อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง แต่ละอย่างทำหน้าที่อะไรบ้าง
คอมพิวเตอร์เรียกว่าเป็นอีกเครื่องมือที่หลายคนไว้ใช้ทำงานและประมวลผลต่างๆ มาแบบครบครันทั้งการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงขั้นสูง และรวมไปถึงการเล่นเกมเพื่อความบันเทิง โดยเฉพาะ PC ตามบ้านของคุณ แต่เคยสังเกตไหมว่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง วันนี้ Sanook Hitech จะมาเฉลยกัน
แต่ก่อนอื่นขอแยกเป็น 2 กลุ่มคือ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายนอก
1. หน้าจอแสดงผล (Monitor)
จอคอมพิวเตอร์หรือ มอนิเตอร์ เป็นส่วนที่สำคัญอย่างมกาเพราะคุณจะได้เห็นว่าคอมพิวเตอร์นั้นแสดงผลอะไรบ้าง เดิมทีจะมีให้จอตู้หรือ CRT ให้เลือก ปัจจุบันจะเป็นจอแบบแบน มีตั้งแต่ LCD มาตรฐาน, จอกว้างพิเศษ และจอ OLED ที่เน้นความละเอียดของสีแสดงผล ราคาก็แตกต่างกันไป
2. เคส (Case)
เคสคอมพิวเตอร์เป็นอีกส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ มีลักษณะเป็นเหมือนกล่องที่มีขนาดใหญ่เก็บสิ่งต่างๆ ที่เป็นอุปกรณ์ภายในเช่น Mainboard, RAM, CPU, GPU รวมถึง Modem ต่างๆ มักจะเป็นชิ้นส่วนที่ต้องวางแบบระวังจากของเหลว, ฝุ่ง และการสั่นสะเทือน และเป็นชิ้นส่วนที่ต้องดูให้ดีเพราะซื้ออุปกรณ์ผิด ก็จะใส่เข้าไปไม่ได้เช่นการ์ดจอขนาดใหญ่เป็นต้น
3. เมาส์ (Mouse)
อุปกรณ์ภายนอกที่ไว้ควบคุมการเลือรต่างๆ หรือการลากทุกวันนี้พัฒนาไปไกลจากเดิมใช้ล้อในการลาก ปัจจุบันเริ่มมีการใช้แสงแล้วทำให้เกิดความแม่นยำมากขึ้นและเร็วขึ้น
4. คีย์บอร์ด (Keyboard)
ชิ้นส่วนอีกชิ้นที่อยู่กับคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ยุคแรกก่อนเมาส์มีความสำคัญใส่ข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์มีตั้งแต่แบบธรรมดา, แบบเงียบ และกำลังฮิตหลายคนเสียเงินกับ Mechanical Keyboard ที่มีให้เลือกหลากหลายเช่นเดียวกัน โดยการจัดวางเรียกว่า QWERTY ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นครั้งหน้าเราจะมาเฉลยกัน
5. USB Flash Drive
อีกชิ้นส่วนที่อาจจะไว้เสียบชั่วคราวคือ Flash Drive เป็นช่องเสียบ USB ที่มีจุดเด่นคือเร็ว จุดเยอะ เขียนได้เร็ว ถ้าคุณเลือกแบบที่ใช่รับรองได้ทั้งความถูกใจและขนาดที่ลงตัวครับ
นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนอื่นๆ เช่น USB HUB ไว้ต่อพ่วงขยายพอร์ตดออกมาจาก PC, เว็บแคม (Webcam) เพราะคอมพิวเตอร์ไม่มีกล้องการมี Webcam ก็จะทำให้เห็นภาพได้ และลำโพง ไว้สำหรับเปร่งเสียงออกมา เป็น Output แบบหนึ่ง
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายใน
นอกจากภายนอกยังมีชิ้นส่วนข้างในที่สำคัญต่อการประมวลผลและมีหน้าที่ต่างกัน ขอเริ่มจาก
1. เมนบอร์ด (Mainboard)
แผงวงจรขนาดใหญ่ที่ไว้รวมการเสียบอุปกรณ์เช่น CPU, GPU หน่วนจัดเก็บทั้ง Hard Disk , SSD รวมถึงไว้สำหรับรับสัญญาณต่างๆ หรือเสียบอุปกรณ์เพิ่มเติม และที่จริง Mainboard มีหลายชื่อตั้งแต่ Motherboard, Logicboard เป็นต้น
2. ซีพียู (CPU)
CPU (Central Processing Unit) เรียกว่าเป็นหัวใจหลักและเป็นสมองของเครื่องเลยก็ว่าได้เพราะมีผลต่อการทำงานโดยชิ้นส่วนนี้จะรับทุกอย่างเข้ามาและแจกจ่ายให้กับอุปกรณ์อื่น จะเร็วหรือไม่ขึ้นกับความเร็วที่ใชสัญญาณนาฬิกาหรือ Clock Speed และยุคปี 2024 เป็น้ตนไปจะไม่ได้มีแค่นั้น เพราะจะมีการประมวลผล AI ที่มีหน่วย TOPS เข้ามามีบทบาทด้วย
3. แรม (RAM)
RAM หรือ Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำชั่วคราว จะทำงานต่อเมื่อคุณเปิดโปรแกรมค้างไว้และข้อมูลจะโหลดไปเก็บในหน่วยความจำเช่น Hard Disk, SSD เป็นต้น เนื่องจากเป็นหน่วนยความจำชั่วคราว หากคุณปิดเครื่องหรือรีสตาร์ท ความจำนี้จะถูกลากออกไป
เป็นที่มาว่าทำไมถ้าคอมพิวเตอร์ช้าเราควรจะปิดโปรแกรม หรือไม่ก็เพิ่ม RAM ก็มีส่วนที่จะทำให้เกิดความเร็วเพิ่มขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน
4. ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
อุปกรณ์เก็บความจำแบบหนึ่งที่มีเป็นแผ่นขนาดใหญ่พร้อมมอเตอร์หมุนเพื่อช่วยให้ข้อมูลต่างๆ เก็บเข้ไปได้เช่นเดียวกันทำหน้าที่เหมือนกับ DVD/CD-ROM แต่าว่ามีความจำที่เยอะกว่า หากใครได้ใช้อาจจะสังเกตว่าเครื่องอืดทำงานไม่ได้เร็วมากนัก แต่มันเก็บความจำได้ดีกว่า SSD ที่จะแนะนำต่อไป
5. SSD
ทำหน้าที่เหมือนกับ Hard Disk แต่ใช้ความจำ Flash Memory ที่ไม่มีชิ้นส่วนขยับช่วยให้การเขียนเร็วกว่า เหมาะกับการเก็บโปรแกรม หรือระบบปฏิบัติการที่ต้องการความเร็วสูงเป็นต้น
6. การ์ดแสดงผล (Display Card)
GPU (Graphics Processing Unit) หรือการ์ดจอ เป็นอีกชิ้นส่วนที่เดี๋ยวนี้เริ่มมีความสำคัญแล้วเพราะเนื่องจากบางโปรแกรมต้องการหน่วนประมวลผลกราฟิกและจัดเก็บได้ชั่วคราว การมีชิ้นส่วนนี้จะทำให้ภาพออกมาส่วนและอาจจะช่วยการประมวลผลภาพทำได้ดี และเป็นอีกชิ้นส่วนที่กินไฟสุด
7. พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
สุดท้ายคือ พาวเวอร์ซัพพลาย ชื่อก็บอกตรงๆ แล้วว่ามันคือหน่วยจ่ายไฟที่ต้องรับไฟเข้ามาและปล่อยไฟให้อุปกรณ์มีกำลังเป็น วัตต์ (W) ยิ่งเลือกตัวเลขสูงก็จะจ่ายไฟได้กับอุปกรณ์ที่มาก แต่ถ้าเลือกผิดก็อาจจะทำให้ไม่มีแรงจะจ่ายไฟได้ วิธีการดูอาจจะเลือกซื้อตามกำลังของ GPU เป็นหลักเพราะส่วนนี้กินไฟเยอะสุดแล้ว
นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนอื่นๆ เช่น Floppy Disk, DVD-CD ROM, โมเด็ม ที่ตอนนี้ไม่ได้เป็นที่นิยมเหมือนแต่ก่อน ซึ่งคุณจะพบได้กับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ หน่อยครับ