Binance เปิดตัว Proof of Reserves เพื่อเพิ่มความโปร่งใส ของสินทรัพย์ผู้ใช้งานบน platform

Binance เปิดตัว Proof of Reserves เพื่อเพิ่มความโปร่งใส ของสินทรัพย์ผู้ใช้งานบน platform

Binance เปิดตัว Proof of Reserves เพื่อเพิ่มความโปร่งใส ของสินทรัพย์ผู้ใช้งานบน platform
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Binance (ไบแนนซ์) สานต่อความมุ่งมั่นในการแสดงความโปร่งใสด้านเงินทุนของผู้ใช้งาน ภายหลัง การเปิดเผยข้อมูล hot และ cold wallet ของ Binance โดยการอัปเดตล่าสุดนี้ ได้แสดงถึงกลไกพิสูจน์เงินทุนสำรอง (Proof of Reserves) สำหรับบิทคอยน์ (BTC) รวมถึงอัปเดตเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของ Merkle Tree เพื่อการตรวจสอบบริษัทบริหารสินทรัพย์ BTC โดยผู้ใช้งาน

ซึ่งฟีเจอร์นี้ถือเป็นเวอร์ชันแรก โดยในเร็วๆ นี้ ผู้ใช้สามารถดำเนินการตรวจสอบเพื่อรับรองยอดจัดเก็บเหรียญอื่นๆ ทั้ง ETH, USDT, USDC, BUSD รวมถึง BNB นอกจากนี้ ทาง Binance ยังเดินหน้าเตรียมความพร้อมให้กับผู้ตรวจสอบอิสระภายนอกในการทำงานร่วมกับบริษัทฯ เพื่อช่วยยืนยันความถูกต้องของข้อมูลบนโครงสร้าง Merkle Tree อีกด้วย

istock-1354815318

นายฉางเผิง จ้าว หรือ CZ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Binance กล่าวว่า “เหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดขึ้น ทำให้ชุมชนการลงทุนต้องการบริการและการดูแลที่มากขึ้นจากแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโต ซึ่งมากกว่าความต้องการจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมเสียอีก

ด้วยเหตุนี้เราจึงมีความยินดีที่จะนำเสนอฟีเจอร์ล่าสุดเพื่อให้ทุกคนสามารถตรวจสอบเงินทุนของตนเองได้ และเนื่องจากชุมชนผู้ใช้งานของ Binance กำลังจะมีขนาดที่ใหญ่กว่าแพลตฟอร์มที่อยู่ในลำดับถัดไปแบบเท่าตัว ทำให้การปฏิบัติงานของเราถือเป็นความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ และจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ในการพัฒนาข้อมูลเพื่อบริหารสินทรัพย์ที่อยู่ในความดูแลของเรา โดยเราจะเร่งทำการอัปเดตข้อมูลครั้งต่อไปให้เร็วที่สุดเพื่อตอบสนองความคาดหวังของชุมชนได้อย่างทันท่วงที”

กลไกพิสูจน์เงินทุนสำรอง (Proof of Reserves)

เว็บไซต์ (site) Proof of Reserves ถูกออกแบบมาเพื่อแสดงให้เห็นว่า Binance ในฐานะผู้ดูแล (custodian) มีการถือสินทรัพย์ของลูกค้าเต็มจํานวนพร้อมด้วยเงินทุนสํารอง หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือ เมื่อผู้ใช้งานฝาก 1 Bitcoin เงินทุนสำรองจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 Bitcoin ตามไปด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าเงินทุนของลูกค้าได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่

ทั้งนี้ บุคคลทั่วไปจะสามารถตรวจสอบเว็บไซต์และดูหลักฐานการสํารองเงินทุนของ Binance ได้อย่างสะดวก โดยข้อมูลจะแสดงให้เห็นถึงอัตราส่วนเงินสำรองของ Binance ควบคู่ไปกับจำนวนสินทรัพย์ของลูกค้า

istock-1373024666(1)

การตรวจสอบสินทรัพย์ใน 2 วิธี

เว็บไซต์ดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมของตนได้อย่างง่ายดายใน 2 วิธี โดยวิธีแรก ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบสินทรัพย์ของตนเองได้ผ่านทางเว็บไซต์ Binance เพื่อดูข้อมูล BTC ของพวกเขาบนฐานข้อมูล Merkle Tree ของ Binance ได้ภายในไม่กี่ขั้นตอน

เริ่มต้นด้วยการเข้าสู่เว็บไซต์ Binance จากนั้นคลิกที่ “กระเป๋าเงิน” (wallet) ตามด้วย “การตรวจสอบ” (audit) หลังจากนั้น ระบบจะสร้างรหัสบันทึกเฉพาะที่ยืนยันว่าสินทรัพย์ของคุณได้รับการคุ้มครอง รวมถึงการยืนยันยอดคงเหลือของสินทรัพย์ดังกล่าว ณ เวลาที่ทําการตรวจสอบ

สําหรับผู้ใช้งานที่ต้องการตรวจสอบสินทรัพย์ที่ละเอียดไปอีกขั้น สามารถทำได้ด้วยการคัดลอก source code ลงใน python application และเชื่อมโยงการอ้างอิงได้ด้วยตนเอง

ก้าวต่อไปของ Binance

Binance กําลังพิจารณาเปิดตัว ZK-SNARKs ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า โดย ZK-SNARKs จะเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่เพิ่มคุณสมบัติในด้านความเป็นส่วนตัวและลดขั้นตอนที่ยุ่งยากของกลไกพิสูจน์เงินทุนสำรอง (Proof of Reserves) และสินทรัพย์ของผู้ใช้งาน เหตุผลที่ไบแนนซ์ต้องการเปิดตัวบริการนี้ มาจากการที่ Binance เป็นผู้ให้บริการการวางหลักประกัน (Margin) และสินเชื่อ (Loan) ในบางประเทศ ดังนั้นผลการตรวจสอบซึ่งแสดงยอดสุทธิในส่วนของผู้ถือหุ้นและหนี้สินของผู้ใช้งานแต่ละคน (Net Balance = Equity – Debt) จะทำให้ผู้ใช้งานบางคนมียอดคงเหลือติดลบในสินทรัพย์ของตนเอง ด้วยเหตุนี้ Binance จึงพยายามนํา ZK-SNARKs เข้ามาใช้เพื่อให้เป็นอีกวิธีหนึ่งสําหรับผู้ใช้งานในการพิสูจน์ว่ามีสินทรัพย์อื่นๆ เป็นหลักประกันเพียงพอที่จะคุ้มครองเงินทุนของพวกเขา โดยวิธีนี้จะช่วยพิสูจน์ว่ายอดสุทธิรวม (คิดเป็นสกุลเงิน USD) ของผู้ใช้งานแต่ละคนไม่ติดลบ

ยึดมั่นในสิ่งที่ตั้งใจ

การอัปเดตข้อมูลล่าสุดจาก Binance เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับทุกคนว่าเรามีการถือครองสินทรัพย์ของผู้ใช้งานในอัตราส่วน 1:1 (รวมถึงเงินทุนสํารอง) โดย Binance ยังคงเป็นบริษัทที่มีหนี้เป็นศูนย์ในโครงสร้างเงินทุน อีกทั้งยังมีกองทุนฉุกเฉิน (กองทุน emergency fund (SAFU fund)) เพื่อปกป้องผู้ใช้งานในกรณีเกิดเหตุสุดวิสัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook