คดีล่าสุดเผย Siri และ Google Assistant อาจจะแอบฟังคุณอยู่ แม้จะไม่ได้เรียกใช้งาน

คดีล่าสุดเผย Siri และ Google Assistant อาจจะแอบฟังคุณอยู่ แม้จะไม่ได้เรียกใช้งาน

คดีล่าสุดเผย Siri และ Google Assistant อาจจะแอบฟังคุณอยู่ แม้จะไม่ได้เรียกใช้งาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายครั้งที่หลาย ๆ คนเคยสงสัยว่าทำไมสิ่งที่เราพูดในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่เคยค้นหาหรือทำการใด ๆ บนอินเทอร์เน็ต กลับถูกโฆษณาขึ้นมาบนบริการต่าง ๆ ราวกับว่ามีคนคอยดักฟังเราอยู่ตลอดเวลา

ล่าสุดได้มีคดีความในชั้นศาลที่สหรัฐฯ กล่าวหาบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Apple, Google, และ Amazon ว่ามีการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยใช้ผู้ช่วยส่วนตัวในการแอบฟังผู้ใช้ ซึ่งในตอนนี้ทั้ง 3 บริษัทมีบริการผู้ช่วยส่วนตัวที่ใช้เสียงเป็นคำสั่งการ Siri, Google Assistant, และ Alexa ตามลำดับ ที่มีจุดมุ่งหมายในการช่วยเหลือผู้ใช้ในการทำงานในทุก ๆ วัน

รองศาสตราจารย์โนอาห์ กู๊ดแมน (Noah Goodman) จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ระบุว่า เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกออกแบบให้ฟัง Wake word หรือคำเรียกใช้งานที่ถูกกำหนดในแต่ละอุปกรณ์ แต่ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนเนื่องจากสำเนียงหรือเสียงมักแตกต่างกันไปในแต่ละคน

ทั้ง 3 บริษัทที่กล่าวมาให้การปฎิเสธเกี่ยวกับการฟังบทสนทนาเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์อื่น ๆ นอกจากการช่วยเหลือการทำงานอย่างที่ถูกออกแบบมา

สำหรับกูเกิล (Google) ถูกร้องว่าบริษัทหรือระบบ Google Assistant ไม่ควรใช้หรือเก็บข้อมูลบทสนทนาสำหรับการโฆษณา ซึ่งทางโฆษกของกูเกิลได้ออกมาระบุว่าข้อมูลที่ถูกเก็บนั้นจะถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัย โดยค่าเริ่มต้นจะถึงตั้งไม่ให้เก็บเสียงบันทึกที่เป็นคำถามง่าย ๆ หรือเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนตัว

แอมะซอน (Amazon) เคยโดนร้องเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาในกรณีการอัดข้อมูลทุกอย่างที่ได้ยินหากตัวเครื่องได้ยินมีคนเรียก ถึงแม้จะไม่ได้ตั้งใจเรียกก็ตาม โดยโฆษกก็ออกมาระบุว่ามีการเก็บเสียงอัดจริง เพื่อการรีวิวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบริการ และจะมีเสียงอันส่วนหนึ่งส่วนน้อย ๆ ถูกนำไปรีวิวด้วยคนอีกที ซึ่งผู้ใช้สามารถจัดการเสียงอัด รวมถึงการไม่อนุญาตให้รีวิวด้วย

ส่วนแอปเปิ้ล (Apple) ก็เคยโดนฟ้องร้องไปแล้วในหลาย ๆ คดี เช่น การเปิดใช้งาน Siri แม้ผู้ใช้ยังไม่ได้ทำการเรียกใช้งานเลย ซึ่งทำให้บทสนทนานั้นถูกอัด และถูกส่งไปยังที่ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการโฆษณา และเมื่อปี 2019 ได้มีการใช้คนในการฟังและประเมินเสียงอัด ในการเพิ่มประสิทธิภาพของบริการ ซึ่งก็ได้มีการปรับเปลี่ยนไปใช้คอมพิวเตอร์ในการถอดคำพูดแทน แต่เพียงไม่กี่เดือนก็กลับมาทำลักษณะเดิม แต่ให้ผู้ใช้สามารถอนุญาตหรือไม่อนุญาตได้

ทั้งนี้ นิโคล โอเซอร์ (Nicole Ozer) ผู้อำนวยการของโปรแกรมเสรีภาพพลเรือนและเทคโนโลยีได้ระบุว่า คดีความเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณบอกผู้ใช้งานว่าถูกเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ไปมากเท่าไรแล้ว ซึ่งแทนที่เทคโนโลยีจะมาช่วยผู้ใช้งาน แต่กลับเหมือนว่าจะไปช่วยบริษัทเหล่านั้นแทน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook