หัวเว่ย เสริมแกร่งผู้ให้บริการด้วยเทคโนโลยี 5G และ 5.5G เพื่อการเติบโตทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต

หัวเว่ย เสริมแกร่งผู้ให้บริการด้วยเทคโนโลยี 5G และ 5.5G เพื่อการเติบโตทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต

หัวเว่ย เสริมแกร่งผู้ให้บริการด้วยเทคโนโลยี 5G และ 5.5G เพื่อการเติบโตทางธุรกิจใหม่ๆ ในอนาคต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หัวเว่ย เป็นเจ้าภาพจัดงาน “5G Beyond Growth Summit”  ในงาน โมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (Mobile World Congress 2024 - MWC) ณ กรุงบาร์เซโลนา ประเทศสเปนเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยนายหลี่ เผิง รองประธานอาวุโสฝ่ายองค์กร และประธานฝ่ายขายและบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของหัวเว่ย ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ถึงการที่เทคโนโลยี 5G จะช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายประสบความสำเร็จ รวมถึงการที่ เทคโนโลยี 5.5G จะเข้ามาช่วยปลดล็อคศักยภาพที่เหนือกว่าของเครือข่ายและสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในอนาคต ให้กับผู้ให้บริการ

นายหลี่ เผิง รองประธานอาวุโสฝ่ายองค์กร และประธานฝ่ายขายและบริการด้านเทคโนโลยีไอซีทีและการสื่อสารของหัวเว่ย กล่าวว่า “เทคโนโลยี 5G กำลังไปสู่เส้นทางแห่งความสำเร็จ” ทั้งนี้ เทคโนโลยี 5G ถูกนำมาใช้งานใน เชิงพาณิชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา มีผู้ใช้งานมากกว่า 1,500 ล้านคนทั่วโลก เมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี 4G ที่ต้องใช้เวลาถึง 9 ปี ในการได้จำนวนผู้ใช้งานเท่ากัน โดยในปัจจุบัน ร้อยละ 20 ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้งานบนเทคโนโลยี 5G ซึ่งนับเป็นร้อยละ 30 ของการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายทั้งหมด และสามารถสร้างรายได้ให้กับ ผู้ให้บริการถึงร้อยละ 40 เทคโนโลยี 5.5G จะเริ่มเข้ามามีบทบาทการใช้งานเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2567 และด้วยความสามารถของเทคโนโลยี 5.5G นี้ ผนวกกับ AI และการใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีคลาวด์ จะทำให้ผู้ให้บริการสามารถปลดล็อค ศักยภาพของแอปพลิเคชันและความสามารถใหม่ ๆ ได้อีก”

เขากล่าวเสริมว่า ผู้ให้บริการเครือข่ายทั่วโลกควรให้ความสำคัญกับการให้บริการเครือข่ายคุณภาพสูง มองหาการสร้างรายได้ จากหลากหลายช่องทาง บริการใหม่ ๆ รวมถึงการนำเทคโนโลยี AI ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ เข้ามาใช้งาน เพื่อคว้าโอกาสทางธุรกิจเอาไว้ 

เครือข่ายคุณภาพสูงยังคงเป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จทางธุรกิจ

ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือนั้นยินดีที่จะอัปเกรดแพ็คเกจการใช้งานของตัวเองหากเครือข่ายนั้น ๆ สามารถมอบประสบการณ์ ที่เหนือกว่าได้ โดยการใช้งานดาต้าของผู้ใช้งานเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นอีกสูงมาก ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ให้บริการสามารถสร้างมูลค่า จากการใช้งานเหล่านี้ได้อีก และจะทำให้เราได้เห็นผู้ให้บริการเครือข่ายจำนวนมากที่กำลังมีแผนงานและกลยุทธ์ที่จะ เพิ่มระบบเครือข่าย 5G ที่มีคุณภาพสูงเข้ามา

ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายในทวีปตะวันออกกลางได้นำเทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบ Massive MIMO มาใช้งานแล้ว และด้วยประสบการณ์การใช้งานที่เหนือกว่าบนระบบนี้ทำให้สามารถนำเทคโนโลยีเทคโนโลยี 5G FWA เข้าสู่ตลาดได้สำเร็จ โดยในปัจจุบันเทคโนโลยี 5G FWA ได้เชื่อมต่อผู้คนจากกว่า 3 ล้านครัวเรือนเข้าด้วยกัน และถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ ที่สร้างรายได้มหาศาลให้แก่ผู้ให้บริการ

สร้างมูลค่าเพิ่มจากหลากหลายช่องทาง และหลากหลายรูปแบบ

ปัจจุบัน ผู้ให้บริการเครือข่าย 5G ทั่วโลกกว่าร้อยละ 20 มีการนำเสนอบริการในรูปแบบแพ็คเกจที่มีการจัดระดับความเร็ว เป็นขั้นตามความต้องการ เช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายรายหนึ่งในประเทศไทยมีการนำเสนอแพ็คเกจลักษณะ Boost Mode ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกระดับความเร็วที่เหมาะสมกับการใช้งานของตนเองได้ โดยการออกแบบแพ็คเกจ ลักษณะนี้สามารถเพิ่มอัตรารายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งานหรือ ARPU ได้ประมาณร้อยละ 23 หรือผู้ให้บริการเครือข่ายรายหนึ่ง ในประเทศจีนได้มีการออกแบบแพ็คเกจที่รับประกันความเร็วอัปโหลดสำหรับผู้ใช้งานที่เน้นการใช้งานแบบ Livestream เพื่อการใช้งานที่ต้องการความละเอียดสูงและประสบการณ์ที่ลื่นไหล โดยแพ็คเกจดังกล่าวได้รับความนิยมและสามารถ เพิ่มอัตรารายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งานได้มากกว่าร้อยละ 70

 huaweislipengunleashingne

บริการรูปแบบใหม่ๆ จะเข้ามาช่วยสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

บริการรูปแบบใหม่ ๆ เช่น New Calling, Cloud phones หรือบริการ 3D แบบที่ไม่ต้องสวมแว่น กำลังได้รับความนิยม มากขึ้นจากเหล่าผู้ใช้งาน เช่น ฟังก์ชันตัวละครเสมือนหรือ avatar ที่อยู่ในบริการ New Calling นั้นได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก รวมถึงมีการแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้งานยินดีที่จะจ่ายเพิ่มเพื่อประสบการณ์แบบเรียลไทม์ เช่น การเคลมประกันรถ แบบ one-stop จบในที่เดียว

นอกจากนี้ เทคโนโลยี 5G ยังถูกนำไปใช้งานจากหลากหลายอุตสาหกรรม โดยในประเทศจีนมีการใช้งานเครือข่าย 5G ในรูปแบบส่วนบุคคลในระดับอุตสาหกรรมกว่า 50,000 เครือข่าย ในกว่า 50 อุตสาหกรรม และด้วยความสามารถที่เพิ่มขึ้น ของเทคโนโลยี 5.5G เช่น อัตราความหน่วงที่สามารถกำหนดได้ ความแม่นยำในการส่งต่อข้อมูล และการใช้งาน IoT แบบ passive จะสามารถเปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับผู้ให้บริการเครือข่ายในตลาด B2B ได้อีกมาก

Generative AI จะช่วยนำพาอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือเข้าสู่ยุคอัจฉริยะ

รายงานจาก IDC ระบุว่าในปี พ.ศ. 2567 จะมียอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนที่มีเทคโนโลยี AI ในตัว กว่า 170 ล้านเครื่อง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15 ของยอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนทั้งหมด โดยสมาร์ทโฟนที่มีเทคโนโลยี AI ในยุคใหม่นี้จะมาพร้อมกับ หน่วยความจำที่มากกว่า ความสามารถในการแสดงผลหน้าจอและภาพถ่ายที่เหนือกว่า และการทำงานที่ต้องใช้ เทคโนโลยีขั้นสูงจากแอปพลิเคชัน AIGC เหล่านี้จะก่อให้เกิดการใช้ข้อมูลอย่างมหาศาล และแน่นอนหมายถึงโอกาสทาง ธุรกิจใหม่ ๆ ของผู้ให้บริการเครือข่ายด้วย

นายหลี่ ได้กล่าวปิดท้ายงานด้วยคำมั่นว่า “เราและผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจะร่วมกันปลดล็อคศักยภาพ ของเทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยี 5.5G และร่วมสร้างการเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืนไปด้วยกัน"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook