เวอร์ทีฟเผยอัตราการใช้พลังงานและประสิทธิภาพพุ่งทะลุขีดจำกัดในอุตสาหกรรมดาต้า
เวอร์ทีฟ ผู้ให้บริการระดับโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่สำคัญและโซลูชันด้านความต่อเนื่อง ได้ให้ความเห็นเอาไว้เกี่ยวกับผลกระทบของดาต้า เซ็นเตอร์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่วงการอุตสาหกรรมกำลังให้ความสนใจกันอย่างมาก
Giordano Albertazzi ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและประธานเวอร์ทีฟแห่งสหรัฐอเมริกากล่าวว่า “อุตสาหกรรมดาต้า เซ็นเตอร์กำลังเติบโตอย่างฉับพลัน เนื่องจากแอปพลิเคชันจำนวนมหาศาลต้องการการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูล โดยต้องเร่งใช้พลังงานและน้ำในดาต้า เซ็นเตอร์ปริมาณมากกว่าเดิม ภาคอุตสาหกรรมต่างเข้าใจดีว่าการใช้พลังงานและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ
และทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในอนาคต ดังนั้นการมีกฎระเบียบเพิ่มขึ้นจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมอันสำคัญทั่วทั้งอุตสาหกรรม กระบวนการนี้อาจไม่ใช่เรื่องง่ายหรือทำควบคู่กันไปได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากพันธมิตรที่ให้บริการดาต้า เซ็นเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญ
ความก้าวหน้าในการออกแบบและการผลิตชิปที่ช่วยจำกัดการใช้พลังงานของเซิร์ฟเวอร์ในทศวรรษแรกของยุคมิลเลนเนียม จนมาถึงราวช่วง 5 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนามาถึงขีดจำกัดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประกอบกับมีปริมาณการใช้พลังงานของเซิร์ฟเวอร์ที่พุ่งสูงขึ้น
ในรายงานล่าสุด Silicon heatwave: The looming change in data center climates ของสถาบัน Uptime Institute ได้อ้างถึงข้อมูลจาก Standard Performance Evaluation Corporation (SPEC) โดยระบุว่าการใช้พลังงานของเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้นสูงถึง 266% ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา การใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคนิคและแรงขับทางการตลาดหลากรูปแบบที่ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจต้องตระหนักรู้ถึงประเด็นความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
ดาต้า เซ็นเตอร์กำลังเผชิญกับกฎระเบียบที่เพิ่มมากขึ้น
แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในด้านพลังงานและน้ำกำลังบีบบังคับให้ทางการต้องพิจารณาเรื่องการใช้ดาต้า เซ็นเตอร์ให้ละเอียดยิ่งขึ้น และการใช้ทรัพยากรในปริมาณที่มากเกินปกติ มีการคาดการณ์ว่าดาต้า เซ็นเตอร์จะใช้ไฟฟ้าสูงถึง 3% ของการใช้ไฟฟ้าทั่วโลกในปัจจุบัน และคาดว่าจะแตะ 4% ภายในปี 2573
บางเมืองก็ได้ใช้มาตรการบางอย่างไปบ้างแล้ว ดังเช่นที่ดับลิน ไอร์แลนด์ และสิงคโปร์ได้เริ่มใช้มาตรการควบคุมการใช้พลังงาน นอกจากนี้ ยังมีประเด็นการใช้น้ำปริมาณมหาศาลของดาต้า เซ็นเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดภัยแล้ง อาจทำให้เกิดการดำเนินการตรวจสอบจากทางรัฐในรูปแบบเดียวกัน
ไฮเปอร์สเกลและธุรกิจอื่นๆ กำลังมองหาสิ่งสำเร็จรูป
จากการสำรวจของ Omdia เมื่อเร็วๆ นี้ 99% ของผู้ให้บริการดาต้า เซ็นเตอร์สำหรับองค์กรกล่าวว่าการออกแบบดาต้า เซ็นเตอร์สำเร็จรูปแบบแยกส่วนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์สำหรับดาต้า เซ็นเตอร์ในอนาคต ซึ่งเป็นมากกว่าแค่เทรนด์และจะกลายเป็นสิ่งที่เป็นนิวนอมัลในอนาคต ผู้เชี่ยวชาญของเวอร์ทีฟคาดว่าในปีพ.ศ. 2566 จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันในกลุ่มธุรกิจไฮเปอร์สเกลอย่างต่อเนื่อง
นับเป็นแนวคิดใหม่ยิ่งกว่าสำหรับผู้ให้บริการระบบคลาวด์ชั้นนำของโลกซึ่งกำลังหันไปหาผู้ให้บริการโคโลเคชันที่กำลังสร้างมาตรฐานมานานนับปีเพื่อทำให้แนวคิดเป็นจริง ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ได้จ้างให้ผู้บริการโคโลเคชันเป็นผู้ดูแลโครงสร้างใหม่ๆ เพื่อยกระดับความเชี่ยวชาญในตลาด ความสามารถในการทำซ้ำที่พิสูจน์ได้ และความเร็วในการประยุกต์ใช้
คู่แข่งตัวจริงของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลเป็นอุปกรณ์ที่ไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็หลีกเลี่ยงที่จะใช้ในระบบนิเวศของดาต้า เซ็นเตอร์ไม่ได้ และยังเก็บพลังงานไว้ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ อีกทั้งยังต้องบำรุงรักษาและต้องเปลี่ยนเชื้อเพลิงหลังจากไม่มีการใช้งานเป็นระยะเวลาหนึ่ง และเมื่อนำไปใช้งาน บางองค์กรจึงหันไปใช้แบตเตอรี่เพื่อรองรับการโหลดที่ยาวนานขึ้น ในบางกรณีอาจนานถึงห้านาที หรือไม่ก็ออกแบบดาต้า เซ็นเตอร์ที่มาพร้อมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีความจุน้อยที่สุดอีกด้วย
ผู้เชี่ยวชาญของเวอร์ทีฟคาดว่าในปีพ.ศ. 2566 จะมีทางเลือกอื่นที่น่าสนใจกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในตอนแรก โดยให้การสนับสนุนโหลดได้ช่วงขณะหนึ่ง
ความจุสูงขึ้นยังส่งผลต่อกลยุทธ์ด้านความร้อน
ก่อนหน้านี้หลายปี ความหนาแน่นของแร็คค่อนข้างคงที่ แต่ ณ ขณะนี้ผู้ให้บริการดาต้า เซ็นเตอร์จำนวนมากขึ้นต่างต้องการแร็คที่มีความหนาแน่นสูงขึ้น จากการสำรวจ Global Data Center ปี 2565 ของ Uptime Institute พบว่าผู้ให้บริการดาต้า เซ็นเตอร์จำนวนมากกว่าหนึ่งในสามกล่าวว่าแร็คมีความหนาแน่นขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสามปีที่ผ่านมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่และดาต้า เซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกล ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งของอุปกรณ์ที่ใช้ปฏิบัติงานขนาด 10MW ขึ้นไปใช้แร็คขนาดสูงกว่า 20kW รวมถึงอีก 20% อ้างว่าใช้แร็คขนาดสูงกว่า 40kW
5G ผสานรวม Metaverse ด้วยเอดจ์
จากการคาดการ์ณของ Omdia ใน 2565 Mobile Subscription and Revenue Forecast ระบุว่าจำนวนผู้ใช้บริการมือถือจำนวนเกือบครึ่งหรือมากกว่า 5.8 พันล้านรายจะใช้บริการ 5G ภายในปี 2570 จะทำให้เทคโนโลยีคอมพิวติ้งยิ่งเข้าใกล้ผู้ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ โดย Metaverse เป็นแอปพลิเคชันที่ต้องใช้เครือข่ายคอมพิวติ้งที่มีความหนาแน่นสูงเป็นพิเศษและมีความหน่วงต่ำ
ในปี 2566 เราจะได้เห็นทั้งสองอย่างนี้ทำงานร่วมกัน โดยการใช้งาน Metaverse จะใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 5G เพื่อให้สามารถใช้คุณสมบัติที่มีความหน่วงต่ำเป็นพิเศษตามที่แอปพลิเคชันต้องการใช้ ท้ายที่สุดก็ต้องใช้คอมพิวติ้งพลังแรงมากกว่าเดิมในพื้นที่ที่ใช้เอดจ์ 5G และเราจะได้เห็นว่ามันจะเกิดขึ้นในไม่ช้า