เลือกซื้อการ์ดSD และ microSD ให้เหมาะกับการใช้งาน และงบไม่บานปลาย

เลือกซื้อการ์ดSD และ microSD ให้เหมาะกับการใช้งาน และงบไม่บานปลาย

เลือกซื้อการ์ดSD และ microSD ให้เหมาะกับการใช้งาน และงบไม่บานปลาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากคุณเคยเดินเข้าไปร้านค้าขายสินค้า IT Gadget มักจะมีแผงวางขายหน่วยความจุแบบต่างๆ ทั้ง Flash Drive แต่อีกแบบที่เป็นแผ่นบางๆ เล็กๆ แต่ว่ามีพื้นที่จัดเก็บมากพอสมควรอย่าง SD Card หรือ MicroSD ก็ตาม คำถามที่ตามมาคือ มันมีวิธีที่เลือกให้เหมาะสมการใช้งานของเรามากน้อยแค่ไหน วันนี้ Sanook Hitech มีคำตอบให้คุณครับ

รู้จักความเร็วในการอ่าน / เขียนก่อน

ktc-articles-solutions-person

สิ่งแรกที่การ์ดความจำเหล่านี้มักจะระบุไว้นั่นคือ ความเร็วในการอ่าน โดยข้อนี้คนมักจะสับสนระหว่างหน่วยที่มีชื่อว่า MB/s และ Mb/s โดยต้องแยกออกก่อนเป็นดังนี้

MB/s = เมกะไบต์ต่อวินาที คือการถ่ายโอนข้อมูลที่มีขนาด 1 เมกะไบต์ ต่อวินาที โดยมักจะเป็นการใช้รูปแบบ File แต่ต้องบอกก่อนว่าหน่วยของไบต์ = 8 บิต เมื่อพิจารณาไปแล้วผู้ผลิตกล้องหรืออุปกรณ์ต่างๆ มักจะให้ความสำคัญกับหน่วยที่เราจพูดต่อไปนี้มากกว่า

Mb/s = เมกะบิตต่อวินาที จะเป็นการระบุความเร็วต่อบิตว่า 1 วินาที สามารถรับส่ง Files ได้เท่าไหร่ หากคิดกันง่ายๆ แล้ว เช่นคุณซื้อกล้องแบบ Full Frame ที่มีการเก็บพื้นที่ขนาดใหญ่เช่นการถ่ายวิดีโอ 4K ที่ต้องใช้ความเร็วรับส่งข้อมูล 600Mb/s ถ้าคุต้องการซื้อการ์ดความจำ จำเป็นต้องให้ได้ความต่อเนื่องที่เขียน 600MB/s ต่อวินาที นั่นเอง

รูปแบบของความเร็วที่ระบุบนการ์ด

1478_210112120133i5_67

นอกจากหน่วยการอ่านและเขียนแล้วเรื่องความเร็วก็มีผลต่อการเลือกการ์ดเช่นเดียวกัน ในการ์ดแต่ละแบบก็มีการระบุที่แตกต่างกันแต่มักจะรวมกันคือ

Class สังเกตได้จากตัวเลขที่เป็นวงกลม คือการระบุ Class ความเร็วที่ตั้งแต่ 2 จนถึง 10 แต่ว่าทุกวันนี้จะเห็นเป็นตัวเลข 10 กันหมดแล้ว

U ที่อยู่ข้างหน้าคอ UHS หรือ Ultra High Speed คือการ์ดนี้สามารถเขียนได้ความเร็วเท่าไหร่ โดยมากแล้วการ์ดความจำมักจะให้มาตรฐานแค่ U1 ความเร็ว 10MB/s และ U3 ความเร็วจะเป็น 30MB/s ขึ้นไป

1478_2101121201328n_67

V ย่อมาจาก Video High Speed Class จะทำให้การ์ดนี้สามารถรองรับการถ่ายวิดีโอ แบบไหนซึ่งม่ตั้งแต่ V6 ไปจนถึง V90 ที่ทำความเร็วสูงสุด 90MB/s และจะมาพร้อมกับขนาด 64GB ขึ้นไป

และ I ที่อยู่ข้างๆ microSD XC หรือ HC เป็นการระบุรูปแบบของ Bus Interface เท่านั้นเอง

ทั้งหมดที่กล่าวมาคือรายละเอียดที่เห็นได้ในการ์ดแต่ว่ารูปแบบไหนที่สามารถเลือกให้เหมาะสมกับงาน เราได้แบ่งออกมาเป็นรูปแบบนี้ดังนี้

  • การ์ดสำหรับกล้องถ่ายภาพ โดยปัจจุบันสามารถถ่ายวิดีโอได้ด้วย นอกจากความจุแล้วต้องเอาการ์ดที่เขียนได้รวดเร็วสักหน่อยถ้ามีความเร็วอยู่ระหว่าง 70 - 100 MB/s ขึ้นไป
  • การ์ดสำหรับมือถือ สำหรับมือถือ จะต้องดูว่าเป็นรุ่นไหนที่เหมาะสม เช่นถ้าคุณซื้อ Sandisk MicroSD สีขาว ถ้าใช้กับมือถือระดับกลางหรือ เริ่มต้นสามารถทำได้เพราะไม่ได้มีการถ่ายวิดีโอ 4K แต่จะไม่รองรับกับเครื่องที่เขียนวิดีโอ 4K
  • การ์ดสำหรับกล้องวงจรปิด จะมีการ์ดรูปแบบหนึ่งที่เน้นเรื่องความทนทานสูง โดยมักจะมีราคาสูงกว่าเพื่อน

ระวังการ์ดปลอมนะครับ

1478_2101121209514p_67

สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังอย่างมากเลยคือการ์ดแบบ MicroSD ปลอมนั่นเอง นอกจากราคาของการ์ดที่ออกมาดูราคาถูกเกินไปก็อาจจะเป็นของปลอมได้โดยมักจะพบเห็นทางออนไลน์ และรวมถึง การ์ดที่ไม่มียี่ห้อแบบนี้ด้วยเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตามการ์ด SD Card และ MicroSD ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องทำความรู้จักและเลือกให้เหมาะสมกับกับอุปกรณ์ของคุณ ใช่ว่าเลือกแบบแพงแค่ไหน อาจจะไม่เหมาะกับคุณ เสมอไป หรือเลือกถูกเกินไปก็อาจจะไม่สามารถทำความสามารถอื่นๆ ได้ตามเรื่องที่ต้องการ ดังนี้ต้องดูให้ดีครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook