การเปลี่ยนอุปกรณ์ Huawei และ ZTE ในสหรัฐฯ งบบาน 1.8 แสนล้านบาท

การเปลี่ยนอุปกรณ์ Huawei และ ZTE ในสหรัฐฯ งบบาน 1.8 แสนล้านบาท

การเปลี่ยนอุปกรณ์ Huawei และ ZTE ในสหรัฐฯ งบบาน 1.8 แสนล้านบาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เจสสิก้า โรเซนวอร์เซล (Jessica Rosenworcel) ประธาน กสทช. สหรัฐฯ (FCC) เผยว่าผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมสหรัฐฯ ได้ยื่นเรื่องขอคืนเงินในการถอดอุปกรณ์ Huawei และ ZTE ของจีนออกจากเครือข่ายไร้สายของสหรัฐฯ ผ่านโครงการ “rip and replace” ถอดและแทนที่อุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อภัยความมั่นคงด้วยยอดเงินประมาณ 5,600 ล้านเหรียญ (1.84 ล้านล้านบาท) มากกว่างบที่จัดสรรไว้ที่ 1,900 ล้านเหรียญ (62,628 ล้านบาท)

พฤศจิกายน 2019 กสทช. สหรัฐฯ ได้ลงมติกำหนดให้ Huawei และ ZTE ของจีนอยู่ในรายชื่ออุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงของชาติโดยห้ามผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมในชนบทของสหรัฐฯ ใช้เงินในกองทุน Universal Service Fund มูลค่า 8,500 ล้านเหรียญ (279,191 ล้านบาท) เพื่อซื้ออุปกรณ์หรือบริการของบริษัทที่อยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าว

มีนาคม 2020 ประธานาธิบดีทรัมป์ได้ลงนามในกฎหมายเครือข่ายการสื่อสารที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ (the Secure and Trusted Communications Networks Act of 2019) เพื่อให้บริษัทเครือข่ายโทรคมนาคมของสหรัฐฯ ถอดอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ออกและแทนที่ด้วยทางเลือกที่ปลอดภัย (มาตรการ Rip and Replace) ซึ่งจะมีผลต่ออุปกรณ์ที่อยู่ในบัญชีดำอย่าง Huawei และ ZTE

นอกจากนี้ กสทช. สหรัฐฯ ได้จัดตั้งโครงการให้เงินชดเชยแก่บริษัทเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นค่าใช้จ่ายในการถอดและเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อภัยความมั่นคงด้วยงบมูลค่า 1,800 ล้านเหรียญ (59,256 ล้านบาท) ต่อมาได้ปรับเพิ่มเป็น 1,900 ล้านเหรียญ (62,567 ล้านบาท)

ล่าสุดบริษัทเครือข่ายโทรคมนาคมได้ยื่นลงทะเบียนขอเงินจากกองทุนของโครงการแล้ว 181 ราย ซึ่งพึ่งปิดลงทะเบียนไปเมื่อ 28 มกราคม 2022 และยอดเงินที่ขอชดเชยมีมากกว่างบที่จัดสรรไว้ดังที่กล่าวไว้ โรเซนวอร์เซลกล่าวย้ำว่าจะเสนอต่อสภาฯ เพื่อขออนุมัติเงินทุนให้เพียงพอสำหรับเครือข่าย 5G ที่ปลอดภัยต่อไป

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook