Kintone ชูโซลูชัน No-code เสริมแกร่งธุรกิจไทย สู่ Digital Transformation แบบ DIY

Kintone ชูโซลูชัน No-code เสริมแกร่งธุรกิจไทย สู่ Digital Transformation แบบ DIY

Kintone ชูโซลูชัน No-code  เสริมแกร่งธุรกิจไทย  สู่ Digital Transformation แบบ DIY
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Kintone (ประเทศไทย) บริษัทในเครือของ Cybozu ผู้ให้บริการกรุ๊ปแวร์สำหรับธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่น มุ่งมั่นนำเสนอโซลูชันเทคโนโลยี No-code เพื่อช่วยตอบโจทย์การทำงานของผู้คนในส่วนต่าง ๆ ในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนโฉมออฟฟิศสู่องค์กรดิจิทัลแบบ Do-It-Yourself (DIY) ส่งเสริมองค์กรไทยสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้เพื่อการเติบโตและการแข่งขันในระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ มั่นใจระบบการทำงาน Kintone อัพเดต มีแนวทางการปกป้องข้อมูลลูกค้าให้ปลอดภัย ภายใต้การบริหารจัดการอย่างเหมาะสม 

 

นายน้ำยา วายุภาพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Kintone (Thailand) เปิดเผยว่า ตามข้อมูลของ Deloitte (ดีลอยท์) ประเทศไทย รายงานว่า จากการสำรวจ พบว่าการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลมีความแตกต่างกันทุกปี ในช่วงปี 2564-2566 โดยองค์กรส่วนใหญ่เร่งรัดในดําเนินการปรับองค์กรสู่ดิจิทัล ในปี 2021 หรือเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระยะแรกๆ แต่ก็ยังมีองค์กรบางแห่งไม่ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจ เนื่องจากขาดประสบการณ์และการดําเนินการล่าช้า ต่อมาในปี 2022-2023 องค์กรต่างๆ เริ่มมีการปรับตัวเชิงกลยุทธ์และเลือกใช้แนวทางที่เหมาะกับองค์กรของตนมากขึ้น

โดยมีอัตราความสําเร็จในการปรับตัวสู่ดิจิทัลก็ดีขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากประสบการณ์ที่ได้รับมาก่อนและการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมากขึ้น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลจึงอยู่ในระดับปานกลางตลอดปี 2023 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่ทรงพลังที่สุดในภูมิภาคนี้ โดยมีประชากรกว่า 80% สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และเป็นบริษัทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMBs) มากกว่า 99% และแสดงความสนใจอย่างมากในการลงทุนเปลี่ยนโฉมสู่ออฟฟิศดิจิทัลมากถึง 43% แต่ก็ยังคงมีอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้

SMBs ต้องระมัดระวังเรื่องต้นทุน แต่โซลูชันดิจิทัลยังช่วยได้

ขณะที่ตลาดเทคโนโลยีโลกมีโซลูชันที่สร้างสรรค์ให้เลือกใช้งานมากมาย แต่เจ้าของธุรกิจชาวไทยจำนวนมากกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและบำรุงรักษาระบบใหม่ที่มีความซับซ้อนมากกว่าวิธีการแบบดั้งเดิม ส่งผลให้บริษัทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMBs)ส่วนใหญ่ไม่มีการจ้างบุคลากรไอทีที่มีความสามารถในตลาดที่มีความต้องการสูงในประเทศได้ อีกทั้งเมื่อพิจารณาถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ก็ยังมีความกังวลหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการนำโซลูชันซอฟต์แวร์มาใช้ ซึ่งอาจถูกออกแบบให้มีราคาย่อมเยาในช่วงเริ่มต้น แต่ค่าสมาชิกในระยะยาวอาจมีการเพิ่มมากขึ้น ทำให้องค์กรต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นควรประเมินค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ พร้อมทั้งพิจารณาคุณค่าและการประหยัดต้นทุนในระยะยาว และสำรวจทางเลือกอื่นๆ ให้เหมาะสมกับองค์กรก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ

จากสถานการณ์ดังกล่าว Kintone ผู้สร้างดิจิทัลโซลูชันพื้นที่การทำงานแบบ DIY เป็นส่วนสำคัญที่จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมวงการธุรกิจไทย สร้างระบบใหม่ให้สามารถใช้งานควบคู่กับระบบเดิม ระบบที่ทุกองค์กรในไทยสามารถใช้ทำ Digital Transformation ให้ขับเคลื่อนไปได้ไกลยิ่งขึ้น โดยตอบสนองไปตามความต้องการของผู้ใช้งานผ่านการสร้างแอปพลิเคชันที่สามารถจัดการด้วยตนเองได้แบบครบวงจรแบบ all-in-one พร้อมออกแบบ Workflow ในองค์กรได้แบบไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรม (no-coding) ให้ยุ่งยาก และเชื่อมต่อทุกระบบผ่าน Cloud Service ทำให้พนักงานที่อยู่ที่สำนักงาน บ้าน หรือประชุมกับลูกค้าก็สามารถเข้าถึงระบบการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกัน Kintone ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของหลายฟังก์ชั่นธุรกิจ ในองค์กร อาทิ เช่น ฝ่ายบุคคลและแอดมิน, ฝ่ายขาย, ฝ่ายผลิต, ฝ่ายจัดซื้อ, ฝ่ายIT, ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์, ฝ่ายวางแผนองค์กร และอื่นๆ ทำหน้าที่เป็นระบบศูนย์กลางและเป็นประโยชน์กับการดำเนินธุรกิจ ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน เสริมประสิทธิภาพให้องค์กร ไม่ว่าจะเป็นเอกสารกองโต, ไฟล์งานที่กระจัดกระจาย การประสานงานที่ล่าช้าและซ้ำซ้อน ช่วยลดความเสี่ยงข้อมูลหาย โดย Kintone จะช่วยเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และรับมือกับคู่แข่งขันอย่างรวดเร็ว ส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ประสบความสำเร็จในเศรษฐกิจยุคใหม่

จุดเด่นของ Kintone คือ การนำ SaaS (Software as a Service) เข้ามาปรับใช้กับธุรกิจของ Kintone เป็นการให้บริการในด้านซอฟต์แวร์แบบหนึ่ง ผ่านระบบ Cloud ซึ่งทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงแค่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็จะสามารถเข้าใช้งานหลายซอฟต์แวร์ เช่น E-mail, Dropbox, Canva เป็นต้น รวมถึงซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมที่ต้องใช้งานในรูปแบบออฟไลน์ ก็มีการพัฒนามาใช้ในรูปแบบ SaaS แทน เช่น Microsoft Office 365 ที่เปลี่ยนมาเป็น Google Docs, Google Sheets, Google Slides เป็นต้น

เป็นการช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวเข้ากับโลกดิจิทัลและนำข้อมูลมาเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งซอฟต์แวร์ SaaS ให้ความยืดหยุ่นในรูปแบบต่างๆ สามารถเปลี่ยนแพ็คเกจการสมัครสมาชิกที่เลือกใช้ ขยายไปพร้อมกับธุรกิจที่กำลังเติบโตได้

ตามความต้องการ โดย ซอฟต์แวร์ SaaS ของ Kintone มีความพร้อมรองรับในการสำรองข้อมูล และการรักษาความปลอดภัย ซึ่งบริการดังกล่าว ลูกค้าจ่ายค่าบริการเพียงค่าการสมัครล็อกอินเข้ามาใช้งานเท่านั้น เบื้องต้น 1 บริษัทที่ต้องการให้มีพนักงานเข้าใช้งาน 5-10 คน เฉลี่ยต่อเดือนจ่ายเพียงประมาณ 4,000 บาทเท่านั้น

ระบบ DIY ไม่ใช่การพึ่งพาตัวเองทั้งหมด

แม้ว่าโซลูชันพื้นที่ทำงานแบบ DIY ของ Kintone จะถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งระบบเองได้ 100% แต่ไม่ได้หมายความว่าความรับผิดชอบทั้งหมดจะอยู่ที่ผู้ใช้งาน 100% เนื่องจาก Kintone มีทีมงานซัพพอร์ตสำหรับผู้ใช้งานคนไทยด้วยภาษาไทย พร้อมให้การสนับสนุนที่ครอบคลุมการติดตั้ง ออกแบบพื้นที่ทำงาน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือจากทีมให้ความรู้ด้านดิจิทัลตลอดเวลา ซึ่งทุกคนมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและพลวัตในองค์กร ทำให้มั่นใจได้ว่าจะให้คำแนะนำผู้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจและพนักงานมีความรู้ด้านดิจิทัลที่จำเป็นในการใช้ประโยชน์จากศักยภาพทั้งหมดของเทคโนโลยี DIY

ทั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญเพื่อเร่งการปฏิรูปดิจิทัลในประเทศไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ กระบวนการ และวัฒนธรรมองค์กร เพื่อสร้างมูลค่าใหม่และพัฒนาธุรกิจให้ก้าวกระโดดจากเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMBs) จำเป็นต้องมีโซลูชันที่รวมความสามารถในการจ่ายได้กับความสามารถในการแก้ไขปัญหาช่องว่างทักษะดิจิทัล การนำโซลูชัน DIY มาใช้มากขึ้น ประเทศไทยก็จะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ครอบคลุมมากขึ้น ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเติบโตในเศรษฐกิจร่วมสมัยได้อย่างยั่งยืน

โอกาสการเติบโตของ Kintone ยังมีอีกมาก เนื่องจากปัจจุบัน Kintone ได้มีลูกค้าในประเทศไทยประมาณ 300-400 บริษัท จากทั้งหมด 1,200 บริษัทกลุ่มประเทศ SEA (South East Asia) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทญี่ปุ่นที่เข้ามาทำตลาดในไทย แต่เราก็เห็นจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น มากขึ้นจากบริษัทไทยที่กำลังเสาะหาระบบมาช่วยในการทำงาน ซึ่งทางบริษัทเน้น 3 กลุ่มธุรกิจ คือ กลุ่มเซอร์วิส เทรดดิ้ง และแมนูแฟกเจอริ่ง รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ก็สามารถใช้งานโซลูชันของทาง Kintone ได้ทั้งหมด ซึ่งอยู่ระหว่างการพูดคุย ทั้งนี้ Kintone มีเป้าหมายสำคัญคือ จะสามารถเข้าถึงลูกค้า 5,000 บริษัทกลุ่มประเทศ SEA ภายในระยะเวลา3 ปี

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook