อัปเดต เปิดโรมมิ่งจากไทย หรือ ซื้อ eSIM แบบไหนคุ้มสุด

อัปเดต เปิดโรมมิ่งจากไทย หรือ ซื้อ eSIM แบบไหนคุ้มสุด

อัปเดต เปิดโรมมิ่งจากไทย หรือ ซื้อ eSIM แบบไหนคุ้มสุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับสายเที่ยวที่ชีวิตขาดอินเทอร์เน็ตไม่ได้ ไม่ว่าจะหาข้อมูลเที่ยว แชร์โลเคชั่น อัปโหลดรูปเก๋ๆ หรือทำงานจากที่ไหนก็ได้ทั่วโลก ตัวเลือกซิมอินเทอร์เน็ตต่างประเทศมีหลายแบบ ทั้งซิมท้องถิ่น, eSIM, และซิมโรมมิ่ง แต่ละประเภทมีจุดเด่นและข้อจำกัดที่ต่างกันไป แล้วถ้าต้องเดินทางครั้งหน้า ควรเปิดโรมมิ่งจากไทย หรือซื้อ eSIM ดีกว่ากัน? วันนี้เราจะมารีวิวชัดๆ ให้คุณเห็นทุกข้อดี-ข้อเสีย เพื่อให้เลือกใช้งานได้คุ้มค่า ตรงใจ และตอบโจทย์การเดินทางที่สุด

โรมมิ่ง กับ eSIM คืออะไร เหมือนกันไหม

โรมมิ่ง คือ ใช้ซิมเบอร์เดิมจากไทย แต่เปิดบริการต่างประเทศ ราคาสูงกว่า สะดวกไม่ต้องเปลี่ยนซิม แต่เน็ตน้อยและสัญญาณอาจช้ากว่า eSIM

eSIM คือ ซิมดิจิทัล ไม่ต้องเปลี่ยนซิมในเครื่อง ซื้อออนไลน์แล้วสแกน QR Code ใช้งานได้เลย ราคาถูก ใช้เน็ตได้เยอะ สัญญาณดี

ตารางเปรียบเทียบ โรมมิ่ง vs eSIM 

ประเด็นสำคัญ เปิดโรมมิ่งจากไทย ซื้อซิมท้องถิ่น eSIM ต่างประเทศ
ความสะดวก สะดวกสูงสุด ใช้เบอร์เดิม ต้องเปลี่ยนซิม เบอร์ใหม่ สะดวกสูง ใช้คู่กับเบอร์เดิมได้
ราคา สูงกว่า มีค่าธรรมเนียมเพิ่ม ถูกกว่า ถูกกว่า
คุณภาพสัญญาณ อาจหน่วง บางครั้งสัญญาณไม่เสถียร ดีที่สุด ใช้เครือข่ายท้องถิ่นโดยตรง ดีมาก ใกล้เคียงกับซิมท้องถิ่น
ปริมาณการใช้งาน จำกัดตามแพ็กเกจ เลือกได้หลากหลาย ปริมาณเยอะ เลือกได้หลากหลายมาก เน็ต Unlimited ก็มี

ภาพรวมตลาดซิม Roaming ในปัจจุบัน

เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้วิธีการซื้อซิม Roaming มีความหลากหลายมากขึ้น นอกจากการซื้อซิมการ์ดแบบดั้งเดิมจากผู้ให้บริการเครือข่ายในไทยแล้ว ปัจจุบันยังมีทางเลือกที่น่าสนใจอย่าง eSIM (Embedded SIM) ที่สามารถซื้อและเปิดใช้งานได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ทำให้การเดินทางสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

batch_unsplash_baanebxe9no1

1. การซื้อซิม Roaming จากผู้ให้บริการในไทยก่อนออกเดินทาง

ข้อดี

  • ความสะดวกสบายก่อนเดินทาง: สามารถเตรียมซิมให้พร้อมใช้งานได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาหาซื้อที่สนามบินหรือในต่างประเทศ
  • ความคุ้นเคย: ใช้งานซิมของผู้ให้บริการที่คุ้นเคย อาจมีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าปัจจุบัน
  • ความแน่นอน: ทราบราคาและปริมาณข้อมูลที่แน่นอนก่อนเดินทาง ทำให้วางแผนค่าใช้จ่ายได้ง่าย

ข้อเสีย

  • ราคาที่อาจสูงกว่า: โดยทั่วไปแล้ว ซิม Roaming จากผู้ให้บริการในไทยมักจะมีราคาสูงกว่าการซื้อซิมท้องถิ่นหรือ eSIM ในต่างประเทศ
  • ข้อจำกัดของแพ็กเกจ: แพ็กเกจ Roaming อาจมีข้อจำกัดด้านปริมาณข้อมูล, ระยะเวลาใช้งาน, หรือประเทศที่รองรับ
  • ความยุ่งยากในการจัดการ: ต้องเปลี่ยนซิมการ์ดเมื่อถึงต่างประเทศ และอาจต้องเก็บรักษาซิมเดิมไว้

ตัวอย่างของซิมท่องเที่ยวเช่น SIM 2 Fly ของ AIS หรือ True Traveler SIM ที่อาจจะมีบริการที่แตกต่างกันบางรายมีประกันอุบัติเหตุเมื่อลงทะเบรียนเช่นกัน

เหมาะสำหรับ: ผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายสูงสุดก่อนเดินทาง และไม่กังวลเรื่องราคามากนัก หรือผู้ที่เดินทางไปยังประเทศที่ไม่คุ้นเคยและต้องการความมั่นใจในการเชื่อมต่อ

6034

2. การซื้อซิม Roaming ผ่านแอปพลิเคชัน 

รูปแบบใหม่ที่หลายคนเริ่มรู้จักเพราะ Apps เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเริ่มมีซิมการ์ดขาย ในรูปแบบของซิมต่างแดนที่ราคาปีะหยัดแต่ใช้งานได้ปริมาณที่เยอะ และยังมาพร้อมกับความสะดสกสบายเพราะเป็นแบบ eSIM

ข้อดี

  • ความสะดวกและรวดเร็ว: สามารถซื้อและเปิดใช้งานได้ง่ายๆ ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ไม่ต้องเสียเวลาหาซื้อซิมการ์ด
  • ความหลากหลายของตัวเลือก: มีแอปพลิเคชันและผู้ให้บริการ eSIM ให้เลือกมากมาย พร้อมแพ็กเกจที่หลากหลายตามความต้องการและงบประมาณ
  • ราคาที่เป็นมิตรกว่า: เนื่องจาก eSIM เหล่านี้มักจะมีราคาที่คุ้มค่ากว่าซิม Roaming จากผู้ให้บริการในไทย หรือซิมการ์ดแบบปกติในบางประเทศ
  • ไม่ต้องเปลี่ยนซิม: สามารถใช้งาน eSIM ควบคู่ไปกับซิมการ์ดเดิมได้ ทำให้ไม่พลาดการติดต่อจากเบอร์หลัก
  • เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: ลดการใช้ซิมการ์ดพลาสติก

ข้อเสีย

  • ความเข้ากันได้ของอุปกรณ์: โทรศัพท์มือถือต้องรองรับเทคโนโลยี eSIM ซึ่งอาจยังไม่แพร่หลายในทุกรุ่น
  • ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ: ควรเลือกผู้ให้บริการ eSIM ที่มีความน่าเชื่อถือและมีรีวิวที่ดี
  • การตั้งค่าที่อาจซับซ้อนเล็กน้อย: สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับการตั้งค่า อาจต้องใช้เวลาศึกษาเล็กน้อย
  • ความเสี่ยงในการเชื่อมต่อ: หากมีปัญหาในการเชื่อมต่อ อาจต้องพึ่งพาการสนับสนุนลูกค้าออนไลน์ ซึ่งอาจใช้เวลานาน

แอปพลิเคชันยอดนิยมสำหรับการซื้อ eSIM

  • Klook: เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยม มี eSIM ให้เลือกหลากหลายประเทศและแพ็กเกจ มักมีโปรโมชั่นที่น่าสนใจ
  • Airalo: เป็นผู้ให้บริการ eSIM โดยตรง มีแพ็กเกจให้เลือกหลากหลาย และราคาค่อนข้างดี
  • Holafly: เน้นแพ็กเกจแบบ Unlimited Data สำหรับบางประเทศ
  • Nomad: อีกหนึ่งผู้ให้บริการ eSIM ที่มีตัวเลือกหลากหลายและราคาที่แข่งขันได้

เหมาะสำหรับ: สายเทคฯ ที่คุ้นเคยกับการใช้งานแอปพลิเคชัน และต้องการความสะดวก รวดเร็ว และคุ้มค่าในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างเดินทาง 

สรุป ซิมโรมมิ่งจากไทย vs eSIM ซื้อแบบไหนคุ้มกว่ากัน?

  • หากคุณต้องการ ความสะดวกที่สุด ไม่ต้องกังวล พร้อมยอมจ่ายแพงขึ้นเล็กน้อย แนะนำให้ซื้อซิม Roaming จากผู้ให้บริการไทย
  • แต่ถ้าคุณเป็น สายเทคฯ ที่เน้นความคุ้มค่า สะดวก ไม่อยากเปลี่ยนซิมบ่อยๆ และต้องการประหยัดเงิน การซื้อ eSIM ผ่านแอปพลิเคชันจะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด

อย่างไรก็ตามการซื้อเน็ตซิมเวลาไปต่างประเทศทั้ง 2 รูปแบบถือว่ามีดีทั้งคู่แต่ราคาคือคำตอบและสิทธิพิเศษต่างๆ ก็เป็นคำตอบเช่นเดียวกันว่าอยากจ่ายแพงกว่าแต่ได้สิทธิพิเศษเยอะกว่า หรือ ซื้อแบบใน Apps ราคาถูกกว่าแต่อาจจะต้องยอมลุ้นด่านหน้าอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้วว่ายอมเลือกแบบไหนครับ

อ่านเพิ่มเติม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้