เช็กก่อนแชร์...เล่นมือถือตอนฝนตกเสี่ยงฟ้าผ่า จริงหรือ? คำถามเดิม ๆ ที่หลายคนยากรู้

เช็กก่อนแชร์...เล่นมือถือตอนฝนตกเสี่ยงฟ้าผ่า จริงหรือ? คำถามเดิม ๆ ที่หลายคนยากรู้

เช็กก่อนแชร์...เล่นมือถือตอนฝนตกเสี่ยงฟ้าผ่า จริงหรือ? คำถามเดิม ๆ ที่หลายคนยากรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สายติดโซเชียลแบบพวกเรา คงเคยได้ยินหลากหลายความเชื่อเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือมากมายใช่ไหมครับ ทั้ง ชาร์จแบตข้ามคืนระวังระเบิด หรือวางมือถือใกล้ที่นอน เสี่ยงเป็นมะเร็งสมอง

และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งหลาย ๆเรื่องก็พิสูจน์กันมาแล้วว่าจริงหรือหลอกกันแน่! แต่สําหรับ ‘เล่นมือถือตอนฝนตก ทําให้ฟ้าผ่า’ นั้นจริงหรือไม่วันนี้ผมจะพาทุกคนมาหาคําตอบไปด้วยกันครับ

หลาย ๆ คนคงมีความกังวลใจเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นจากฝนฟ้าคะนองกันใช่ไหมครับ ไม่ว่าจะอุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือแม้แต่ภัยธรรมชาติและปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่พวกเราไม่สามารถควบคุมหรือคาดเดาได้ โดยเฉพาะปรากฏการณ์ ‘ฟ้าผ่า’ นั่นเอง

แล้วคุณรู้ไหมครับ ว่ากรุงเทพฯ คือจังหวัดที่มีโอกาสเกิดฟ้าผ่ามากที่สุด แต่กลับมีเหตุการณ์นี้น้อยมาก ๆจนแทบ ไม่มีให้เห็นตามข่าวเลย นั่นก็เพราะว่าในหลาย ๆ อาคารได้มีการติดตั้งสายล่อฟ้าและสายดินเอาไว้เลยทําให้พวกเรา ทุกคนปลอดภัยจากปรากฏการณ์นี้นั่นเองล่ะครับ

แต่โทรศัพท์มือถือของเราล่ะจะกลายเป็นสายล่อฟ้าเองหรือเปล่า?

istock-1090411520

เล่นโทรศัพท์ตอนฝนตก เสี่ยงฟ้าผ่าจริงไหม?


ก่อนจะไขปริศนานี้ผมขอพาทุกคนมาทําความเข้าใจกันก่อนครับ ว่าฟ้าผ่านั้นเกิดจากอะไร?

จริงๆแล้ว “ฟ้าผ่า” เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากความไม่สมดุลระหว่างประจุไฟฟ้าในก้อนเมฆและพื้นดิน นะครับ โดยระหว่างเกิดฝนฟ้าคะนอง ก้อนเมฆจะมีการสะสมประจุไฟฟ้าเกิดขึ้น ซึ่งหากบริเวณใต้ก้อนเมฆมี ‘ประจุ ลบ’ สะสมอยู่มาก ประจุลบก็จะเดินทางลงสู่พื้นดิน แต่ในขณะเดียวกัน ‘ประจุบวก’ บนพื้นดินก็ถูกประจุลบดึงดูดขึ้น ไป และเมื่อทั้ง 2 ขั้วเดินทางมาเจอกัน ก็จะเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่านั่นเองครับ ซึ่งพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าก็คือ พื้นที่โล่งแจ้ง สระว่ายน้ํา ที่ที่มียอดสูงๆ อย่างเช่นต้นไม้นั่นเองครับ

แต่สําหรับโทรศัพท์มือถือนั้น แม้จะมีการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณต่างๆรวมทั้งวัสดุที่ใช้ผลิตก็อาจเป็นชนวนล่อฟ้า ได้แต่หากเรามองในทฤษฎีของการเกิดฟ้าผ่าแล้ว ประจุไฟฟ้าภายในโทรศัพท์นั้นกลับไม่มีกําลังมากพอที่จะทําให้ เกิดฟ้าผ่าได้และสัญญาณก็ไม่สามารถแตกตัวเป็นตัวนําไฟฟ้าได้เช่นกันครับ

ซึ่งความเชื่อนี้ก็มีนักวิชาการหลายท่านที่ออกมายืนยัน รวมทั้งได้มีการทดลองเพื่อพิสูจน์ความจริงของความเชื่อนี้ แล้วด้วยครับ โดยการนําโทรศัพท์มือถือมาวางไว้บริเวณการทําฟ้าผ่าจําลอง ทั้งหมด 3 เครื่อง คือ

  • มือถือที่ปิดเครื่อง
  • มือถือที่เปิดเครื่องและมีการโทรเข้า
  • มือถือที่เปิดเครื่อง มีการโทรเข้าและตั้งรับสายอัตโนมัติ


เพื่อน ๆ ลองทายดูสิครับ ว่ามือถือเครื่องไหนที่จะเสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่ามากที่สุด?

คําตอบก็คือ...ไม่มีมือถือเครื่องไหนทําให้เกิดฟ้าผ่าได้เลยครับ แถมโทรศัพท์ทั้ง 3 เครื่องก็ยังใช้งานได้ปกติอีกด้วย ดังนั้นจึงยืนยันได้เลยครับว่า ‘เล่นมือถือตอนฝนตกเสี่ยงฟ้าผ่า’ เป็นความเชื่อที่ผิด! นะครับ
เล่นโทรศัพท์ตอนฝนตก เสี่ยงฟ้าผ่าจริงไหม?

แต่ทำไมเมื่อเกิดฟ้าผ่า โทรศัพท์ถึงมีรอยไหม้?

นั่นก็เพราะว่าผู้ที่ถูกฟ้าผ่ามีการนําโทรศัพท์มือถือติดตัวไว้ด้วย เมื่อเกิดฟ้าผ่าลงมาร่างกายก็จะเป็นตัวนํา ประจุไฟฟ้าให้ไหลเข้าสู่โทรศัพท์ของเราจนเกิดการช็อต ระเบิด และไหม้ทําให้หลาย ๆ คนจึงเข้าใจผิดว่า สาเหตุที่ฟ้าผ่ามาจากโทรศัพท์มือถือนั่นเองครับ

รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านอื่น ๆ ด้วยนะครับ เช่น โทรทัศน์ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ก็ไม่ได้เป็น สาเหตุที่ทําให้เกิดฟ้าผ่าเช่นเดียวกับครับ แต่ที่อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากการเกิดฟ้าผ่า นั่นก็ เพราะว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าของเรา ไม่ได้มีการติดตั้งเบรกเกอร์หรือสายดินเอาไว้เมื่อเกิดฟ้าผ่าในบริเวณใกล้ๆ บ้าน จึงเป็นไปได้ที่กระแสไฟจะไหลเข้าสู่อุปกรณ์ของเราจนเกิดการช็อตและเสียหายได้นั่นเองครับ

istock-995247990

เล่นโทรศัพท์ตอนฝนตก เสี่ยงฟ้าผ่าจริงไหม?

แม้ว่าโทรศัพท์มือถือไม่ใช่สาเหตุที่ทําให้เกิดฟ้าผ่า แต่ก็อย่าเพิ่งวางใจนะครับ ว่ามือถือของเราจะปลอดภัย เพราะในขณะที่เกิดฟ้าร้อง ก็อาจมีผลข้างเคียงได้ครับ เพราะโทรศัพท์มือถืออาจจะเหนี่ยวนํากระแสไฟฟ้าเข้า มาจนทําให้แบตเตอรี่ช็อตและรวนได้นะครับ รวมทั้งการเล่นโทรศัพท์ระหว่างฝนตก ก็อาจทําให้น้ําเข้าอุปกรณ์ จนเกิดความเสียหายได้เช่นกันครับ

สุดท้ายนี้ในฤดูฝนแบบนี้ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพจากอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย รวมทั้งเมื่อเกิดฝนฟ้าคะนองก็ อย่าเผลอไปอยู่ในที่โล่งแจ้ง ไม่หลบฝนใต้ต้นไม้หรืออยู่ในที่เสี่ยงอื่น ๆ นะครับ เพราะปรากฏการณ์แบบนี้จะ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ทางที่ดีควรหลบฝนอยู่ในอาคารหรือบ้านของคุณเองก็จะปลอดภัยที่สุดนะครับ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจากสวทช. https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/5110-thunderbolt1 ด้วยนะครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook