6 เคล็ดลับจาก “อีลอน มัสก์” เพิ่มความ Productive ให้ลูกน้อง

6 เคล็ดลับจาก “อีลอน มัสก์” เพิ่มความ Productive ให้ลูกน้อง

6 เคล็ดลับจาก “อีลอน มัสก์” เพิ่มความ Productive ให้ลูกน้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่าง อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งบริษัทผลิตยานยนต์ไฟฟ้า Tesla และบริษัทด้านธุรกิจขนส่งทางอวกาศ SpaceX มีวิธีการอย่างไรในการเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานให้กับลูกน้องของตนเอง เพื่อทำให้กิจการของตนเองประสบความสำเร็จได้ถึงทุกวันนี้ และนี่คือเคล็ดลับจากมหาเศรษฐีคนดังในการเพิ่มความ Productive ให้กับลูกน้องของตนเอง

บอกลาการประชุมที่ยาวนาน

มัสก์มองว่าการใช้เวลาประชุมอันยาวนานถือเป็นหายนะสำหรับทุกบริษัท และเมื่อกาลเวลาผ่านไปก็มักจะเลวร้ายยิ่งขึ้น เขาจึงแนะนำให้พนักงานบอกลาการประชุมเหล่านั้น หรือไม่ก็เดินออกจากห้องประชุมไปเสีย แต่ถ้าให้ความสำคัญกับผู้ร่วมประชุม ก็ควรจะลดเวลาในการประชุมให้สั้นลง

การประชุมบ่อย ๆ ไม่ส่งผลดี

นอกจากจะไม่เห็นด้วยกับการใช้เวลาประชุมอันยาวนานแล้ว มัสก์ยังมองด้วยว่าการประชุมบ่อย ๆ ก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน เว้นเสียแต่เป็นเรื่องที่เร่งด่วนหรือสำคัญมาก แต่หากปัญหาเหล่านั้นได้รับการแก้ไขแล้ว ก็ควรจะลดความถี่ในการประชุมให้น้อยลง

istock-1085389362

ออกจากห้องประชุม ถ้าไม่มีส่วนร่วม

มัสก์ระบุว่าการเดินออกจากห้องประชุมไม่ใช่เรื่องเสียมารยาทหรือหยาบคายแต่อย่างใด แต่การทำให้คนอื่นเสียเวลาเป็นเรื่องที่เสียมารยาทมากกว่า ดังนั้น หากในการประชุมนั้น ๆ คุณไม่ได้มีส่วนร่วมใด ๆ ก็ไม่ควรเสียเวลาอยู่ในห้องประชุมแต่อย่างใด

สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต้องเป็นการสื่อสารที่สามารถเข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย มัสก์จึงแนะนำพนักงานของเขาว่าให้เลี่ยงการใช้คำย่อหรือศัพท์แสงเฉพาะทางที่คนอื่นเข้าใจได้ยาก เมื่อต้องหารือกันถึงเรื่องซอฟต์แวร์ หรือเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการทำงานในบริษัท

มีปัญหาใด ๆ สื่อสารกันโดยตรง

บ่อยครั้งที่ปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการสื่อสารกันระหว่างแผนก เพราะกว่าจะสื่อสารกันรู้เรื่องต้องผ่านลำดับขั้นตอนมากมาย แทนที่จะสื่อสารกันโดยตรงเพื่อแก้ปัญหาให้ลุล่วงโดยเร็ว ซึ่งมัสก์บอกกับลูกน้องว่าการสื่อสารต้องฉับไวและใช้เวลาในการส่งต่อข้อมูลให้สั้นที่สุด แทนที่จะผ่านระดับผู้บริหารในสายบังคับบัญชาหลายขั้นตอนกว่าจะได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น

กฎเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์

มัสก์บอกกับพนักงานของตนเองว่าการปฏิบัติตามกฎของบริษัทไปเสียทั้งหมดเป็นเรื่องที่น่าขัน เพราะในบางสถานการณ์ก็ไม่อาจทำตามกฎที่วางไว้ได้ ดังนั้น จึงควรใช้ Common sense หรือสามัญสำนึก เป็นแนวทางในการทำงาน ขณะที่กฎต่าง ๆ หากล้าหลังก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เพราะเป้าหมายที่เขาสนใจคือการเพิ่มประสิทธิผลจากการทำงานมากกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook