การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ทรูมันนี่ พัฒนาการเดินทางสู่สังคมไร้เงินสด

การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ทรูมันนี่ พัฒนาการเดินทางสู่สังคมไร้เงินสด

การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ทรูมันนี่ พัฒนาการเดินทางสู่สังคมไร้เงินสด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมกับ ทรูมันนี่ พัฒนาการเดินทางสู่สังคมไร้เงินสด เพิ่มทางเลือกการซื้อตั๋วโดยสาร ผ่านการสแกนจ่ายด้วย ทรูมันนี่ วอลเล็ท ที่ช่องจำหน่ายตั๋วทุกสถานีรถไฟทั่วประเทศไทย มอบความสะดวก ง่าย และเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้บริการ พร้อมให้บริการแล้ววันนี้

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การนำระบบการชำระเงินด้วย ทรูมันนี่ วอลเล็ท  ผ่านเครื่องสแกนคิวอาร์โค้ด เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการรับชำระค่าตั๋วรถไฟ เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว และเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้ใช้บริการ รองรับสังคมไร้เงินสด โดยในช่วงที่ผ่านมา การรถไฟฯ ได้ร่วมกับ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ดำเนินการติดตั้งเครื่องรับบัตรอัตโนมัติ เพื่อรองรับการชำระค่าตั๋วโดยสารด้วยระบบ Mobile Payment นับว่าเป็นก้าวสำคัญของสังคมรถไฟยุคใหม่ ไม่ใช้เงินสด กับการรับชำระค่าตั๋วรถไฟโดยสแกนผ่านแอปพลิเคชัน       ทรูมันนี่ วอลเล็ท  บนสมาร์ทโฟน พร้อมใช้งาน 439 สถานี จำนวน 580 เครื่อง เช่น สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานีกรุงเทพ เชียงใหม่ อุบลราชธานี หนองคาย ชุมทางหาดใหญ่ ชุมพร เป็นต้น เพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนที่มาใช้บริการให้ครอบคลุมและทั่วถึง โดยผู้ใช้บริการสามารถดาวน์โหลดระบบการจ่ายค่าตั๋วรถไฟด้วย ทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้ทั้ง Play Store และ App Store รองรับการใช้งานได้ถึง 4 ภาษา ทั้ง ไทย  อังกฤษ พม่า และกัมพูชา พร้อมให้บริการแล้ววันนี้”

นางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด  กล่าวว่า “การร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ผู้ใช้ ทรูมันนี่ วอลเล็ท สามารถชำระค่าโดยสารในครั้งนี้ ถือเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มความรวดเร็วแก่ลูกค้าของทรูมันนี่ที่มีอยู่กว่า 26 ล้านคนทั่วประเทศไทย เพราะไม่ว่าจะเดินทางไกลหรือใกล้ก็ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด  อีกทั้งเป็นการเพิ่มทางเลือกใหม่ในการชำระค่าโดยสารให้แก่ผู้ใช้บริการของการรถไฟฯ และตอบรับกับกระแสสังคมไร้เงินสดที่กำลังเติบโตขึ้น พร้อมตอกย้ำความเป็นแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายของผู้บริโภคของทรูมันนี่ด้วย”

ที่ผ่านมา ทรูมันนี่ ได้ขยายบริการด้านการเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อมอบความสะดวกสบายและเปิดโอกาสให้คนไทยสามารถเข้าถึงนวัตกรรมทางการเงินที่สอดคล้องไปกับชีวิตประจำวัน รวมทั้งเรื่องของการเดินทาง โดยรองรับการชำระค่าเดินทางทั้งในส่วนการเติมเงินบัตร Easy Pass สำหรับผู้ที่ใช้รถยนต์ส่วนตัว รวมไปถึงระบบขนส่งสาธารณะด้วยการเติมเงินในบัตร MRT จนมาถึงการเปิดให้สแกนจ่ายเพื่อซื้อตั๋วรถไฟในครั้งนี้

ทั้งนี้ จากสถิติระบุว่า จำนวนผู้โดยสารของการรถไฟฯ ทั่วประเทศในช่วงต้นปีที่ผ่านมานั้นมีจำนวนเฉลี่ยราว 1.8 ล้านคนต่อเดือน หรือราว 60,000 คนต่อวัน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการกลับมาเดินทางด้วยระบบขนส่งทางรางเพื่อท่องเที่ยวอีกครั้งหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ดังนั้นการชำระเงินค่าโดยสารด้วย ทรูมันนี่ วอลเล็ท จึงเข้ามาตอบโจทย์ ลดความกังวลเรื่องสุขอนามัยจากการสัมผัส ทั้งยังมอบความสะดวกและรวดเร็วในการชำระเงินมากขึ้น

นายนิรุฒฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การรถไฟฯ มีโครงการระบบขนส่งทางรางที่จะแล้วเสร็จในอนาคต ทั้งรถไฟรางคู่ รวมไปถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นรถไฟที่มีความทันสมัยมากขึ้น ในปัจจุบันผู้โดยสารส่วนใหญ่ยังคงนิยมชำระค่าตั๋วรถไฟด้วยเงินสดกว่าร้อยละ 92  มีเพียง ร้อยละ 6 เท่านั้นที่ชำระด้วยบัตรเครดิต ดังนั้น รูปแบบของรถไฟที่ทันสมัยและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เริ่มคุ้นชินกับการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ด จึงมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะเป็นบริการที่ตอบรับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค สำหรับการเปิดให้บริการจ่ายค่าตั๋วรถไฟด้วย ทรูมันนี่ วอลเล็ท ซึ่งเป็นการเชื่อมต่ออีวอลเล็ทเข้ากับการซื้อตั๋วเดินทางในครั้งนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้คนไทยสามารถเข้าถึงการเดินทางได้สะดวกยิ่งขึ้น”

ผู้เดินทางสามารถซื้อตั๋วรถไฟโดยจ่ายด้วยแอปพลิเคชัน ทรูมันนี่ วอลเล็ท ณ เคาน์เตอร์การรถไฟแห่งประเทศไทยทั่วประเทศได้แล้ววันนี้ เพียงเปิดแอปและไปทื่เมนู “จ่ายเงิน” เพื่อเปิดคิวอาร์และบาร์โค้ดให้เจ้าหน้าที่สแกนเพื่อดำเนินการชำระเงิน

พิเศษ! รับเงินคืนทันที 30% สูงสุด 30 บาท* เมื่อซื้อตั๋วรถไฟที่เคาเตอร์จำหน่ายและจ่ายด้วยทรูมันนี่ วอลเล็ท ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 ธันวาคม ศกนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.truemoney.com/railway-ticket/ หรือเว็บไซต์ www.truemoney.com

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกับ ทรูมันนี่ พัฒนาการเดินทางสู่สังคมไร้เงินสด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook