รีวิว "ROG Ally" เครื่องเล่นเกมพกพาที่ให้คุณได้มากกว่า ในราคาไม่แรง
ROG Ally (อ่านว่า อัล-ลาย) ถ้าใครติดตาม Sanook Hitech มาต่อเนื่องหรือเพื่อนๆ สื่อ IT คงจะรู้กันดีว่ามันคือเครื่องเล่นเกมพกพาที่เกิดมาฆ่าหลายๆ สิ่งเช่นเดียวกัน แต่สำหรับในครั้งนี้ถึงเวลาที่เราจะรีวิวมันแล้วอย่างเป็นทางการกับ 3 in 1 Handhold Console Gamer ตัวนี้พร้อมแล้วมาดูกันเลย
ก่อนจะเริ่มต้นบทความนี้ ต้องบอกก่อนว่าชื่อของเครื่องนี้ที่เขียนว่า “Ally” อ่านว่า “อัล-ลาย” ที่แปลว่า พันธมิตร นะครับ ไม่ใช่ แอลลี่ ศิลปินรุ่นใหม่ ลูกสาวของคุณ อ่ำ อมรินทร์ นะครับ
รายละเอียดสเปกเครื่อง
- ขนาด : 280 x 111 x 21.2 มิลลิเมตร
- หนัก : 608 กรัม
- มาตรฐานความแกร่ง US MIL-STD 810H military-grade
- หน้าจอ : 7 นิ้ว แบบ IPS LCD ความละเอียด Full HD (1920 x 1080) 100% sRGB, FreeSync™ Premium, รองรับมัลติทัช 10 จุด รองรับ Reponse Time : 7 ms
- กระจกกันรอย : Gorilla® Glass Victus
- ชิปเซ็ตประมวลผล : AMD Ryzen™ Z1 Extreme ,8 Cores ,16 Threads, Base Clock 3.3GHz, Max.Boot Clock Up to 5.1GHz, Architecture Zen 4, Process 4nm, TDP 9-30W
- ชิปประมวลผลกราฟิก : AMD Radeon™ Graphics RDNA3 & 4G RAM capacity / 8.6 TFlops 12 CU GPU Clock: 2.7GHz ต่อเชื่อมกับ XG Mobile ที่จะเพิ่มพลังกราฟิกได้
- RAM : แบบ 16GB (LPDDR5 6400Mhz) dual channel LPDDR5 8GBx2
- ความจุ : 1TBM.2 NVMe 2230 Gen4x4
- ความจำเสริม : MicroSD
- พอร์ตเชื่อมต่อ (Port)
- 1x ROG XG Mobile interface (8PCI express lanes) พร้อมเป็น USB Type-C combo port (with USB 3.2 Gen2 / DisplayPort 1.4 support / Power (DC) input)
- 1x 3.5mm combo audio jack รองรับหูฟังที่เป็นไมโครโฟนได้ด้วย
- 1x Micro SD slot (UHS-II, Micro SD 4.0)
- เชื่อมต่อ Wi-Fi 802.11 AX (Wi-Fi 6E) + Bluetooth 5.2
- ระบบความปลอดภัย : Windows Hello + Pin
- ลำโพง : 2 จุด, รองรับ Hi-Res Audio, Smart Amplifier, Dolby Atmos®, Hi-Res Audio, AI Noise Cancellation
- ไมโครโฟน : 2 ตัว + AI Noise Cancellation
- ระบบปฏิบัติการ : Windows 11 + Armoury Crate SE
- แบตเตอรี่ขนาด 40Wh
- ระบบชาร์จไฟ : USB-PD กำลังสูงสุด 65W
- สีเครื่อง : สีขาว
แกะกล่อง ROG Ally ประกอบด้วย
- ตัวเครื่อง ROG Ally
- ฐานตั้งเครื่อง แบบพลาสติก
- ปลั๊กไฟแบบ 3 ขา
- Adapter กำลังชาร์จไฟ 65W แบบ USB-C
- คู่มือการใช้งาน
ดีไซน์และการออกแบบ ROG Ally
แรกเห็นของ ROG Ally ต้องบอกว่ามันเป็น จะมาพร้อมกับขนาดที่กว้างล้อมตรงกลางระหว่างหน้าจอขนาด 7 นิ้วแบบ IPS-LCD พร้อมกับระบบทัชสกรีนรองรับทั้งหมด 10 จุดด้วยกัน
ฝั่งซ้ายจะมี ไมโครโฟน ปุ่มควบคุมที่จะมาพร้อมกับเป็นแบบ Stick ฝั่งซ้าย หรืออีกชื่อคือ D-Pad ควบคุมของเกม และปุ่ม ปุ่มกดปกติสำหรับการเล่นเกม, Views Button , ปุ่มเรียกคำสัง Command Center และลำโพงตัวเครื่องฝั่งซ้ายและมีการออกแบบให้จับรับมือ
ฝั่งขวาจะมีไมโครโฟน ปุ่มต่างๆ ดังนี้ปุ่ม Stick ฝั่งขวา หรืออีกชื่อคือ D-Pad ปุ่มกดควบคุมการเล่นเกม A/B/X/Y, ปุ่ม Menu, ปุ่ม เรียก Amoury Crate และลำโพงตัวเครื่องฝั่งขวา และมีการออกแบบให้จับรับมือ
ส่วนบนจะมีการออกแบบให้สามารถระบายอากาศทั้งซ้ายและขวา, ช่องเสียบหูฟัง, MicroSD,ช่องเสียบ USB-C หรือ XG-Mobile ปุ่มปรับระดับเสียง, ไฟสถานะแบตเตอรี่และเปิดเครื่อง และปุ่มเปิดเครื่อง และมีปุ่มกดสำหรับควบคุมเกม ได้แก่ RT, RB, LT, LB การทำงานขึ้นอยู่กับเกม และปุ่มทั้งหมดของเครื่องสามารถควบคุมระบบปฏิบัติการ Windows ได้ด้วย
ส่วนล่างไม่มีอะไรนอกจากข้อมูลตัวเครื่อง
พลิกมาด้านหลังจะมีปุ่ม Macro ทั้ง M1 และ M2 และมีเส้นลวดลายตจัดผ่านกรอบพัดลมทั้ง 2 ตัวเลยครับ
น้ำหนัก / การจับถือ
จากการที่ได้ทดลองจับถือพบว่ามีการออกแบบให้น้ำหนักเบาและรูปทรงยังคงออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ช่วยให้จับถือสะดวกและเป็นธรรมชาติ และยังทำให้ขับได้ง่ายแม้น้ำหนักจะอยู่ที่ 608 กรัมก็แอบหนักอยู่นะครับ
การแสดงผลหน้าจอ / ระบบเสียง
หน้าจอของ ROG Ally นั้นมีขนาดน่ารักที่ 7 นิ้วกับความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล พร้อมกับค่าการตอบสนองไวสุด หรือ Response Time ที่ 7 ms เท่ากับการแสดงผลทำได้ดี เพียงแต่ใครจะนำมาทำงานกราฟิก แบบพกพานั้นอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ดีขนาดนั้นครับ แต่ถ้าหวังการเล่นเกม มันทำได้เลย และความสว่างหน้าจอทำได้ที่ 500 nits ถือว่าสว่างอยู่มาก
ส่วนระบบเสียงให้ลำโพงคู่ด้านหน้า เสียงดังพอสมควร รองรับ ,Dolby ATMOS การันตีว่าเสียงดี และตำแห่นงบนสุดมีไมโครโฟน พร้อมกับ AI Noise Canceling ลดเสียงรบกวนได้
ปุ่มกด / การควบคุม
อารมณ์ในการจับถือและเล่นเกมผ่าน ROG Ally จะให้ความรู้สึกเหมือนกับ Xbox Controller ที่เคยรีวิวไปก่อนหน้านี้ แต่ว่าสิ่งที่ต่างกันคือ น้ำหนักของตัวจอย Stick ที่รู้สึกว่าการผลักแต่ละจุดมีความนิ่มกว่า แต่จอย Xbox จะแน่นกว่าเท่านั้นเอง นอกนั้นปุ่มกดที่เหลือที่ไม่ได้กล่าวคือ ให้ความรู้สึกไม่ได้แตกต่างกัน
ความกว้างของเครื่องไม่ได้ส่งผลให้เล่นเกมได้ยาก แต่ถ้าจะโยกใช้ Gyro ในการควบคุม จะรู้สึกว่าใช้ทิศทางเยอะ แต่ทุกอย่างแก้ได้ด้วยการไปปรับตั้งค่าว ที่ Armoury Crate ที่จะเล่าในลำดับต่อไป
ประสิทธิภาพ / การเชื่อมต่อ / การระบายความร้อน
จากประสิทธิภาพที่ออกมานั้นเมื่อเทียบกับตัวมันผมว่าทำได้ดีแล้วเพราะเครื่องจิ๋วแบบนี้แต่เล่นเกมในแบบจัดเต็ม ใช้คำว่า Preset หรือการตั้งค่าควรให้เครื่องปรับเอง เพราะไม่เช่นนั้น กระตุกและเล่นไม่ได้แน่นอน
แต่ถ้าคุณอยากเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องเล่นเกมนี้แนะนำให้ลองหา ROG XG Mobile รุ่นปี 2023 เพราะตัวนี้จะมี กราฟิกการ์ดแบบต่อแยกภายนอก (eGPU) ที่มีให้เลือกสูงสุดถึงระดับ RTX™ 4090 เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกปรับตั้งค่ากราฟิกได้สูงเท่าที่ใจจะต้องการ นอกจากนั้นแล้วยังทำหน้าที่เป็น hub สำหรับการเชื่อมต่อต่างๆไม่ว่าจะเป็น เม้าส์, คีย์บอร์ด, หรือหน้าจอต่อแยกภายนอก รับรองครบและรีงสะใจ และราคาก็เช่นกัน แรงแน่นอน
ส่วนการระบายความร้อนขึ้นชื่อว่าเป็น ROG จัดเต็มเพราะสามารถระบายความร้อนได้รอบผ่านระบบ Zero Gravity Coolingโดยแบ่งการทำงานออกเป็น
- เลือกใช้ท่อฮีทไปป์ที่ออกแบบขึ้นเป็นพิเศษ ภายในมีของเหลวที่สามารถหมุนเวียนถ่ายเทความร้อนได้ดี
- ติดตั้งพัดลม 2 ตัวที่สามารถทำงานได้ดีทุกมุมแบบ 360 องศา ไม่ว่าจะ ตั้ง หงาย หรือคว่ำ สามารถจัดการอากาศได้ดี
- ติดตั้งตัวดักฝุ่น หรือ Dust Filter แผ่นกรองฝุ่นไม่ให้ฝุ่นเข้าไปในระบบส่งผลทำให้ระบบระบายความร้อนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและใช้งานได้ยาวนาน
เรียกว่าใส่ใจสุดๆ เพราะเวลาเล่นเกมตัวเครื่องจับแล้วจะอุ่นๆ แต่ถ้าจับส่วนที่ปล่อยอากาศออกคือด้านหน้าจะรู้สึกร้อน ความร้อนที่เครื่องรุ่นนี้วัดมาสูงสุดจากที่ทดลองคือการเล่นเกมที่เกิดขึ้นสูงถึง 82 องศา และไม่เกินไปกว่านั้น การลดประสิทธิภาพเกิดขึ้นเมื่อพลังงานเหลือน้อยลงนั่นเอง
ระบบปฏิบัติการ / ฟีเจอร์ภายใน / ระบบความปลอดภัย
ROG Ally เลือกใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 11 เหมือนกับคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่การควบคุมเอาเป็นว่าถ้าไม่ต่อ Mouse หรือ Keyboard จะต้องใช้นิ้วในการสั่งงาน หรือจะใช้ Controller ฝั่งขวาในการควบคุมเป็นเมาส์และกดลงไปคือการกดซ้ายค้างไว้ แต่การกดปุ่มขวามือจะต้องใช้ปุ่ม Controller ในการเล่นเกม สิ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ การได้ Armony Crate SE ที่แปลงร่างจากหน้าจอ Windows ธรรมดาให้เป็นเครื่องเล่นเกมได้
Armony Crate SE
ศูนย์รวมแหล่งเล่นเกมที่สามารถแยกความสามารถได้ทั้งหมด 2 เรื่องผ่าน 3 หน้าต่างได้แก่
เกม : จะแสดงผลเกมที่คุณติดตั้งมา นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ให้คุณติดตั้งเกมได้ผ่าน Steam, Xbox Game Pass, Epic, GOG และอื่นๆ มาแบบครบครันเลยครับ
การควบคุม / การตั้งค่า : ส่วนนี้จะมีการปรับแต่งแบบครบครันประกอบด้วย
- Control Mode สามารถเลือกจะตั้งค่าปุ่มควบคุมการเล่นเกมได้ด้วย หรือจะเป็น Windows เพื่อให้รู้ถึงการควบคุมได้ว่าแต่ละปุ่มกดอะไร
- Command Center เราสามารถกดให้ปุ่มต่างๆ ขึ้นมาให้เรากดได้ แต่ทั้งนี้เราสามารถเลือกได้ ทำได้ตั้งแต่
- ปรับประสิทธิภาพ
- การปรับ Game Visual
- AMD RIS ปรับให้ภาพละเอียด / AMD RSR เพิ่มความละเอียด
- ปรับ จำกัด FPS
- ปุ่ม Control Mode
- การตั้งค่าอื่นๆ ที่มาแบบครบครันได้แก่
- Operation Mode สามารถเลือกรูปแบบ Mode
- GameVisual สามารถปรับในเรื่องของ Scene ให้สามารถใช้งานกับเกม
- ปรับสีของไฟจะอยู่ที่ Controller (Lighting)
- Connection ปรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi, Bluetooth
- Audio ปรับระดับเสียงที่สามารถเลือกคุณภาพเสียงได้ ลดเสียงรบกวน และปรับไมโครโฟนได้
- Aura Sync ปรับสี Profile ตามเครื่องของเราได้ทันที
- Gyro / Haptic Feed Back : ในตัว ROG Ally มีระบบการแจ้งเตือนการสั่นระหว่างทั้งซ้ายและขวาปรับแยกอิสระในเกมได้ด้วยผ่าน Armoury Crate SE ได้และรวมไปถึง Gyro ที่สามารถเคลื่อนไหวหมุนหรือโยกได้ด้วยและปรับความอ่อนไหวได้เช่นเดียวกัน
และอีกหน้าที่จะไม่กล่าวไม่ได้เพราะมันมี Community ที่คอยดูแลและเสิร์ฟข่าวสารให้คุณได้อยู่ตลอดเวลา
ส่วนใครที่อยากเอา ROG Ally มาทำงานต้องบอกว่า มันทำได้นะ!!! แต่จะต้องบอกว่า จะต้องมีอุปกรณ์เสริม ได้แก่ HUB-C แบบสายเพื่อต่อออกหน้าจอผ่าน HDMI, เสียบอุปกรณ์เสริม USB เป็นต้น ส่วน Keyboard และ Mouse ที่แนะนำคือควรจะต่อผ่าน Bluetooth แต่ถ้าต่อจาก XG Mobile จะเพิ่มประสิทธิภาพการ์ดจอด้วย
การทำงานของปุ่ม Macro
จากข้อสังเกตหนึ่งจะมีปุ่มหนึ่งปรากฏขึ้นมาทำให้คุณสงสัยว่ามันคืออะไร คำตอบคือปุ่มนี้มีชื่อว่า Macro เนื่องจากตัวเครื่องไม่มี Keyboard จะต้องใช้งานด้วยปุ่มเพิ่มความสะดวกเข้าไปอีก ให้คิดซะว่ามันคือ FN ของ Keyboard ที่ต้องกดแล้วพวกคำสั่งอย่างอื่น โดยมีตัวอย่างดังนี้
- Macro + D-pad up: แสดง Keyboard
- Macro + D-pad down: แสดง Task Manager
- Macro + D-pad left: แสดง Desktop
- Macro + D-pad right: เปิด Task Viewer
- Macro + A: บันทึกหน้าจอ หรือ Take Screenshot
- Macro + B: แสดงผล Windows Notification Center
- Macro + X: เปลี่ยนโหมดการแสดงเป็น Projection mode
- Macro + Y: เริ่มการบันทึกวิดีโอ หรือ Begin Recording
จุดสังเกตที่ต้องเตือนเลยคือ อยากเผลอกดตอนเล่นเกมเพราะโอกาสลั่นมีสูงมาก เพราะเจ็บมาเยอะเลยเตือน
ส่วนระบบความปลอดภัยมีเพียงแค่ PIN เท่านั้น
แบตเตอรี่ / ระบบชาร์จไฟ
สำหรับแบตเตอรี่ของ ROG Ally ติดตั้งมาให้ขนาด 40 Wh ถือว่าใหญ่เกินตัว แต่เนื่องจากอย่างที่บอกครับมันเกิดมาเพื่อเล่นเกมและภายในก็มี Hardware การใช้งานของน้องเขาผมให้เฉลี่ยอยู่ที่ 1-3 ชั่วโมง ขึ้นกับ Profile การตั้งเช่นคุณเล่น Turbo Mode จะอยู่สั้นมาก 1:30 ชั่วโมงมีเตือนแบตฯ อ่อน ถ้าโหมดอื่นๆ ก็จะเพิ่มขึ้นมาตามลำดับ
ส่วนที่ชาร์จไฟที่ติดกล่องเป็นแบบเดียวกับ Notebook โดยมีขนาดที่ชาร์จ 65W ทั่วไป ทั้งนี้คุณสามารถเสียบ XG Mobile แล้วชาร์จไฟเครื่องได้ครับ
สรุปหลังจากทีม Sanook Hitech ได้ทดลองใช้งาน ROG Ally มาสักระยะเวลาหนึ่ง
จากการที่อยู่ร่วมชีวิตกับ ROG Ally มา 2 สัปดาห์เต็ม ต้องบอกว่ามันเป็นอีกเครื่องที่เน้นเรื่องของการใช้งานที่หลากหลายมาก เพราะทั้งคุณพกพาไปเล่นเกมไปได้ทุกที่ แถมยังต่อเชื่อมกับเกมได้หลากหลายรวมถึง Stream เรียกได้ว่าเกมอะไรก็เข้ามาดิครับ แต่เรื่องที่ยังให้ตั้งเป็นข้อสังเกตคือ แบตเตอรี่นั้นอยู่ได้สั้นไปหน่อย พอๆ กับ Gaming Notebook ของค่ายนี้ อาจจะไม่ได้อึดเท่ากับ Nintendo Switch ที่เป็นเครื่องเล่นเกม Standalone เท่าไหร่
สำหรับราคาและขนาดความจุของ ROG Ally ที่วางจำหน่ายในประเทศไทยเริ่มต้นที่ 24,990 บาท และมีอุปกรณ์เสริมดังนี้
ปิดท้ายกับ ROG Ally ไว้ตรงว่า ถ้าคุณเป็นคนชอบเล่นเกม และต้องทำงานด้วย แต่มี Notebook อยู่แล้วและอยากให้เครื่องที่เล่นเกมและอยู่ดีๆ ต้องทำงานได้สักพักหนึ่ง นี่ครับถือว่าเป็นคำตอบครับ
จุดเด่น
- ตัวเครื่องกว้างและจับถือได้ง่าย
- ประสิทธิภาพถือว่าแรงเอาเรื่องอยู่
- มี USB-C ที่เสียบได้ทุกอย่าง
- ชาร์จไฟรวดเร็วมาก
- สามารถอัปเกรดประสิทธิภาพผ่าน XG-Mobile
- ราคาเป็นมิตร
ข้อสังเกต
- ที่ชาร์จค่อนข้างใหญ่
- แบตเตอรี่ถ้าเล่นเกมโหดๆ อยู่ได้สั้นมาก
- ถ้าไม่ต่ออุปกรณ์เสริมไม่ค่อยเหมาะกับการใช้ทำงานเลย
- XG-Mobile ราคาแพงมาก
อัลบั้มภาพ 28 ภาพ