หัวเว่ย มุ่งมั่นเป็นพาร์ทเนอร์ที่ได้รับความไว้วางใจ เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย
หัวเว่ยจัดงาน HUAWEI CONNECT 2021 – ASIA PACIFIC ในหัวข้อ “ดำดิ่งสู่ยุคดิจิทัลแห่งเอเชียแปซิฟิก” ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ครั้งแรกของอุตสาหกรรมไอซีทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อค้นหาวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับสถานการณ์ทางธุรกิจและความเชี่ยวชาญเชิงอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายเชิงธุรกิจที่สำคัญ และวิธีที่ผู้มีส่วนร่วมในแต่ละภาคส่วนจะร่วมมือกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อบ่มเพาะให้เกิดอีโคซิสเต็มของอุตสาหกรรมให้เปิดกว้าง ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จร่วมกันได้
ภายในงานประกอบด้วยช่วงกล่าวเปิดงานและสุนทรพจน์รวมสามช่วง โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรภาครัฐและเอกชนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 15 ท่านเข้าร่วม ไม่ว่าจะเป็น ซันซีป กรุ๊ป (Sunseap Group), ธนาคารกสิกรไทย (KBank), มหาวิทยาลัยมาลายา (University of Malaya), ธนาคารยูเนี่ยน (Union Bank), โตโยต้า แอสตร้า (Toyota Astra), ธนาคารเซ็นทรัล เอเชีย (Bank Central Asia หรือ BCA), UCARS ตลาดออนไลน์รถยนต์ที่มีการเติบโตเร็วที่สุดในสิงคโปร์ และแขกจากภาครัฐอื่น ๆ ที่ได้ร่วมแบ่งปันวิสัยทัศน์และประสบการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลในภูมิภาคนี้
คุณเจฟฟรีย์ หลิว ประธานหัวเว่ยประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงเชิงดิจิทัลเข้าใกล้สู่ความจริงและกลายมาเป็นภารกิจเร่งด่วนยิ่งกว่าเคย หัวเว่ยจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไอซีทีอันล้ำสมัย ในการช่วยลูกค้าเร่งขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล โดยจะเน้นความสำคัญไปที่สี่ด้านหลักคือ การให้บริการคลาวด์ การพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่มีนวัตกรรมและการสร้างอีโคซิสเต็มระหว่างพาร์ทเนอร์และการฝึกฝนทักษะด้านดิจิทัลให้แก่บุคลากร หัวเว่ยจึงมีความมุ่งมั่นในการเป็นพาร์ทเนอร์ที่ได้รับความไว้วางใจด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของภูมิภาค”
คุณเจฟฟรีย์ยังกล่าวเสริมอีกว่า “ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ย คลาวด์ดำเนินงานอยู่ในพื้นที่ 7 แห่ง และมีทีมบริการในพื้นที่ในกว่า 10 ประเทศ โดยหัวเว่ยได้ผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและอิเล็กทรอนิคส์เพื่อพัฒนาให้เกิดบริการด้านพลังงานดิจิทัลที่มีนวัตกรรม ด้วยการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากโครงสร้างพื้นฐาน ไอซีทีผ่านการใช้ประโยชน์จากการผลิตพลังงานสะอาด การขนส่งพลังงานไฟฟ้า และการกักเก็บพลังงานอย่างชาญฉลาด เพื่อช่วยสนับสนุนลูกค้าของเราในการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ซึ่งในทุกๆ ปี หัวเว่ยลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นสัดส่วนถึง 10% จากรายได้ในแต่ละปี เพื่อส่งต่อคุณค่าให้กับภาคอุตสาหกรรมและสังคมผ่านนวัตกรรมต่าง ๆ และช่วยเหลือลูกค้าให้ก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชันนวัตกรรมที่ไว้วางใจได้ โดยภายในห้าปีนี้ เราคาดว่าจะสามารถฝึกอบรมทักษะให้กับผู้มีอาชีพด้านไอซีทีในภูมิภาคเอเชียแฟซิฟิกได้กว่า 100,000 คน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเสริมความสามารถด้านแรงงานสำหรับขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล”
ทั้งนี้ ในระหว่างการแบ่งปันความคิดเห็นในหมู่ผู้นำทางด้านดิจิทัล ศาสตราจารย์อเล็กซ์ เซี่ยว จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ได้แสดงความเห็นถึงแนวทางที่เทคโนโลยีดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายภาคอุตสาหกรรม รวมถึงแนวทางที่เทคโนโลยีเหล่านี้จะค่อย ๆ วิวัฒนาการไปพร้อมกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ว่า “ความเป็นผู้นำทางด้านดิจิทัลคือ การใช้ทรัพยากรทางดิจิทัลของบริษัทอย่างมีกลยุทธ์ เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จของเป้าหมายทางธุรกิจ
โดยกลุ่มผู้นำทางดิจิทัลกลุ่มนี้จะศึกษาถึงการนำเทคโนโลยีไปใช้เพื่อสนับสนุนธุรกิจของพวกเขา เพื่อหาแนวทางให้ธุรกิจเหล่านั้นตอบรับความต้องการของลูกค้าและความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กลุ่มผู้นำทางดิจิทัลเหล่านี้จำเป็นต้องก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและช่วยให้ลูกค้าพัฒนาศักยภาพด้านดิจิทัลและด้านความคล่องตัว เพื่อเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว”
ภายในการเสวนา คุณนิโคลัส หม่า ประธานกลุ่มธุรกิจหัวเว่ยเอเชีย แปซิฟิก เอนเตอร์ไพรส์ ชี้ว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลไม่ใช่กลยุทธ์สำเร็จรูปที่จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ทันที โดยการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลนั้นมีสองประเด็นสำคัญ ได้แก่ องค์กรและเทคโนโลยี โดยระหว่างการเดินทางของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลนี้ หัวเว่ยจะยังคงลงทุนสนับสนุนการบ่มเพาะทักษะทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่องและจะทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์อย่างใกล้ชิด เพื่อพัฒนาโซลูชันที่เหมาะสำหรับแต่ละสถานการณ์ให้มีจำนวนมากยิ่งขึ้น และเพื่อการรับมือกับปัญหาด้านทักษะและพัฒนาความคล่องตัวขององค์กร
คุณนิโคลัส หม่า ยังกล่าวเสริมว่า “ในขณะที่เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างคลาวด์และ AI ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ไม่ถูกจำกัดอยู่แค่ในออฟฟิศเท่านั้น แต่ยังแพร่หลายไปสู่ระบบการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะทั้งปรับเปลี่ยนและส่งเสริมศักยภาพการผลิต เราร่วมมือกับกลุ่มพาร์ทเนอร์เพื่อเฟ้นหาวิธีการนำเทคโนโลยีและโซลูชันชั้นนำของเราไปใช้อย่างพิถีพิถันมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อสร้างความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้าของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความท้าทายที่พวกเขากำลังเผชิญ พร้อมพัฒนาโซลูชันที่ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อสนับสนุนพวกเขาโดยเฉพาะ เราจึงสร้างศูนย์ OpenLabs กว่า 13 แห่งทั่วโลก เพื่อสนับสนุนการพัฒนาร่วมนี้ และสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เราได้เปิดศูนย์ OpenLabs นี้ในประเทศสิงคโปร์และในประเทศไทย”
นอกจากนี้ คุณแบรนดอน วู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีกลุ่มธุรกิจหัวเว่ยเอเชีย แปซิฟิก เอนเตอร์ไพรส์ ยังได้เปิดเผยนวัตกรรมล่าสุดที่หัวเว่ยจะนำมาเผยโฉมสู่ตลาด ดังนี้
โซลูชัน Huawei OptiXsense โซลูชันที่สามารถตรวจจับถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมรอบวัตถุต่าง ๆ เพื่อลดการเกิดสัญญาณเตือนที่ผิดพลาด
ออฟฟิศดิจิทัล ที่ปฏิบัติการโดยเทคโนโลยีอัจฉริยะ “Office Twins” ซึ่งเป็นการผสมเทคโนโลยี Wi-Fi 6e AP และ Huawei IdeaHub โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะสรรค์สร้างสุดยอดประสบการณ์สำหรับห้องประชุมและการทำงานในออฟฟิศด้วยความเร็วระดับกิกะบิตและการทำงานประสานกันอย่างสมบูรณ์แบบ
โซลูชันเครือข่าย IP เชิงกำหนดตัวแรกของอุตสาหกรรม
เครือข่ายการส่งข้อมูลทางออพติคัล (Optical Transmission Network – OTN) แบบผสมผสาน
โซลูชัน OceanStore Pacific โซลูชันสำหรับการจัดเก็บข้อมูลตัวแรกของอุตสาหกรรม เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยประสิทธิภาพระดับสูง (High Performance Data Analytics – HPDA) โดยโซลูชันนี้จะเปลี่ยนแปลงการประมวลผลข้อมูลระหว่างบิ๊ก ดาต้า AI ระบบการประมวลผลศักยภาพสูง รวมถึงรวบรวมศักยภาพด้านการจัดเก็บข้อมูลหลากหลายรูปแบบให้รวมกันในอุปกรณ์ชิ้นเดียว