6 สิ่งที่มือถือเรือธงรุ่นปัจจุบันถูก “ตัดออก” โดยผู้ผลิต จนผู้ใช้งาน “ไม่ปลื้ม”

6 สิ่งที่มือถือเรือธงรุ่นปัจจุบันถูก “ตัดออก” โดยผู้ผลิต จนผู้ใช้งาน “ไม่ปลื้ม”

6 สิ่งที่มือถือเรือธงรุ่นปัจจุบันถูก “ตัดออก” โดยผู้ผลิต จนผู้ใช้งาน “ไม่ปลื้ม”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตั้งแต่การเปิดตัว iPhone เมือปี 2007 นับเป็นช่วงที่เป็นการพัฒนาที่เร็วมากเพราะบริษัทต่างๆ ก็ทิ้งแนวคิดตัวเองไปและพยายามพิสูจน์ตัวเองออกมาว่าก็ทำได้เหมือนกัน และเมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยี, กลยุทธ์เริ่มซับซ้อน บางครั้งก็อาจจะนำพาให้สิ่งต่างๆ ที่ควรจะมีให้กับผู้บริโภค สุดท้ายต้อง หายออกไป

วันนี้ก็เลยพาคุณมาดูว่า 6 สิ่งทีมือถือหลายรุ่น โดยเฉพาะเรือธงนั้นตัดออกไป และกระทบกับคุณ จนใช้คำว่าหลายคน ไม่ปลื้ม มีอะไรบ้างมาดูกัน

ลาก่อนช่องเสียบหูฟัง

jack

จุดเริ่มต้นของการตัดนั้นคือ การตัดช่องเสียบหูฟังก่อน โดยการไม่มีช่องเสียบหูฟังในสมัยนั้นถือเป็นอุปสรรคใหญ่สำหรับคนที่ต้องหามือถือใหม่ เพราะหลายคนที่ชอบฟังเพลง ยังคงรักช่องเสียบหูฟัง

แม้ว่าความจริงจะยังแปลงช่องชาร์จไฟให้เป็นช่องเสียบหูฟังได้แต่มันก็ไม่สะดวก และมือถือบางรุ่นไม่สามารถเสียบไปและชาร์จแบตฯ หรือ 2 in 1 ก็จะมีขนาดใหญ่

ช่องเสียบหูฟังเริ่มหายไปตั้งตั้งแต่ iPhone 7 เพื่อเป็นการเปิดทางให้ AirPods ได้ลืมตาอ้าปากนั่นเอง (แต่ยังมี EarPods แบบสายขายจนถึงทุกวันนี้)

กล่องมือที่บางกับ Adapter ชาร์จไฟ ที่หายไป

adp

เรื่องต่อมาก็ยังคงเป็นการนำเทรนด์ตัดอุปกรณ์ชาร์จไฟ หรือ Adapter ออกจากกล่องมือถือ โดย Apple มีการเคลมว่า ที่ตัดออก เพราะบางคนมีแล้วไม่ต้องการใช้งาน และเป็นการสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น

แต่มันก็จะเต็มไปด้วยปัญหาทั้งหมด 4 ข้อที่เกิดขึ้นเช่น

  • อย่าเพิ่งเชื่อว่าที่ชาร์จในกล่องคือรุ่นดีที่สุด แต่จริงๆ แล้วที่ชาร์จในกล่องคืออุปกรณ์ที่คุณไว้ใจได้มากที่สุด 
  • มือถือปัจจุบันมักจะให้ระบบชาร์จไฟที่กำลังสูงเช่น 45W ถ้าคุณเลือกใช้ที่ชาร์จในกล่องอาจจะไม่ได้กำลังสูงสุด ตามที่เครื่องต้องการ
  • หากคุณอยากได้ที่ชาร์จที่เหมาะสมอันใหม่แต่การซื้อก็ต้องเข้าใจว่าคาร์บอนและขยะอาจจะมากขึ้น มากกว่าในกล่องที่เตรียมมาให้
  • หรือเวลาซื้อมือถือใหม่คุณอาจจะเลือกบริจาคหรือส่งต่อมือถือรุ่นเก่าพร้อมกับอุปกรณ์เสริมที่ให้มากับเครื่องก็อาจจะดูรักโลกมากขึ้น

ช่องใส่ MicroSD หายไป

sd

จุดเด่นของมือถือ Android ที่หลายคนเลือกใช้คือการที่มือถือกลุ่มนี้เพิ่มความจำได้ โดยผ่านช่องใส่ MicroSD หรือจะเป็นถาดใส่ก็ตาม แต่ก็มีข่าวไม่เพราะเวลาที่ผ่านมา ช่องใส่ซิมนั้นถูกตัดออกไปแล้ว โดยหลายคนบอกว่า เรือธงฝั่ง Android เริ่มให้ความจำเยอะขึ้นเช่น

ให้กันแบบ 128GB หรือ 256GB แทบไม่จำเป็นต้องเพิ่มอีกต่อไป เพราะก็มาเพียงพอแล้ว แต่ถ้าคุณใช้งานหนัก หรือเล่นเกม ชอบดูหนัง ดาวน์โหลด ซีรีส์, รายงานโทรทัศน์ และอื่นๆ มากมายก็อาจจะต้องเลือก 256GB ปลอดภัยว่า

และนอกจากปัญหาเรื่องที่จัดเก็บในความจุที่สูงคือ ราคาของเครื่องจะแพงมาก เช่นมือถือเรือธงรุ่นหนึ่งจะเพิ่มความจำ 128G มีราคาที่สูงถึง 100 ดอลล่าร์สหรัฐฯ กับ MicroSD ที่ขนาดเท่ากัน แต่ถูกกว่าหลายเท่าตัว

ลาแล้วจ้า สายหูฟังในกล่องมือถือ

he_b

นอกจากอุปกรณ์ชาร์จ หรือ Adapter ที่หายไปแล้ว หลายบริษัทในตอนนี้ก็เลือกที่จะตัดหูฟังแบบสายออกจากกล่องออกไปเช่นเดียวกัน โดยจุดเริ่มต้นเกิดเมื่อปี 2020 Apple เองได้นำหูฟังแบสายออกจาก iPhone 12 แต่ Samsung ก็มีแนวโน้มที่ตัดออก แต่สุดท้ายหูฟังที่ผลิตโดย AKG ยังอยู่กับมือถือเรือธงต่อไป (แต่ไม่นานก็ถูกตัดออก)

โดยการตัดหูฟังออก ก็มีผลทางกลยุทธ์ที่ต้องการกำไรและประหยัดค่าใช้จ่ายและหูฟังไร้สายเพิ่มขึ้น ก็มาทดแทนแบบสายที่ที่มีเสน่ห์สำหรับใครบางคนอยู่ อย่างน่าเสียดาย

ไม่ให้เปลี่ยนแบตเตอรี่เองได้อีก

bat

สมัยก่อน หากจำกันได้ มือถือหลายรุ่นสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เอง แต่การมาของ iPhone ก็ทำให้มือถือไม่สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้โดย Samsung เริ่มเปลี่ยนแบตฯ มือถือไม่ได้กับ Galaxy S6 ในช่วงปี 2015 ซึ่งมีจุดประสงค์คือต้องการใสระบบกันน้ำและกันฝุ่นพร้อมกับออกแบบให้ถูกต้องกับการจับถือ

ทั้งนี้มือถือสมัยก่อนแบตเตอรี่ไม่ขนาดใหญ่มากนัก แต่ปัจจุบันขนาด 5000 mAh แทบจะเป็นเรื่องปกติ ต้าสังเกตดีๆ อายุการใช้งานก็มีความเสี่ยงว่าความปลอดภัยของผู้ใช้งานจะลดลงอย่างกรณีของ Galaxy Note 7 ที่มีโอกาสที่จะลุกไหม้ได้เองเมื่อเก็บในกระเป๋ามาแล้ว

การปิดแบตเตอรี่ไม่ให้ถอดได้บางครั้งก็เป็นเรื่องถูกเช่นต้องการติดระบบกันน้ำหรืออุปกรณ์บางอย่างภายในนั้นที่ไม่สามารถเปิดได้ แต่ก็ต้องแลกกับการที่จะซ่อมเองได้ยากขึ้น

ถาดใส่ซิมที่หายไปใน iPhone 14 (เฉพาะในสหรัฐฯ)

และสุดท้ายถ้าคุณอยู่ในสหรัฐอเมริกา เวลาคุณไปซื้อ iPhone 14 Series จะพบว่าไม่มีช่องใส่ซิมอีกแล้ว คุณจะต้องทำ eSIM เพื่อย้ายเข้าไปใส่เท่านั้น แน่นอนว่า มันก็มี 2 ปัญหาใหม่ เข้ามา

ประการแรก ผู้ให้บริการที่รองรับบริการ eSIM มีเฉพาะรายใหญ่เท่านั้น แต่มีรายเล็กจำนวนมากที่ยังไม่รองรับบริการแบบนี้และต้องใช้ซิมแบบถาดใส่ซิมเท่านั้น ซึ่งถ้าคุณใช้บริการค่ายเล็กก็แทบไม่มีทางเลือกเลือกนอกจากเปลี่ยนผู้ให้บริการ ที่บางครั้งไม่สะดวกและจำเป็นสักเท่าไหร่

และประการที่ 2 คือ ข้อจำกัดของ eSIM เองในกรณีเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรก็ตาม แต่คุณต้องการเปิดแพ็คเกจในท้องถิ่นและชำระเงินรายสัปดาห์เพื่อให้ใช้กับประเทศนั้นได้ eSIM ก็อาจจะไม่ได้เข้าไปถึงประเทศเหล่านั้น ก็อาจจะทำให้ เป็นทางเลือกที่ยากสำหรับนักเดินทางเช่นเดียวกัน

แม้ สมาร์ตโฟนยังต้องพัฒนาต่อเพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย แต่สิ่งที่ต้องจับตามองมีทั้งเรื่องชื่นชมและเรื่องต้องต้องยอมเสียอะไรบางอย่างสักครั้ง อาจจะดูเหมือนกับยอมกลืนน้ำลายตัวเองอยู่บ้าง

แต่การพัฒนาบางอย่างเช่นการตัดปุ่ม Home หรือแบตเตอรี่มือถือแบบถอดเปลี่ยนเ ซึ่งบางอย่างก็ดูเหมือนเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจมากกว่าความกว้างหน้าทางเทคโนโลยี แต่สุดท้าย เราก็ยังคงได้เห็นมือถือมีเทคโนโลยีและพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ กันต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook