หัวเว่ยเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง พร้อมขยายการลงทุน ด้านซอฟต์แวร์และส่วนประกอบรถยนต์อัจฉริยะ

หัวเว่ยเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง พร้อมขยายการลงทุน ด้านซอฟต์แวร์และส่วนประกอบรถยนต์อัจฉริยะ

หัวเว่ยเติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่อง พร้อมขยายการลงทุน ด้านซอฟต์แวร์และส่วนประกอบรถยนต์อัจฉริยะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หัวเว่ย ผู้นำด้านเทคโนโลยีของโลก จัดงานประชุม Global Analyst Summit ครั้งที่ 18 ณ เมืองเซินเจิ้น โดยยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้เดินหน้าต่อไปได้ เน้นขยายการลงทุนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้ธุรกิจจากการเสริมแกร่งธุรกิจซอฟต์แวร์และส่วนประกอบในรถยนต์อัจฉริยะ รวมทั้งใช้ความเชี่ยวชาญทั้งในด้านโครงข่าย ซอฟต์แวร์ อีโคซิสเต็ม และบริการอัจฉริยะอื่น ๆ พร้อมเคียงข้างลูกค้าและพันธมิตรทั่วโลกในการก้าวข้ามความท้าทายทุกรูปแบบ

หัวเว่ยพร้อมก้าวไปข้างหน้าด้วย 5 กลยุทธ์หลัก

นายอีริค สวี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย ได้กล่าวถึงผลประกอบการของบริษัทในปี พ.ศ. 2563 รวมถึง 5 กลยุทธ์หลักที่หัวเว่ยจะนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจว่า หัวเว่ยจะเพิ่มประสิทธิภาพของการลงทุนเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับธุรกิจ โดยส่วนหนึ่งมาจากการที่หัวเว่ยจะเพิ่มความแข็งแกร่งของธุรกิจซอฟต์แวร์ และลงทุนเพิ่มในธุรกิจที่ไม่ได้พึ่งพากระบวนการทางเทคนิคขั้นสูงมากเกินไปนัก รวมถึงลงทุนในธุรกิจส่วนประกอบของยานพาหนะอัจฉริยะ

นอกจากนี้ หัวเว่ยจะสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับ 5G และสร้างนิยามใหม่ให้กับเทคโนโลยี 5.5G ร่วมกับผู้ประกอบการรายอื่นในอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนวิวัฒนาการของการสื่อสารผ่านมือถือ มอบประสบการณ์การใช้งานแบบอัจฉริยะที่ไร้รอยต่อ และมีผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางในทุกสถานการณ์ ร่วมสร้างนวัตกรรมเพื่อลดการใช้พลังงานเพื่อโลกที่สะอาดขึ้น และก้าวข้ามความท้าทายในด้านการบริหารความต่อเนื่องทางซัพพลาย    

“การสร้างความเชื่อมั่นกลับมา และการฟื้นฟูความร่วมมือในซัพพลายเชนของหน่วยประมวลผลหรือชิปเซ็ตทั่วโลกเป็น สิ่งสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมกลับมาสู่ภาวะปกติได้ เราเชื่อในพลังแห่งดิจิทัลว่าจะสามารถนำเสนอทางออกให้กับปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ ดังนั้นเราจะเดินหน้าสร้างนวัตกรรมและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัลร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรของเรา เพื่อนำเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ทุกคน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ” นายอีริค สวี ย้ำ

ธุรกิจของหัวเว่ยยังเติบโตอย่างมั่นคงพร้อมความเชื่อมั่นแม้ต้องเผชิญกับความท้าทาย   

ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ นายอีริค สวี ได้กล่าวถึงผลประกอบการในปี พ.ศ. 2563 ของหัวเว่ยตามรายงานประจำปี เมื่อ 31 มีนาคมที่ผ่านมา โดยแม้ว่าบริษัทจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และเผชิญกับข้อจำกัดจากภายนอก รายได้ของหัวเว่ยยังเติบโตที่ 3.8% อยู่ที่ 891,400 ล้านหยวน และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 3.2% อยู่ที่ 64,600 ล้านหยวน

สำหรับกลยุทธ์ของหัวเว่ยภายใต้การถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา นายอีริค สวี ได้แสดงถึงความเชื่อมั่นของบริษัทและความมุ่งมั่นที่ยังทำงานร่วมกับลูกค้าและพันธมิตรทั่วโลกอย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับความท้าทายในด้านซัพพลาย ในฐานะที่หัวเว่ยเป็นผู้ซื้อรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลก เป็นรองเพียงแอปเปิล และซัมซุง และจีนก็เป็นตลาดใหญ่ที่มีความต้องการชิปเซ็ตจำนวนมหาศาล จึงมีบริษัทที่พร้อมลงทุนและตอบสนองความต้องการดังกล่าวของทั้งหัวเว่ย และบริษัทอื่น ๆ ของจีน โดยที่ยังปฏิบัติตามมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐอเมริกา

หัวเว่ยยืนยันถึงกลยุทธ์ในการไม่ผลิตรถยนต์ แต่มุ่งใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีเพื่อสร้างยานยนต์แห่งอนาคต           

หัวเว่ยตัดสินใจไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ แต่จะช่วยผู้ผลิตรายต่าง ๆ สร้างยานพาหนะที่ดียิ่งขึ้น ในฐานะที่เป็นบริษัทไอซีที หัวเว่ยมุ่งหวังที่จะส่งเสริมรูปแบบธุรกิจใหม่เมื่อทำงานร่วมกันกับผู้ผลิตรถยนต์ โดยหวังว่าจะสร้างความร่วมมือในเชิงลึกกับพันธมิตรกลุ่มเล็ก ๆ ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจที่เรียกว่า Huawei Inside เพื่อช่วยให้พันธมิตรผู้ผลิตสามารถสร้างแบรนด์ย่อยของตัวเองได้

โดยจนถึงปัจจุบันนี้ หัวเว่ยได้คัดเลือกพันธมิตรสามรายเพื่อทำงานภายใต้รูปแบบธุรกิจใหม่นี้ และช่วยพวกเขาสร้างแบรนด์ของตัวเอง ซึ่งรวมถึงบริษัท Beijing New Energy Automobile Chongqing Chang'an และ Guangzhou Automobile Group        

หัวเว่ยปรับโครงสร้างหน่วยธุรกิจคลาวด์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจซอฟต์แวร์

เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มธุรกิจคลาวด์ของหัวเว่ยได้เปลี่ยนเป็นส่วนธุรกิจคลาวด์หรือ Cloud BU ซึ่งมีนายอีริค สวี  เป็นประธาน โดยเขากล่าวว่าธุรกิจคลาวด์ของหัวเว่ยนั้นเป็นธุรกิจที่อยู่บนออนไลน์เป็นหลักและใช้รูปแบบธุรกิจแบบสมัครสมาชิก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการกลับมาให้ความสำคัญกับบริการคลาวด์ของหัวเว่ย

การเสริมสร้างความสำคัญของธุรกิจคลาวด์นั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการของหัวเว่ยในการเสริมความแข็งแกร่งของธุรกิจซอฟต์แวร์ เนื่องจากธุรกิจคลาวด์ของหัวเว่ยนั้นลงทุนในด้านซอฟต์แวร์เป็นหลัก และมีกฎเกณฑ์เป็นของตัวเอง และจากการที่หน่วยธุรกิจนั้นมีความเป็นอิสระในการพัฒนามากขึ้น หัวเว่ยหวังว่าจะสามารถเพิ่มสัดส่วนรายได้จากซอฟต์แวร์และการบริการให้แก่องค์กรได้

หัวเว่ยมุ่งเร่งการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ในช่วงที่เกิดภาวะโรคระบาด ทั้งภาครัฐบาล เอกชน และผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่น ๆ ได้เห็นแล้วว่าการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลมีความสำคัญเพียงใด       

วิสัยทัศน์ของหัวเว่ยคือการนำดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร เพื่อโลกที่เชื่อมต่อกันอย่างอัจฉริยะ และการช่วยให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ เดินหน้าสู่การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีก็เป็นหนึ่งในพันธกิจของหัวเว่ยอีกด้วย ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ทำธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมานานกว่า 20 ปี และเรายังคงทำทุกวิถีทางเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งหัวเว่ยเชื่อว่าความพยายามของเราจะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับหัวเว่ย ประเทศไทย ยังคงยึดมั่นในพันธกิจที่จะเติบโตไปพร้อมกับประเทศไทยและช่วยสนับสนุนประเทศไทย โดยหัวเว่ย ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะนำดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร เพื่อสร้างประเทศไทยในยุคดิจิทัลที่เชื่อมต่อกันอย่างอัจฉริยะ

โดยในปีนี้ หัวเว่ยมุ่งสนับสนุนประเทศไทยผ่านการเป็นพาร์ทเนอร์ด้านไอซีทีที่ไว้วางใจได้สำหรับกลุ่มลูกค้าและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยหัวเว่ยจะช่วยเหลือในการขยายการติดตั้งโครงข่าย 5G และพัฒนาคุณภาพรวมถึงประสบการณ์ใช้งานของโครงข่าย

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังวางแผนการลงทุนศูนย์ข้อมูลแห่งที่สามสำหรับบริการคลาวด์ใน ช่วงไตรมาสที่สองของปี พ.ศ. 2564 ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 700 ล้านบาท และเนื่องจากบุคลากรด้าน ICT ถือเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยหัวเว่ยตั้งเป้าฝึกบุคลากรด้านไอซีทีให้ถึง 100,000 คนผ่าน HUAWEI ASEAN Academy ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยในปีนี้ หัวเว่ย ประเทศไทยยังได้เปิด HUAWEI Academy สาขา EEC โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้กลุ่มธุรกิจ SME มีทักษะด้านดิจิทัลที่จำเป็นอีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook