วิธีสังเกตว่า "Facebook Page" ไหนเป็นมิจฉาชีพ หรือไม่มิจ ดูแค่ติ๊กถูกคงไม่พอ!

วิธีสังเกตว่า "Facebook Page" ไหนเป็นมิจฉาชีพ หรือไม่มิจ ดูแค่ติ๊กถูกคงไม่พอ!

วิธีสังเกตว่า "Facebook Page" ไหนเป็นมิจฉาชีพ หรือไม่มิจ ดูแค่ติ๊กถูกคงไม่พอ!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่ามิจฉาชีพนั้นก็มาในหลากหลายรูปแบบ บางคนก็กำลังเดือดร้อนอยู่ก็อาจจะถูกหลอกแบบง่ายๆ และยิ่ง Facebook เองก็มี Page ปลอมต่างๆ มากมายที่เราต้องสกรีน วันนี้ Sanook Hitech มีวิธีสังเกต Page Facebook ว่า อันไหนแท้และอันไหนปลอม มาฝากกันพร้อมแล้วมาดูกันเลย 

วิธีสังเกต Facebook Page ปลอมจากมิจฉาชีพ

ดูจาก URL ของเว็บไซต์

สำหรับคนที่เข้าผ่านคอมพิวเตอร์การแสดงผลชื่อ Page ผ่านทาง URL ถ้าเป็น Page จริงจะแสดงว่า https://www.facebook.com/ชื่อPage เป็นต้น ตัวอย่างง่ายๆ Facebook Page Sanook Hitech คือ https://www.facebook.com/SanookHitech เป็นต้น รวมถึง Page ราชการเช่น กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี - บก.ปอท. คือ https://www.facebook.com/jahooktcsd/?locale=th_TH เป็นต้น

หากเป็น https://www.facebook.com/profile.php?id=xxxxxx ให้คิดไว้ก่อนว่าเป็น Page ปลอมแน่นอน!

ดูจากรูปประกอบของ Page

 ตัวอย่าง Page ปลอม

สังเกตให้ดีกับ Page ถ้าเข้าไปแล้วดูแล้วแปลกๆ เช่นรูปภาพของหน่วยราชการเช่น Page ที่เปิดอันแรกคือ Page ปลอม จะมีโลโก้ที่ไม่เหมือนกัน และไม่มีการ Post อะไรนอกจากซื้อบูสต์, กดแผนที่ไปก็ไปไหนก็ไม่รู้ ใส่เบอร์โทรฯ ที่แปลกๆ นั่นให้รู้ไว้ก่อนว่า Page ปลอม หรือถ้าเป็นร้านค้าก็อ้างถึงบุคคลที่มีชื่อเสียงมาอิงกับสินค้าของตน ก็เป็นไปได้ว่า "นั่นคือ Page ปลอม"

batch_screenshot2024-07-292_1ตัวอย่าง Page จริง

แต่หากไม่แน่ใจว่ากดเข้าไปแล้วจะมีปัญหาหรือไม่เช่นกลัวคอมพิวเตอร์ถูกโจมตี แนะนำให้เข้าในโหมดซ่อนตัวตน หรือ Incognito Window ครับ

บูสต์โฆษณามากกว่าปกติ

การบูสต์เป็นอีกสิ่งที่ทำให้เราเห็นเนื้อหาของ Page นั้นๆ บ่อย แต่ว่า ถ้าบูสต์มากไปและลงโฆษณาชวนเชื่อว่าของถูก หรือ หลอกให้ทำอะไรเช่น การแจ้งความออนไลน์ทาง Facebook นั้นไม่ใช่ความจริง แต่เราขอแยกออกเป็น 2 เรื่องก่อน

  • การซื้อของแม้ว่า Facebook จะมี Market Place แต่โดยมากแบรนด์ใหญ่ๆ จะมีช่องทางซื้อของตัวเองที่ไม่อยู่บน Facebook
  • สำหรับการแจ้งความนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้เผยออกมาก่อนหน้านี้ จะไม่มีการแจ้งความออนไลน์ผ่านทาง Facebook จะต้องผ่านเว็บไซต์ https://thaipoliceonline.com เฉพาะคดีเกี่ยวกับ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี เท่านั้น! 

หลอกเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้

สุดท้ายบางครั้งเราจะเห็นว่าเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้ ทั้งดารา, ผู้ประกาศข่าว, YouTuber มักจะเป็นจะเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพ ที่นำมาหลอกคุณเสมอ บางครั้งอาจจะไม่ได้ใช้แค่ภาพวิดีโอปกติ แต่นำเสียงมาดัดแปลงด้วย AI ก็มีเยอะมากมายเต็มไปหมด ถ้า มีการเห็นจากบูสต์

แล้วเราจะป้องกันได้อย่างไร

นอกจากวิธีสังเกต Page ปลอมแล้ว เรามีวิธีป้องกันง่ายๆ ดังนี้

  • อย่าหลงเชื่อโฆษณากับของที่ลดราคามากๆ
  • อ่านข่าวนอก Facebook บ้างก็ดีนะ
  • หากไม่มั่นใจอะไร ก็อปชื่อ Page ไปค้นที่ Google ก่อน
  • เครื่องหมายติ๊กถูกควรสังเกตไว้ 

แค่นี้คุณก็ปลอดภัยจากภัยต่างๆ จาก Facebook แล้วครับ ครั้งหน้า Sanook Hitech จะมี Tips อะไรมานำเสนออีกอย่าลืมกลับมาติดตามกันต่อครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook