เตรียมบอกลาแอปฯ เป๋าตัง พร้อมเปิดใจเรียนรู้ 'บล็อกเชน' กระเป๋าเงินดิจิทัลรับ 10,000 บาทใบใหม่

เตรียมบอกลาแอปฯ เป๋าตัง พร้อมเปิดใจเรียนรู้ 'บล็อกเชน' กระเป๋าเงินดิจิทัลรับ 10,000 บาทใบใหม่

เตรียมบอกลาแอปฯ เป๋าตัง พร้อมเปิดใจเรียนรู้  'บล็อกเชน' กระเป๋าเงินดิจิทัลรับ 10,000 บาทใบใหม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กลายเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมากสำหรับข่าวล่าสุดที่พรรคเพื่อไทยยืนยันว่าโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาทของรัฐบาลที่จะจ่ายเงินเข้ากระเป๋าให้กับประชาชนทุกคนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปนั้น จะเป็นการแจกเงินในกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ใช้ระบบบล็อกเชน ไม่ใช่เงินสดที่ถูกโอนเข้าแอปพลิเคชันเป๋าตังเหมือนที่ผ่านมา

โดยผู้ที่ได้รับการแจกเงินดังกล่าว จะใช้จ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันใหม่ที่ไม่ใช่แอปฯ เป๋าตัง ซึ่งแอปดังกล่าวจะทำงานอยู่บนพื้นฐานของบล็อกเชนซึ่งเป็นระบบที่รัฐบาลคิดขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการรั่วไหลของเม็ดเงินเหมือนกับที่เจอในทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา

ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยยืนยันว่านโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล (Digital Wallet) จะเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนอยู่เบื้องหลัง ซึ่งถูกพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจากเทคโนโลยีแบบเดิม เพื่อประโยชน์ของการพัฒนาประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

บล็อกเชนคือออะไร

เพราะฉะนั้นการที่จะต้องใช้เงินในกระเป๋าเงินดิจิทัลด้วยวิธีนี้นับเป็นการหมุนเวียนเงินในระบบเศรษฐกิจอย่างแท้จริง เนื่องจากไม่สามารถที่เบิกเป็นเงินสดออกมาใช้ได้ ดังนั้นผู้ที่นำไปใช้จะสามารถทำได้แค่เพียงใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและวัตถุดิบเท่านั้น แต่ก่อนที่จะถึงได้ใช้งานกระเป๋าเงินใบใหม่ เรามาเตรียมและตัวและทำความรู้จักกับ บล็อกเชน (Blockchain) กันก่อนดีกว่า

บล็อกเชนคืออะไร

บล็อกเชน (Blockchain) คือ เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology) โดยข้อมูลจะถูกบันทึกเป็นชุดข้อมูล (Block) ที่เชื่อมโยงกันเป็นโซ่ (Chain) ด้วยระบบการเข้ารหัสลับ ทำให้ข้อมูลมีความโปร่งใส ไม่สามารถปลอมแปลงหรือแก้ไขได้ โดยไม่อาศัยตัวกลางใด ๆ

บล็อกเชนเกิดขึ้นเมื่อไหร่

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2008 เป็นช่วงที่โลกของเราเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เรียกว่า Global Financial Crisis ตอนนั้นมีบุคคลนิรนามที่เรียกตัวเองว่า Satoshi Nakamoto ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่า Bitcoin ขึ้นมาในฐานะของสกุลเงินดิจิทัลเป็นสกุลแรกในประวัติศาสตร์ ความพิเศษของสกุลนี้คือทุกคนสามารถือและโอนหากันได้แบบที่ไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลางใด ๆ เช่น ธนาคาร และหน่วยงานอื่น ๆ เนื่องจากมันไม่ได้ถูกสร้าง หรือถูกควบคุมโดยรัฐ หากตอนนั้นไม่มีบิตคอยน์ โลกของเราก็จะไม่มีทางได้รู้จักกับเทคโนโลยีที่เรียกว่า บล็อกเชน หลายคนอาจสับสนว่าบล็อกเชนนั้นมีไว้สร้างสกุลเงินรึเปล่า แต่ในความเป็นจริงแล้วสกุลเงินต่าง ๆ เป็นเพียงหนึ่งในแอปพลิเคชันของบล็อกเชนเท่านั้น สรุปก็คือ บล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถสร้างระบบที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอีกต่อไป (Trustless System) ซึ่ง Bitcoin Network ถือเป็นระบบแรก ๆ ที่ใช้บล็อกเชน

องค์ประกอบที่สำคัญของบล็อกเชน

  • Block : หน่วยข้อมูลขนาดเล็กที่บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลการโอนเงิน ข้อมูลการซื้อขาย เป็นต้น
  • Chain : ชุดข้อมูลบล็อกที่เชื่อมโยงกันด้วยระบบการเข้ารหัสลับ
  • Consensus algorithm : อัลกอริธึมที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใหม่ที่จะเพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน
  • Validation : กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใหม่ที่จะเพิ่มเข้าไปในบล็อกเชน

ประโยชน์ของเทคโนโลยีบล็อกเชน

  • ความโปร่งใส : ข้อมูลในบล็อกเชนสามารถตรวจสอบได้โดยทุกคนในเครือข่าย
  • ความปลอดภัย : ข้อมูลในบล็อกเชนไม่สามารถปลอมแปลงหรือแก้ไขได้
  • ความยืดหยุ่น : บล็อกเชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายอุตสาหกรรม

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนไปใช้

  • การเงิน : การโอนเงินระหว่างประเทศ การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
  • การค้า : การซื้อขายสินค้าและบริการ การตรวจสอบคุณภาพสินค้า
  • ห่วงโซ่อุปทาน : การติดตามสินค้าตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง
  • ภาครัฐ : การออกเอกสารราชการ การลงคะแนนเสียง

ปัจจุบันเทคโนโลยีบล็อกเชนยังอยู่ระหว่างการพัฒนาและยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคต ด้วยความที่เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย

โดยสรุปแล้ว บล็อกเชนสามารถใช้งานได้ทั้งง่ายและยาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ หากผู้ใช้งานมีความสนใจในบล็อกเชน ควรศึกษาข้อมูลและทดลองใช้งานก่อน เพื่อทำความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีและเรียนรู้วิธีการใช้งานอย่างถูกต้อง ซึ่งเราอาจจะต้องเริ่มเรียนรู้กันตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะได้เริ่มงานจริงใช้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook