firmware ของกล้องมีการอัปเดตเรื่อย เพราะเนื่องจากบางอย่างเป็นฟีเจอร์ก่อนกล้องจำหน่ายจริงอาจจะยังทำงานไม่สมบูรณ์นะครับ
เมื่อเห็นสเปกกล้องของ Panasonic Lumix G100 ต้องบอกว่าอยู่ในระดับที่คุ้มค่าสำหรับคนที่ต้องการกล้องตัวแรก หรือต้องกล้องตัวที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ไม่ต้องตัวใหญ่มากนัก ถือว่าเป็นกล้องที่ครบเครื่อง ทั้งการถ่ายภาพและวิดีโอเช่นเดียวกัน
เมนูของกล้องของ Panasonic Lumix G100 มีจุดเด่นเรื่องการกดสัมผัสที่ง่ายดายมาก และมีการจัดตามหมวดหมู่มากมาย เนื่องจากหน้าจอเป็นทัชสกรีน ทำให้แตะและกดได้ง่ายมากขึ้น แต่ถ้าใครไม่คุ้นก็จะบอกว่ายาก ซึ่งอันที่จริง เมนูกล้องจะคล้ายกับ Canon และ Nikon มากที่สุด ทำให้ใช้งานได้ง่ายมากเช่นเดียวกัน
จุดเด่นในการถ่ายวิดีโอนั้น ตัวกล้องรองรับทั้งการถ่ายแบบ Slomotion ที่เมื่อค่อยๆ เลื่อนแต่เวลาเราถ่ายจริงจะต้องเคลื่อนปกติ และยังรองรับ Timelapse เช่นเดียวกัน และต้องเปิดกับโหมด S&Q รวมถึง 4K Cropping
และรองรับ VLOG-L ด้วยเพียงแต่ว่าการถ่ายวิดีโอไม่ว่าจะเป็นแบบไหนกล้องจะตัดทุก 20 นาที
ความเทพของระบบกันสั่น Hybrid I.S
เมื่อเป็นกล้องที่เกิดมาเพื่อการถ่ายวิดีโอ เพื่อคนถ่าย Vlog เป็นหลักระบบกันสั่นต้องจำเป็นอย่างมาก หากมีเลนส์ OIS อาจจะไม่พอ ถ้าจะใส่กันสั่นแบบ Optical จะต้องใช้ระบบ Hybrid I.S ที่ใช้ระบบกันสั่นแบบ 5 แกน (แบบ Full HD ส่วน 4K จะได้กันสันแบบ 4 แกน) ในแบบ Software ปรับได้ทั้ง High จะ Crop พอสมควร, Standard จะไม่ได้ Corp มากนัก และปิด ไปเลยก็ได้ ถ้าเป็นอีกโหมดจะเป็นการสั่งงานกับเลนส์
จากที่ได้ลองถ่ายจริงๆ ถ้าเดินเรียบๆ ไม่มีการลงเท้าหนัก จะกันสั่นได้ดีอยู่ แต่ถ้าสภาพแสงน้อยและลงเท้าหนักไปพอสมควร แต่ก็ไม่ได้ถึงกับเลวร้าย เพียงแต่ถ้าอยากให้นิ่งจริงๆ ต้องใช้ Gimball ดีกว่า
ระบบไมโครโฟน OZO ของ Panasonic Lumix G100
สำหรับคนที่ติดตามข่าวสารเรื่องมือถือมาตลอด Nokia เป็นอีกผู้ผลิต ทั้ง Hardware และ software ที่ช่วยจับมุมของเสียงอย่าง Nokia OZO ที่ถือว่าเทพอยู่ รายละเอียดที่ดี และเมื่อ Panasonic Lumix G100 เป็นกล้องรุ่นแรกของโลกที่ไม่ใช่มือถือใช้ระบบนี้ ระบบจะแบ่งออกเป็นดังนี้
Auto = ระบบจะปรับสถานการณ์ทำงานร่วมกับ 3 โหมดที่จะบอกกล่าวต่อไป
Surround = ระบบนี้จะจับเสียงแบบ 360 องศา
Front = จับเสียงที่อยู่ข้างหน้ากล้องเท่านั้น
Back = จับเสียงที่อยู่ด้านหลังกล้องเท่านั้น
Track = จับเสียงจากคนที่อยู่ข้างหน้า ไม่ว่าจะขยับไปไหนหากยังไม่หลุดมุมกล้องก็สามารถถ่าย และสามารถจับได้มากกว่า 2 คนแน่นอนครับ
แต่ถ้าเมื่อทดลองอัดเสียงจากวิดีโอ เมื่อลองพูดแล้วก็ยังถือว่าเสียงที่คมชัดอยู่ แต่ถ้าสภาพแวดล้อมมีการรบกวนมากเกินไปเสียงภายนอกยังบ้าง แต่ถ้าอยู่ที่เสียงไม่ดังมาก ถือว่าเก็บรายละเอียดได้เลยครับ ชอบสุดจะเป็นโหมด Track นั่นเอง
โหมดภาพนิ่งเป็นอย่างไร พร้อมกับภาพตัวอย่าง
โหมดภาพนิ่งนั้นมีการปรับปรุงรายละเอียดที่เรียกได้ว่าครบเครื่องเหมือนกล้อง Mirrorless ทั่วไป มีทั้ง iA ซึ่งจะมีการเรียนรู้รูปแบบของภาพและปรับ Scene Mode เป็นต้น หรือจะมี P, S, A, M และมีโหมด SCN ที่สามารถเปลี่ยน Scene ได้ด้วยตัวเองเพราะในมีให้เลือกมากมายรวมถึง Panorama เช่นเดียวกัน
และโหมดภาพนิ่งยังเอาใจสาวๆ ด้วยการฟีเจอร์การปรับ Beauty, ละลายหลัง, ปรับหน้าเรียว ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากกล้องเป็นตระกูล Mirror Less จะสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ หากเลนส์ Kit 12 – 32 มิลลิเมตร ค่ารูรับแสงระหว่าง F3.5 - 5.6 อาจจะไม่ได้จบทุกอย่าง ก็สามารถหาตัวเลือกอื่นแทนได้เลย
ตัวอย่างภาพที่ออกมานั้น กล่าวสรุปเลยคือ โทนสีจะเป็นแบบกล้อง Panasonic ที่ตอบโจทย์กับคนที่ชอบสีสันจัดจ้าน ถ้าต้องการลดความจัดต้องปรับค่า K หรือ เลือกเป็นภาพแบบโหมด Nature จะช่วยได้เยอะ
การเชื่อมต่อกับมือถือ
Panasonic ได้เรียนรู้มาว่าการเชื่อมต่อกับกล้อง Lumix สมัยก่อนมันยุ่งยากลำบากมาก ดังนั้นการปรับปรุงที่ทำให้กล้องทำงานได้ง่ายนั่นคือการเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth ดังนั้นเลยมีการเพิ่มปุ่มส่งรูปหยัง Smart Phone แต่คุณต้องโหลดโปรแกรมชื่อว่า Lumix Sync เข้ามาช่วยทำให้การถ่ายโอนจะทำได้รวดเร็วมากกว่าแต่ก่อน ทั้งนี้สามารถ Remote ผ่านมือถือได้เช่นเดียวกัน
แบตเตอรี่ / การชาร์จไฟ
สำหรับแบตเตอรี่ของ Panasonic Lumix G100 จะเป็นรุ่น BLG10E ขนาด 1025 mAh ถือว่าเล็กกว่าคู่แข่ง เนื่องจากไม่ได้มีเลนส์แบบไฟฟ้า ทำให้สามารถถ่ายวิดีโอหรือถ่ายภาพได้นานมากขึ้น และถ่ายภาพได้มากสุดที่ 270 ภาพ ด้วยจอหลัง และ 240 ภาพผ่าน Live View Finder และวิดีโอต่อเนื่องนาน 80 นาที
ส่วนการชาร์จไฟ ทำได้ทั้งแบบเสียบ Micro USB หรือจะถอดแบตเตอรี่ไปเสียบกับที่ชาร์จก็ได้ เพียงแต่เมื่อเทียบกันไปแล้ว หากเสียบชาร์จไฟกล้องไปถ่ายไปจะไม่สามารถทำได้ ต้องหาอุปกรณ์เสริมให้สามารถต่อไป AC ในแบบก้อนหลอกๆ เช่นเดียวกัน
สรุปภาพรวมหลังจากที่ทีม Sanook Hitech ได้ลองกล้อง Panasonic Lumix G100 ในระยะเวลาหนึ่ง
ถือว่าเป็นกล้องที่ออกมาได้ถูกจังหวะเวลา แม้ว่าเมื่อวันที่บทความนี้ได้ปล่อยออกอากาศจะยังไม่ได้เปิดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ แต่ก็รู้ว่ากระแสของการถ่ายวิดีโอ หรือ Vlog ที่มาแรงจริงๆ
Panasonic Lumix G100 ไม่ได้เป็นกล้องที่ถ่ายภาพได้ดีสุด, วิดีโอได้เลิศสุด แต่ทั้งหมดของกล้องมันมีจุดเด่นทั้งหน้าตาหล่อ ศักยภาพที่เรียกได้ว่าเพียงพอสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อกล้องแกะกล่องออกมาแล้วใช้ได้ แถมจะได้เปรียบที่เรื่องของการต่อยอดได้สบายมากขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้าทั้งหมด
เพียงแต่ว่าถ้ามองถึงเรื่องของอุปกรณ์เสริมกับไม้ช่วยถ่ายนั้นยังต้องปรับปรุงเรื่องข้อต่อและการปรับมุมที่น่าจะทำให้ง่ายกว่านี้เช่นตัวล็อคกล้องควรจะเป็นฐานวางแล้วหมุนแทนที่จะต้องหมุนไม้ซึ่งลำบากกว่า
การชาร์จไฟที่ควรจะเสียบไฟตรงแล้วชาร์จไฟไปและถ่ายไปได้และ รวมถึง Bluetooth ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากการเชื่อมต่อโอน File และรีโมตควบคุมผ่านมือถือ เท่านั้น
ส่วนราคาของ Panasonic Lumix G100 มีดังนี้
- Body Set = 20,990 บาท
- Body + Lens = 21,990 บาท
- Vlogger Set ที่จะมีไม้มือจับ = 23,990 บาท
แน่นอนว่าเห็นราคาแบบนี้คำถามที่หลายคนตั้งนั้นก็มีมากตั้งแต่การเปรียบเทียบในค่ายตัวเองอย่าง Panasonic Lumix G85 (ไม่มีจำหน่ายแล้ว) และ Lumix G95 ต้องบอกไว้ตรงนี้ว่า Lumix G100 ไม่ได้มาแทน Lumix G95 แต่เป็นการวางตำแหน่งใกล้กล้องเล็กกว่า และลดความโปรลงมาหน่อย ฟีเจอร์และระบบกันสั่นทั้งภาพนิ่งและวิดีโอนั้น Lumix G95 จะทำได้ดีกว่า Lumix G100 เพราะมีระบบกันสั่นในบอดี้ รวมถึงแบตเตอรี่ ของ Lumix G95 ถือว่าอึดกว่า Lumix G100 อย่างชัดเจน
แต่ Lumix G95 จะมีจุดด้อยเรื่องของการพกพาที่ทำได้ลำบากกว่า ทั้งน้ำหนัก และ ขนาดของตัวกล้องเอง ถ้าต้องการกล้องเดียวเดียวพกพาสะดวก Lumix G100 ดีกว่า และไมโครโฟนในตัว Lumix G100 ดีกว่า Lumix G95 เช่นเดียวกัน
คำถามต่อมาคือเมื่อเทียบกับคู่แข่งโดยตรงจะเป็น Canon EOS M50 มากกว่า แน่นอนว่าการทำงานของกล้อง Lumix G100 ทำงานได้รวดเร็วกว่า เลนส์มีให้เลือกมากกว่าและไมโครโฟนในตัวเดียวกว่าจึงทำให้น่าสนใจเพียงแต่เซนเซอร์จะเล็กกว่าเท่านั้นเอง
ส่วนถ้าเทียบกับกล้อง Compact ที่มีราคาใกล้กันคงจะเป็น Sony ZV-1 ซึ่งตรงนี้หลายคนนำไปเปรียบเทียบกันเยอะ ซึ่งข้อดีของ Lumix G100 ที่เหนือกว่าคือเรื่องของไมโครโฟน และ การต่อยอดของเลนส์ รวมถึงเซนเซอร์ที่เก็บรายละเอียดภาพได้ดีกว่า นอกนั้นระบบกันสั่นถือว่าทำงานได้ใกล้เคียงกัน
ถ้านับเลนส์ติดกล้อง Sony ได้เปรียบในการถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยเพราะค่ารูรับแสงที่กว้างกว่า แต่ก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องของการซูมที่ยังทำได้ไม่ไกลเพราะเลนส์เปลี่ยนไม่ได้ และ อุปกรณ์เสริมต้องยอมรับว่า Sony ทำมาได้น่าใช้กว่า เนื่องจากพัฒนามานานกว่า
เมื่อพูดมาถึงจุดนี้คำถามสุดท้ายคือ Panasonic Lumix G100 จะเหมาะกับใครมากที่สุด ขอแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
คนกลุ่มแรก ที่ต้องการสัมผัสกับกล้อง Mirrorless จริงๆ แต่งบประมาณไม่เกิน 22,000 – 24,000 บาท เพราะราคารุ่นนี้จะตอบโจทย์มากที่สุดและจบที่สุดทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ
คนกลุ่มที่ 2 คือคนที่ใช้ Micro Four Third ที่ต้องการกล้องที่ 2 เล็กลง ทำงานได้ครบถ้วนทุกอย่าง เพราะการตอบโจทย์ในการถ่ายภาพและวิดีโอรุ่นนี้เรียกได้ว่าครบ เผลอๆ มีฟีเจอร์ Slow & Quick ที่เหนือกว่า Lumix G85 และ Lumix G95
คนกลุ่มที่ 3 คือมือโปรที่ต้องการกล้องเล็กไปต่อยอด เนื่องจาก Micro Four Third เป็นระบบที่สามารถต่อยอดได้หลากหลายและกล้องอย่าง Lumix G100 ก็สามารถต่อยอดไปได้อีกเยอะและนาน เพราะผมเองเชื่ออยู่ว่าเลนส์ 12 – 32 mm ค่ารูรับแสง F 3.5 - 5.6 แม้ระยะจะจบแต่ยังคงถ่ายภาพที่แสงน้อยยังไม่ดีสุดท้ายต้องเปลี่ยนเลนส์ หรือเพิ่มไฟส่องหน้า เพื่อจบกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน และราคาอุปกรณ์เช่นเลนส์ในระบบนี้ ไม่ได้สูงเหมือนกับบางค่ายและยังผสมใช้กับ Olympus ได้เช่นเดียวกันครับ
สรุปแล้ว Panasonic Lumix G100 เป็นกล้องถ่ายภาพถ่ายภาพที่มีศักยภาพครบเครื่องและบอดี้เล็กกว่าคู่แข่งน้ำหนักเบา พกง่าย สามารถต่อยอดกับอุปกรณ์ได้มากมาย ขึ้นอยู่กับทุนของคุณเองครับ
จุดเด่น
- การออกแบบกล้องดูลุยและลงตัวมาก
- น้ำหนักของกล้องถือว่าไม่ได้หนักเกินไป
- ฟีเจอร์เยอะและครบครัน
- มีฟีเจอร์ Slowmotion 120 FPS แบบ Full HD และ Timelaspe ในตัวเดียวกัน
- มี Bluetooth เชื่อมต่อมือถือเพื่อส่ง File หรือ ควบคุมกล้องได้
- ต่อยอดได้ด้วยเลนส์ในกลุ่ม Micro Four Third
- ราคาคุ้มค่า (ในชุด Vlogger)
- ระบบเสียงของ Nokia OZO Audio บันทึกเสียงได้ดี
- ระบบกันสันมีมาให้ในแบบ EIS
ข้อสังเกต
- ราคาของเลนส์บางแบบที่เหมาะสมยังสูงอยู่
- Bluetooth ไม่สามารถเชื่อมต่อกับไม้กันสั่น (Gimball) ได้เลย
- ไม่สามารถชาร์จไฟไปและถ่ายไปได้ในเวลาเดียวกัน
- ไม้ช่วยถ่ายปรับองศาได้น้อย และเปลี่ยนมุมต้องเวลามากพอสมควร
- แบตเตอรี่หมดเร็วเพราะขนาดเล็ก
- หากเดินเร็วๆ หรือ ก้าวเท้าหนักๆ ระบบกันสั่นอาจจะเอาไม่อยู่
- บอดี้ไม่กันน้ำนะ
อัลบั้มภาพ 66 ภาพ