เทรนด์โลกปี 2021 กับการใช้ “โซเชียลมีเดีย”

เทรนด์โลกปี 2021 กับการใช้ “โซเชียลมีเดีย”

เทรนด์โลกปี 2021 กับการใช้ “โซเชียลมีเดีย”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในปี 2021 เทรนด์การใช้โซเชียลมีเดีย และอินเทอร์เน็ตของคนทั่วโลกจะมีทิศทางเป็นอย่างไร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมากน้อยเพียงใด และ COVID-19 ส่งผลกับพฤติกรรมการใช้งานของผู้คนอย่างไร Tonkit360 รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจจากการวิเคราะห์ของ Hootsuite  มาฝากกัน

คาดมีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 4.2 ล้านล้านบัญชี

โดยในปี 2021 คาดการณ์ว่าจะมีบัญชีการใช้งานของผู้ใช้โซเชียลมีเดียทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 4.2 ล้านล้านแอคเคาต์เลยทีเดียว หลังจากในปี 2020 พบว่ามีจำนวนผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียทั่วโลกเพิ่มขึ้น 13 เปอร์เซนต์ คิดเป็น User ใหม่ ประมาณ 1 พันล้านบัญชี ซึ่งจากความเติบโตของโซเชียลมีเดีย ทำให้ “สมาร์ทโฟน” กลายเป็นหน้าจอแรกที่คนทั่วโลกให้ความสำคัญมากกว่าหน้าจอโทรทัศน์ หรือที่เรียกว่า “First Screen”

และที่น่าสนใจไปยิ่งกว่านั้น ยังพบด้วยว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2020 นั้น คือประชากรในรุ่น Baby Boomer หรือผู้ที่มีอายุระหว่าง 55-64 ปี โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีสัดส่วนในการเล่นเฟซบุ๊กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และกลุ่ม Baby Boomer ยังชอบการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นอย่างยิ่งด้วย

ขณะเดียวกัน โซเชียลมีเดียเกือบทุกแพลตฟอร์มยังกลายเป็นพื้นที่ที่มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้นด้วย จากตัวเลขของการบล็อกแอคเคาต์ที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในปีที่ผ่านมา

โควิด-19 ทำให้ Ecommerce เติบโตก้าวกระโดด

การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Ecommerce เติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2020 โดยผู้คนมีความคุ้นเคยกับการช้อปปิ้งออนไลน์ และพบว่าทุกวันนี้ผู้คน 7 ใน 10 รายจะตัดสินใจซื้อสินค้าหลังจากได้ Search หรือค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เพื่อหารายละเอียดหรือรีวิวสินค้า หรือแม้กระทั่งซื้อสินค้าโดยวิธี Search ชื่อสินค้าจาก Search Engine ซึ่ง Google ก็คือเว็บเสิร์จเอ็นจินที่ได้รับความนิยมสูงสุดอันดับ 1 ของโลกในเวลานี้ ทำให้ปี 2021 เชื่อว่าผู้บริโภคจะหันมาช้อปปิ้งออนไลน์ผ่านช่องทางดิจิทัลต่าง ๆ มากขึ้น

ขณะที่จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในบ้านเรานั้น พบว่ามีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ก่อนตัดสินใจซื้อถึง 55.5 เปอร์เซ็นต์ ติดอันดับ 16 ของโลก แต่ยังเป็นรองประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในการค้นหาข้อมูลอยู่ในอันดับ 5 ของโลก (65.4 เปอร์เซ็นต์)

เวลาเฉลี่ยในการใช้สื่อในแต่ละวัน  

โดยเฉลี่ยในแต่ละวันนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกอายุระหว่าง 16-64 ปี หมดเวลาไปกับการใช้สื่อในกิจกรรมใดบ้าง ผลสำรวจออกมาดังนี้ 

  • 6 ชม. 54 นาที เล่นอินเทอร์เน็ต
  • 3 ชม. 24 นาที ดูรายการทีวีต่าง ๆ (ทั้งรายการสด และสตรีมมิ่ง)
  • 2 ชม. 26 นาที เล่นโซเชียลมีเดีย
  • 1 ชม. 31 นาที ฟังเพลงจากผู้ให้บริการสตรีมมิ่งต่าง ๆ 
  • 1 ชม. ฟังรายการวิทยุ
  • 54 นาที ฟังพอดแคสต์

วิดีโอครองอันดับ1 คอนเทนต์ออนไลน์

คอนเทนต์ออนไลน์ที่คนทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุดคือการดูคอนเทตน์วิดีโอ ซึ่งครองสัดส่วนมากที่สุดถึง 90.6 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ซึ่งสัดส่วนของการดู Vlog สูงถึง 51.4 เปอร์เซ็นต์

ขณะที่การฟังเพลงจากผู้ให้บริการสตรีมมิ่งทั้งหลายอยู่ที่ 73.2 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นการฟังสถานีวิทยุออนไลน์ สัดส่วนอยู่ที่ 47.1 เปอร์เซ็นต์ และการฟังพอดแคสต์มีสัดส่วนอยู่ที่ 44.1 เปอร์เซ็นต์

ส่วนการดูทีวีสตรีมมิ่งก็เติบโตอย่างรวดเร็วเช่นกัน ซึ่งในเมืองไทยมีสัดส่วนของการดูคอนเทนต์ผ่านผู้ให้บริการสตรีมมิ่งเจ้าต่าง ๆ อาทิ Netflix สูงถึง 60.8 เปอร์เซ็นต์

คนไทยเล่นเฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์ติดอันดับโลก

จากข้อมูลของผู้ใช้เฟซบุ๊กทั่วโลกนั้น หากแบ่งตามภาษาพบว่า “ภาษาไทย” ติดเข้ามาในอันดับ 12 ของโลกเลยทีเดียว โดยมีบัญชีผู้ใช้งานอยู่ที่ 55 ล้านแอคเคาต์ ส่วนอันดับ 1 คือภาษาอังกฤษ ซึ่งมีคนทั่วโลกใช้มากถึง 1,100 ล้านแอคเคาต์ คิดสัดส่วนเป็น 50.4 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือภาษาสเปน 340 ล้านแอคเคาต์ และภาษาฮินดี 180 ล้านแอคเคาต์

ขณะที่ความนิยมในการเล่นทวิตเตอร์ ประเทศไทยติดอันดับที่ 13 ของโลก โดยมีผู้ใช้งานอยู่ 7.5 ล้านแอคเคาต์ สูสีกับฟิลิปปินส์ ซึ่งอยู่อันดับ 11 (7.85 ล้านแอคเคาต์) ส่วนอันดับ 1 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 69.3 ล้านแอคเคาต์ ตามมาด้วย ญี่ปุ่น (50.9 ล้านแอคเคาต์) และอินเดีย (17.5 ล้านแอคเคาต์)

ส่วนการใช้งาน TikTok ที่มาแรงในปี 2020 นั้น Hootsuite ระบุว่า คำที่ใช้ค้นหาใน TikTok เป็นคีย์เวิร์ดเดียวกับที่ใช้ค้นหาในยูทูบ นั่นเท่ากับว่า TikTok กำลังจะเป็นแพลตฟอร์มที่กำลังท้าชิงตำแหน่ง จากยูทูบด้วยเช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook