เผยรายงานพบผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอาเซียน 38% ยุ่งจนละเลยการรักษาความปลอดภัย
อะไรจะวุ่นขนาดนั้น? รายงานแคสเปอร์สกี้พบผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอาเซียน 38% ยุ่งจนละเลยการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในดีไวซ์ตนเอง
การระบาดใหญ่ของ COVID-19 อาจหยุดการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ แต่ชีวิตมนุษย์จำนวนมากยังคงดำเนินต่อไปและเปลี่ยนจากโลกจริงไปสู่โลกเสมือนจริง การวิจัยล่าสุดของแคสเปอร์สกี้เรื่อง “More connected than ever before: how we build our digital comfort zones” แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำนวน 6 ใน 10 คนจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ตระหนักถึงเวลาออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ตาม พบความล้มเหลวในการจัดลำดับความสำคัญด้านความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต เนื่องจากผู้ใช้งาน 38% ยอมรับว่าชีวิตที่วุ่นวายในการล็อกดาวน์ทำให้ความปลอดภัยหล่นไปอยู่ลำดับท้ายๆ ของรายการที่ต้องทำ
นายโยว เซียง เทียง ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “การศึกษาใหม่ของเราแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ใช้เวลาออนไลน์ระหว่าง 5 ถึง 10 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บที่อายุน้อยและมีความกระตือรือร้นอยู่เสมอ ความแตกต่างในช่วงเวลานี้คือกิจกรรมออนไลน์ที่เรากำลังทำในบ้าน ตั้งแต่การประชุม การช็อปปิ้ง การทำธุรกรรมทางการเงิน การเรียนออนไลน์ การสื่อสารทางสังคมและอื่นๆ ทั้งหมดนี้แสดงให้เราเห็นว่าเทคโนโลยีเครื่องมือมีประโยชน์เพียงใด แต่ก็ควรทำให้เราได้คิดใหม่ว่าเรารักษาความปลอดภัยเครือข่ายในบ้านให้พ้นจากภัยคุกคามออนไลน์ได้อย่างไร”
จากรายงานล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ กิจกรรมที่พบมากที่สุด 5 อันดับใน SEA ได้เปลี่ยนจากการใช้งานจริงมาสู่โลกออนไลน์ คือการช็อปปิ้ง (64%) เนื้อหาสตรีมมิ่งและการเล่นเกมออนไลน์ (58%) การสังสรรค์กับครอบครัวและเพื่อนฝูง (56%) ดำเนินการเรื่องการเงิน (47%) และเข้าร่วมบทเรียนออนไลน์ (39%)
การทำกิจกรรมเหล่านี้ในช่วงเวลาที่มีการล็อกดาวน์เป็นเรื่องสะดวก แต่ก็ก่อให้เกิดความกังวลจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (81%) มีความกังวลเกี่ยวกับการออกเดททางออนไลน์แทนการพบปะทางกายภาพ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าคนโสดในภูมิภาคนี้ยังคงต้องการพบปะที่มีศักยภาพแบบตัวต่อตัว
ผู้ตอบแบบสอบถามอีก 69% กังวลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินทางออนไลน์และ 62% รู้สึกไม่สบายใจเมื่อต้องประชุมงานเสมือนจริง ผู้ตอบแบบสอบถาม 6 ใน 10 คนยังกำลังเกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายออนไลน์และการสังสรรค์กับเพื่อนและครอบครัว (54%)
เมื่อถามถึงระดับความกังวล ผู้ตอบแบบสอบถาม 42% ยอมรับว่ากลัวว่าจะมีคนเข้าถึงรายละเอียดทางการเงินผ่านอุปกรณ์ของตน บางส่วน (37%) กังวลว่าบุคคลภายนอกจะสามารถเข้าถึงเอกสารส่วนตัวได้ ในขณะที่อีก 35% กังวลว่ามีคนควบคุมอุปกรณ์ของตนผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ไม่ปลอดภัย
สปายแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของดีไวซ์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์แบบเดิม หรือแอปพลิเคชันในเว็บเบราว์เซอร์ หรือแอปพลิเคชันมือถือที่อยู่ในดีไวซ์ ซึ่งสปายแวร์ทำให้เกิดความกังวลสำหรับผู้ใช้ออนไลน์ 3 ใน 10 ราย ในขณะที่อีก 30% เริ่มระวังหน่วยงาน เว็บไซต์ หรือบุคคลที่สามารถติดตามตำแหน่งของตนได้
“ความกังวลที่พบในการวิจัยนี้พิสูจน์แล้วว่า สังคมมีการตระหนักรู้ที่เพิ่มมากขึ้นต่อการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตที่โหดร้าย อย่างไรก็ตามการศึกษาเดียวกันนี้ยังแสดงให้เราเห็นว่ายังมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 37% ในภูมิภาคนี้ที่คิดว่าตัวเองไม่มีความเสี่ยง เพราะคิดว่ามีคนอื่นที่น่าสนใจน่าเป็นเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์มากกว่า ความคิดนี้ต้องยุติลง ถึงเวลาแล้วที่จะต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบเกี่ยวกับการป้องกันสำหรับชีวิตดิจิทัลของเรา และเพื่อให้ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญสูงสุดของเรา” นายโยวกล่าวเสริม
ขณะที่มีผู้ใช้มากขึ้นที่หันมาพึ่งพาใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ชีวิตคงความปกติเอาไว้ให้ได้มากที่สุดในช่วงเวลาเช่นนี้ แคสเปอร์สกี้ขอเสนอคำแนะนำบางประการที่สามารถช่วยให้ชีวิตออนไลน์ปลอดภัยขึ้นได้ ดังนี้
- ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวทางออนไลน์ และอย่าแชร์ หรืออนุญาตให้ใครมาใช้แอคเซสเข้าข้อมูลของเราที่เก็บไว้กับเธิร์ดปาร์ตี้ เว้นแต่จำเป็นถึงขีดสุดจริงๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่แอคเซสจะอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดี
- เริ่มใช้ “Privacy Checker” ช่วยในการตั้งค่าโปรไฟล์โซเชียลมีเดียให้เป็นส่วนตัว ซึ่งจะทำให้ยากขึ้นที่จะมาล้วงเอาข้อมูลส่วนตัวสำคัญของเราไปได้
- ใช้ซีเคียวริตี้โซลูชั่นที่ไว้วางใจได้เช่น Kaspersky Password Manager เพื่อสร้างและป้องกันรหัสผ่านที่ควรมีลักษณะพิเศษจำเพาะสำหรับใช้กับแต่ละบัญชีออนไลน์ และจะได้ลดการกลับมาใช้รหัสผ่านซ้ำของเดิมไปเรื่อยๆ
- ใช้ทูล เช่น Kaspersky Security Cloud เพื่อตรวจสอบว่ารหัสผ่านที่ใช้งานอยู่นั้นยังปลอดภัยดีหรือไม่ ยูสเซอร์สามารถใช้ฟีเจอร์ Account Check ตรวจสอบว่าบัญชีที่ใช้นั้นมีแนวโน้มข้อมูลรั่วไหลหรือไม่ ถ้าตรวจพบการรั่วไหล Kaspersky Security Cloud จะแจ้งประเภทของข้อมูลที่มีแนวโน้มจะเป็นช่องโหว่ เพื่อที่ผู้ใช้งานจะได้ป้องกันหรือตัดการด้วยวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมต่อไป
การทำงานจากบ้าน (work-from-home) กลายมาเป็นนโยบายที่ใช้กันแพร่หลายในหลายประเทศทั่วภูมิภาค ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเอ็นเทอร์ไพรซ์ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้:
- สำหรับธุรกิจ ก็ให้อบรมพนักงานเกี่ยวกับพท้นฐานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เช่น อย่าเปิดหรือเก็บไฟล์จากอีเมลที่ไม่รู้จักคนส่ง หรือเว็บไซต์ที่ไม่รู้จัก เพราะอาจมีอันตรายต่อทั้งองค์กร หรืออย่าตั้งรหัสผ่านโดยใช้ข้อมูลส่วนตัว
- เพื่อให้แน่ใจว่ารหัสผ่านมีความเข้มแข็งจริงๆ พนักงานไม่ควรใช้ชื่อ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ หรือข้อมูลส่วนตัวมาตั้งเป็นรหัสผ่าน
- คอยกระตุ้นเตือนพนักงานถึงวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการดูแลข้อมูลที่มีความสำคัญ เช่น ต้องเก็บข้อมูลบนคลาวด์เซอร์วิสที่วางใจได้เท่านั้น ที่ใช้วิธีการตรวจสอบการผู้ใช้ก่อนแอคเซสข้อมูล และไม่ควรแชร์ข้อมูลเช่นนี้กับใครใดๆ ก็ตาม
เอ็นเทอร์ไพรซ์ที่ใช้โซลูชั่นจากแคสเปอร์สกี้สามารถที่จะเลือกใช้โปรแกรม Employee Purchase Program เพื่อสนับสนุนพนักงานของตนในการป้องกันดิไวซ์อุปกรณ์ใช้งานของพวกเขาได้อีกระดับ https://www.thaikaspersky.com/EDP