Facebook ประเทศไทย และโครงการฮัก เปิดตัวแคมเปญล่าสุด ‘กดรายงาน ไม่แชร์ภาพ’ (#ReportItDontShareIt)

Facebook ประเทศไทย และโครงการฮัก เปิดตัวแคมเปญล่าสุด ‘กดรายงาน ไม่แชร์ภาพ’ (#ReportItDontShareIt)

Facebook ประเทศไทย และโครงการฮัก เปิดตัวแคมเปญล่าสุด ‘กดรายงาน ไม่แชร์ภาพ’ (#ReportItDontShareIt)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Facebook ประเทศไทย และโครงการฮัก (The HUG Project) ได้เปิดตัวแคมเปญล่าสุดเพื่อช่วยสร้างความตระหนักรู้ให้กับสังคมไทยถึงภัยที่เกิดจากการแชร์รูปภาพหรือวิดีโอที่เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก และวิธีที่ผู้ใช้งานสามารถทำการรายงานเนื้อหาเหล่านี้ไปยังหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายและ Facebook ได้

แคมเปญที่ชื่อว่า Report It. Don’t Share It (กดรายงาน ไม่แชร์ภาพ) ประกอบด้วยคลิปวิดีโอสั้นที่มุ่งเน้นการสร้างการตระหนักรู้ถึงปัญหาดังกล่าวและวิธีรับมือที่จัดทำขึ้นโดย Facebook และถือเป็นเนื้อหาที่เสริมเพิ่มเติมจากคู่มือที่จัดทำโดยโครงการฮัก กับองค์การไม่แสวงผลกำไรอื่นๆ ระดับโลก เช่น World Childhood Foundation, The Family Connection Foundation และสำนักงานบริหารนโยบายของนายกรัฐมนตรี เพื่อแนะนำวิธีที่ชัดเจนในการรายงานเรื่องดังกล่าวเพื่อช่วยลดเนื้อหาที่เกี่ยวกับการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กออนไลน์ได้

childsafetypsavdo
        
ในช่วงปีที่ผ่านมา Facebook ได้ทำงานและร่วมปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกในปัญหาเรื่องของการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนโลกออนไลน์ ซึ่งรวมไปถึง The National Center for Missing and Exploited Children (NCMEC) และศาสตราจารย์อีเธล เควลล์ (Professor Ethel Quayle) นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องผู้กระทำความผิดทางเพศ เพื่อช่วยให้ได้เข้าใจสาเหตุของการที่ผู้คนแชร์เนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กออนไลน์

ผลการศึกษาของ Facebook บนบัญชี 150 บัญชีที่ Facebook ทำการรายงานไปยัง NCMEC ว่ามีการอัพโหลดเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กออนไลน์ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2563 และเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 พบว่ามากกว่าร้อยละ 75 ไม่ได้แสดงถึงเจตนาร้าย (ไม่ได้ตั้งใจทำร้ายเด็ก) แต่เป็นการแชร์เนื้อหาด้วยเหตุผลอื่นๆ เช่น เกิดจากความโกรธ หรือเป็นการมองว่าเนื้อหาเล่านั้นเป็นเรื่องตลกเชิงขบขัน

hugprojectinfographic

Facebook ทำการรายงานทุกเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กไปยัง NCMEC รวมถึงเนื้อหาต่างๆ ที่ Facebook สามารถใช้เทคโนโลยีตรวจจับได้ และทำการลบก่อนที่จะมีคนเห็นเนื้อหาเหล่านั้นบน Facebook ผลการศึกษายังระบุด้วยว่ารายงานส่วนใหญ่ที่ Facebook ส่งไป เป็นเนื้อหาเดียวกันหรือมีความคล้ายคลึงกัน โดยภาพหรือวิดีโอเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กร้อยละ 90 ในผลการศึกษาเป็นการทำซ้ำ (Copy) ไม่ใช่เนื้อหาใหม่

hugprojectinfographic2

นอกจากนี้ มากกว่าครึ่งของเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กทั้งหมดที่ทาง Facebook รายงานไปยัง NCMEC ในช่วงเดียวกันนั้น เกิดจากภาพหรือวิดีโอต้นฉบับเพียงแค่ 6 ชิ้น
     
คุณมาลินา เอ็นลุนด์ ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยและความมั่นคง Facebook เอเชียแปซิฟิก  และ คุณบุ๋ม วีรวรรณ มอสบี้ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงฮัก

จากการวิเคราะห์นี้ Facebook จึงสร้างแคมเปญร่วมกับพาร์ทเนอร์ในเรื่องของความปลอดภัยในเด็กเพื่อช่วยลดเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็กที่ถูกแชร์ออนไลน์บน Facebook    

“แม้ว่าข้อมูลจะแสดงให้เห็นว่าจำนวนของเนื้อหาอาจจะไม่ได้เท่ากับจำนวนของเหยื่อ แต่เราเชื่อว่าไม่ควรจะมีเหยื่อแม้แต่คนเดียว การปกป้องและการขจัดปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนโลกออนไลน์นั้น จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งอุตสาหกรรม และ Facebook เองก็ยึดมั่นที่จะทำหน้าที่ในส่วนของเราเพื่อปกป้องเด็กๆ จากอันตรายทั้งขณะที่กำลังใช้งานแอปพลิเคชันของเราหรือไม่ได้ใช้ก็ตาม และเราใช้แนวทางการค้นคว้าวิจัยและศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างโซลูชันที่จะขัดขวางการแชร์เนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนโลกออนไลน์” คุณมาลินา เอ็นลุนด์ ผู้จัดการฝ่ายความปลอดภัยและความมั่นคง Facebook เอเชียแปซิฟิก กล่าว

“การแชร์เนื้อหารูปภาพหรือวิดีโอการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนโลกกออนไลน์ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ส่งผลร้ายแรงต่อเด็กที่อยู่ในเนื้อหานั้นๆ มาก สถิติจากชุดปฏิบัติการปราบปรามการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเทอร์เน็ต เกี่ยวการแจ้งเบาะแส และเคสที่เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศออนไลน์ในสองปีที่ผ่านมา พบว่าพุ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 54.59 นับจากปี 2019 จนถึงปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทั้งนี้ยังพบอีกว่าแนวโน้มของผู้เสียหายมีเกณฑ์อายุที่น้อยลง จากกลุ่มวัยรุ่น เปลี่ยนเป็นกลุ่มเด็กแทน” คุณบุ๋ม วีรวรรณ มอสบี้ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโครงฮัก กล่าว

“ทาง HUG Project จึงพยายามให้ความสำคัญในเรื่องการป้องกันมาขึ้น ด้วยการจัดทำคู่มือในรูปแบบ Interactive fiction เพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มเสี่ยงได้มากขึ้น เราทำงานร่วมกับ Facebook เพื่อทำความเข้าใจว่าเราจะสามารถขัดขวางการแชร์เนื้อหาเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เด็กๆ ต้องกลายเป็นเหยื่อซ้ำๆ รวมถึงหาวิธีให้ความรู้แก่ผู้คนว่าจะสามารถรายงานเนื้อหาเหล่านี้ได้อย่างไร”
กดรายงาน ไม่แชร์ภาพ: Report It. Don’t Share It.

คุณสามารถช่วยเด็กๆ ได้โดยการรายงานเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็ก หากรู้สึกว่าเด็กตกอยู่ในอันตราย สามารถโทรแจ้งเพื่อรายงานไปศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 และหากคุณพบรูปภาพที่เด็กกำลังถูกทำร้าย โปรดรายงานไปที่ Facebook และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และอย่าแชร์ ดาวน์โหลด หรือคอมเม้นต์เนื้อหาเหล่านั้น เนื่องจากการส่งต่อเนื้อหาการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศเด็ก หรือใส่เนื้อหาเหล่านั้นในข้อความอาจจะมีความผิดตามกฎหมาย เมื่อคุณทำการรายงานมายัง Facebook เราจะไม่ขอให้คุณรวมเนื้อหานั้นๆ เข้ามาในรายงาน

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ Facebook ประเทศไทย และโครงการฮัก เปิดตัวแคมเปญล่าสุด ‘กดรายงาน ไม่แชร์ภาพ’ (#ReportItDontShareIt)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook