แก๊งติดอาวุธเฮติผันตัวเป็นดาวโซเชียลมีเดียข่มขวัญประชาชน

แก๊งติดอาวุธเฮติผันตัวเป็นดาวโซเชียลมีเดียข่มขวัญประชาชน

แก๊งติดอาวุธเฮติผันตัวเป็นดาวโซเชียลมีเดียข่มขวัญประชาชน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แก๊งติดอาวุธในเฮติใช้โซเชียลมีเดียเพื่อขยายอิทธิพลในประเทศ โพสต์ของกลุ่มมักจะมุ่งไปที่การสร้างขวัญกำลังใจให้กับสมาชิกใหม่ ยั่วยุเจ้าหน้าที่ของรัฐและสื่อมวลขน รวมถึงข่มขวัญศัตรูและประชาชน ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐประสบความยากลำบากในการควบคุม

ในห้วงหลายเดือนที่ผ่านมา ความขัดแย้งระหว่างแก๊งติดอาวุธในกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของเฮติ ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ สมาชิกของแต่ละแก๊งมักจะใช้โซเชียลมีเดียในการโปรโมตตัวเอง เผยแพร่แนวคิด แสดงกำลัง ลดทอนความชอบธรรมของรัฐ และรับสมาชิกใหม่ ในบางกรณีมีการใช้แพลตฟอร์มอย่าง WhatsApp ในการเผยแพร่ภาพของศพที่สังหารได้

อิโซ (Izo) แร็ปเปอร์มือสมัครเล่นและสมาชิกของหนึ่งในแก๊งติดอาวุธหัวรุนแรงของเฮติใช้ TikTok และ Instagram สื่อสารไปยังสมาชิกและผู้ติดตามของแก๊งอย่าง “พวกเอ็งไม่ต้องรอคำสั่งของข้าหรอก” โดยเขาจะเลี่ยงไม่แสดงอาวุธ เพื่อไม่ให้ถูกแบน

อิโซมีผู้ติดตามบน TikTok และ Instagram เป็นจำนวนหลายหมื่นคน

เช่นเดียวกับ จิมมี่ เชริซิเยร์ (Jimmy Cherizier) อดีตนายตำรวจที่ผันตัวมาเป็นอาชญากรรายสำคัญ ได้ใช้ YouTube ในการประกาศการรวมแก๊งคู่อริมาเป็นแก๊งใหม่ในชื่อ G9 Family และพันธมิตร อีกทั้งยังได้ใช้ Twitter สั่งให้ผู้สนับสนุนเข้าไป ‘ปล้นสะดมทุกอย่าง’ ด้วย

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเคยประกาศคว่ำบาตรเชริซิเยต์ด้วยข้อหาว่าเป็นผู้วางแผนการใช้ความรุนแรงในย่านหนึ่งของกรุงปอร์โตแปรงซ์ ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตและบ้านเรือนถูกเผา

สมาชิกของแก๊งเหล่านี้อาจอวดไลฟ์สไตล์ด้วยการโพสต์รูปเงินสด นาฬิกาหรู หรือสร้อยทองคำ เพื่อเชิญชวนให้ชาวเฮติ ซึ่งส่วนใหญ่ยากจน ให้เข้ามาร่วมแก๊ง

“โซเชียลมีเดียเป็นสาเหตุของสภาวะความไม่มั่นคงที่เกิดขึ้นในประเทศนี้” เจมส์ โบยาร์ด (James Boyard) นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรัฐเฮติ (State University of Haiti) ระบุ

ในเดือนตุลาคม ฟรานต์ซ จุสต์ (Frantz Juste) อัยการสูงสุดของกรุงปอร์โตแปรงซ์ในขณะนั้นเคยมีจดหมายไปยังผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียหลายเจ้าให้บล็อกหรือลบบัญชีของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแก๊งอาชญากรเหล่านี้ รวมถึง จิมมี่ เชริซิเยร์ (Jimmy Cherizier) อดีตตำรวจที่ผันตัวไปเป็นอาชญากรระดับแนวหน้าของเฮติ แต่จดหมายของจุสต์ไปเคยถูกส่งไปยังบริษัทเหล่านี้

สำหรับผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียเจ้าหลักอย่าง TikTok, Twitter, YouTube และ Meta (เจ้าของ Facebook, WhatsApp และ Instagram) มีกฎชัดเจนว่าห้ามใช้แพลตฟอร์มของตนในการส่งเสริมความรุนแรง

TikTok มีกฎที่ห้ามไม่ให้องค์กรก่อการร้ายและองค์กรอาชญากรรมใช้แอปของบริษัท ก่อนหน้านี้ก็ได้เคยลบบัญชีของอิโซไปแล้ว

สำหรับ Twitter ระบุว่ากำลังพิจารณาบัญชีและทวีตที่ละเมิดกฎอยู่ โดยเคยได้รับคำร้องขอให้ลบเนื้อหาจากทางเฮติมาตั้งแต่ปี 2016

ในส่วนของ Meta ก็ได้ทำการลบคลิปที่อยู่ในแพลตฟอร์มภายใต้การดูแล อย่างคลิปอิโซขู่จะสังหารคน 30 คน แต่ไม่ได้มีการลบบัญชีแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี สำนักข่าว The Washington Post อ้างว่าการดำเนินการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ทางสำนักข่าวสอบถามเข้าไป

ทั้งนี้ สมาชิกแก๊งติดอาวุธบางส่วนมีลูกเล่นมากมายเพื่อหลบเลี่ยงมาตรการของผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียเหล่านี้ อย่างอิโซใช้ Instagram ในการเผยแพร่เนื้อหาที่ TikTok ลบไป หรือการที่สร้างบัญชีใหม่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้สำรอง หรือใช้แทนบัญชีที่ถูกลบไป

“โจรเฮติเหล่านี้จะไม่มีทางทรงพลังขนาดนี้หากไม่มีโซเชียลมีเดีย แม้ว่าในเฮติจะมีโจรมาโดยตลอด แต่ถ้าไม่มี [โซเชียลมีเดีย] พวกมันก็ไม่มีทางโด่งดังได้ขนาดนี้” อีวงส์ รัมโบลด์ (Yvens Rumbold) แห่ง Policité สถาบันคลังสมองด้านนโยบายระบุ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook