รีวิว i-mobile 310 Music Capsule

รีวิว i-mobile 310 Music Capsule

รีวิว i-mobile 310 Music Capsule
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกพอใจมากว่า ที่จะให้โทรศัพท์มือถือของพวกเขาสามารถฟังเพลงได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยไม่สนใจกล้องถ่ายรูปเลย ที่สำคัญขนาดที่พกพาได้สะดวกทั้งในกระเป๋าเสื้อหรือกางเกง แม้กระทั่งให้มันแขวนคอได้โดยที่ไม่หนักจนเกินไปก็ยอม ได้ทั้งนั้น และที่สำคัญสุดๆ คือ จะต้องเก็บเพลงได้เยอะๆ พร้อมปุ่มควบคุมเพลงที่แยกออกต่างหากจากปุ่มกดตัวเลขและเมนู เท่าที่ได้เกริ่นมาทั้งหมดนั้นคือความต้องการของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ต้องการให้มีเครื่องเล่นเพลงพร้อมโหมดการเล่นอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งดูๆ แล้วจะเข้าทางดีกับ i-mobile 310 ที่เป็นมิวสิคโฟนรุ่นใหม่ ที่น่าจะตรงใจคนรักเสียงเพลงได้มากที่สุดอีกรุ่นหนึ่งก็เป็นได้ โดยเฉพาะกับรูปลักษณ์ที่เข้าที่เข้าทางพอๆ กับเครื่องเล่น MP3 ยังไงยังงั้น ตั้งแต่ขนาดแบบทรงแคบซูลที่ 90 x 35 x 17.8 มิลลิเมตร มีน้ำหนัก 64 กรัม เคลือบด้วยสีที่มีคุณลักษณะมันวาวให้ความรู้สึกคล้ายกระจกเงา ซึ่งในรุ่นมีหลายสีให้เลือกใช้ แล้วแต่รสนิยม แต่สำหรับสีของเครื่องที่เรานำมาทดสอบนั้นจะเป็นสีเงินปรอท (Dark-Quicksilver) สวยงามแปลกตาดีครับ หน้าจอ ส่วนของจอแสดงผลนั้นจะมีการติดตั้งหน้าจอแบบ OLED 65,536 สี ขนาด 1.18 นิ้ว สามารถแสดงผล รายละเอียดและสามารถปรับตั้งค่าหน้าจอ (Screen Settings) ต่างๆ ได้ทั้ง วันที่และเวลา (Date and Time), ตั้งค่าสีไฮไลท์ (Highlight bar) สำหรับการเลือกโทนสีสำหรับแถบเลือกเมนูย่อยทั้งแบบโทนสีหรือแทรกภาพวอลเปเปอร์ลงไปก็ได้, ตั้งค่าภาพพื้นหลัง (Wallpaper), สีตัวอักษร (Colour input), ไฟหน้าจอ (Backlight timer) สำหรับตั้งค่าเวลาแสดงไฟหน้าจอแบบเปิดใช้งานตลอด/5/10/15/20/25 วินาที, ความสว่างหน้าจอ (Backlight level), หน้าจอหลัก (Idle display) สำหรับตั้งค่าแสดงเมนูซ่อนบนหน้าจอหลัก, ข้อความทักทาย (Greeting) รวมไปถึงการตั้งค่าปุ่มกดต่างๆ รวมถึงสถานะและการทำงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าจอแสดงผลอื่นๆ อย่าง ไฟปุ่มกด (Keypad lamp), ล็อคอัตโนมัติ (Autokeylock), เมนูลัด (Shortcut menu), รับทุกปุ่ม (Anykey ans.), ใช้บนเครื่องบิน (Airplane mode), เบอร์ส่วนตัว (Mynumber), (Auto On/Off) และ (Poweron music) รูปแบบเมนู มีให้เลือกใช้งานภาษาเมนูทั้งภาษาไทย, อังกฤษ และจีน สามารถตั้งค่าภาษาเมนูได้โดยการเลือกเข้าที่เมนู (Menu) > ตั้งค่า (Settings) > ตั้งค่าตัวเครื่อง (Phone setup) > ภาษา (Language) ส่วนเมนูหลักนั้นจะแสดงเป็นรูปไอคอนสีสันสวยงามในแบบของ Page style แสดงทีละหน้าตามการเลื่อนปุ่ม Jog Dial เพื่อเลือกเมนู ส่วนเมนูหลักๆนั้นจะมีอยู่ทั้งหมด 9 เมนูด้วยกัน อันได้แก่ - MP3 เมนูเครื่องเล่นเพลง สำหรับการใช้งานเครื่องเล่นเพลง MP3 พร้อมโหมดปรับตั้ง - FM Radio เมนูวิทยุเอฟเอ็ม สำหรับเข้าใช้งานวิทยุ FM พร้อมโหมดปรับตั้ง - Mobile เมนูการโทร สำหรับการเข้าใช้งานจัดการการโทรเข้า-ออกต่างๆ ตั้งแต่การเลือกดู สมุดรายชื่อ (Phonebook), ข้อความ (Message), บันทึกการโทร (Callrecord), บริการ (Service) - Settings เมนูตั้งค่า สำหรับการเข้าไปตั้งค่าเครื่องทั้งการตั้งค่า ตัวเครื่อง (Phone), วันที่และเวลา (Date&Time), การโทร (Call), เครือข่าย (Network), ความปลอดภัย (Security), รีเซ็ตการตั้งค่า (Reset settings) - Profiles เมนูรูปแบบ สำหรับการเลือกสถานการณ์ใช้งานของเครื่องทั้งแบบ ปกติ (Normal), ประชุม (Meeting), นอกอาคาร (Outdoor), ในรถยนต์ (Car), วีไอพี (VIP), ชุดหูฟัง (Headset) - Filemanager เมนูจัดการไฟล์ สำหรับการเลือก ดูไฟล์ (Fileviewer), สถานะ (Status), ฟอร์แม็ต (Format) - Organizer เมนูตารางนัดหมาย สำหรับการเข้าใช้งานเครื่องมือผู้ช่วยอย่าง นาฬิกาปลุก (Alarm), สมุดบันทึก (Memo), ปฏิทิน (Calendar), เครื่องแปลงระบบปฏิทิน(Calendar cnvt.), เวลาสากล (World time) - Tools เมนูเครื่องมือ สำหรับการเข้าใช้งาน เครื่องบันทึกเสียง (Voice recorder), การเชื่อมต่อกับ PC (Mass storage), เครื่องคิดเลข (Calculator), นาฬิกาจับเวลา (Stopwatch) - Games เมนูเกมส์ สำหรับการเลือกเข้าไปใช้งานเกมส์ และแอ็ปพลิเคชั่นต่างๆได้ สมุดโทรศัพท์ สามารถลงบันทึกรายการเพิ่มเบอร์และเลขหมายโทรศัพท์ได้ทั้งในตัวโทรศัพท์ (500 รายการ) หรือจะเลือกบันทึกลงในซิมการ์ด ก็ได้ ตามแต่ที่ผู้ใช้ถนัด นอกจากนี้การลงบันทึกหรือเขียนชื่อเพื่อลงรายการบันทึกลงเครื่องนั้นสามารถเลือกลงรายการต่างๆทั้ง ชื่อหรือนามสกุล, เบอร์มือถือ, บ้าน, ชื่อบริษัท, เบอร์แฟกซ์, ที่ทำงาน, E-Mail, ตั้งภาพโทรเข้ารายบุคคล, จัดกลุ่มผู้โทร, ตั้งภาพถ่ายหรือวีดีโอคอล และตั้งเสียงรายบุคคลก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าเลขหมายพิเศษ, เบอร์บริการพิเศษ และ หมายเลขฉุกเฉิน หรือจะตั้งค่านามบัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือ V-Card ได้ รวมถึงเลือกเปิด-ปิดเสียงบอกเบอร์โทรขณะกดเลขหมายเพื่อโทรออกได้เช่นกัน และหากต้องการตั้งเปิด-ปิด การโทรด่วนบนปุ่มตัวเลขก็สามารถตั้งการใช้งานได้บนปุ่มหมายเลข 2-9 ก็ได้ เสียงเรียกเข้า นอกจากเสียงเรียกเข้าในระดับ 64 โพลีโฟนิคแล้ว ยังสามารถรองรับเสียงโทรเข้าแบบเพลง MP3, MIDI, AMR และ MMF ได้ด้วย ทั้งนี้ภายในเครื่องจะมีเสียงมาตรฐาน และเพลง MP3 แถมติดเครื่องมาให้หลายเพลงให้คุณได้ใช้งานกัน รวมไปถึงเครื่องมือแต่งเพลง (Melody composer) สำหรับเพลงที่มีความพิเศษเฉพาะตัว ตามความพอใจของผู้ใช้เอง โดยสามารถเลือกเข้าใช้งานเครื่องมือแต่งเพลงได้ที่เมนู มัลติมีเดียครับ เครื่องเล่นเพลง ในสไตล์ MP3 Player พร้อมโหมดตั้งค่ามากมายทั้งการตั้งรายการใน Play list ตั้งแต่การจัดกลุ่มรายการเพลงโปรด (My favorite) หรือจะแสดงรายการเพลงทั้งหมด (All music) ก็ได้ มีอีควอไลเซอร์ (Equalizer) มาให้เลือกปรับตั้งลักษณะรูปแบบเสียงเพลงซึ่งจะมีรูปแบบเสียงมาให้เลือกทั้งแบบ Nomal/Rock/POP/Treble/Bass แล้วแต่ความชอบ หรือจะตั้งค่าการเล่นแบบเล่นซ้ำ (Repeat), แบบสุ่ม (Random) ทั้งยังสามารถเลือกให้เล่นในขณะใช้งานเมนูอื่น (Play background) ได้ด้วย และยังไม่ลืมใส่ลูกเล่นให้ผู้ใช้ได้สามารถเลือกโทนสีของเครื่องเล่นเพลง (Skin) ได้แบบสีมาตรฐาน/สีฟ้า/สีน้ำตาล/สีเขียว วิทยุ FM มาพร้อมโหมดปรับตั้งอย่างการเลือกให้เล่นในขณะใช้งานเมนูอื่น (Play background), เลือกสถานีที่ถูกบันทึกไว้ (Choose Stn.), ตั้งชื่อสถานี (Name Stn.), ค้นหาเอง (Manual tuning) และ ค้นหาอัตโนมัติ (Auto tuning) หรือจะตั้งเลือกเป็นการพิมพ์คลื่นความถี่ (Set frequency) และแบบค้นหาทั้งหมด (Seach all) เลยก็ได้แล้วแต่สะดวก รูปแบบการรับ/ส่งข้อความ ไม่เพียงเฉพาะข้อความสั้นแบบ SMS เท่านั้น ยังสามรถรองรับข้อความแบบเสียงหรือ Voicemail และการเตือนข้อความข่าวหรือสถานะเครื่องรูปแบบ Broadcast Messages ได้เช่นกัน รองรับทั้งอ่านไทย และพิมพ์ไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบ การเชื่อมต่อ มีระบบเชื่อมต่อการโอนถ่ายข้อมูลด้วยการ Syncronization โดยผ่านช่อง USB ด้วยสายดาต้าลิงค์สำหรับการโอนถ่ายข้อมูลกับเครื่อง PC ก็สะดวกใช้ได้ทีเดียว โยเฉพาะกับการโอนถ่ายเพลงได้อย่างว่องไว หน่วยความจำ มีมาให้ในตัวแบบใช้ร่วมกันในการบันทึกไฟล์ต่างๆ ทั้งข้อมูลภาพและเสียงด้วยขนาด 128 MB ซึ่งเป็นแบบใช้ร่วมกัน นอกจากนี้หากหน่วยความจำในเครื่องยังไม่เพียงพอต่อการจัดเก็บข้อมูลต่างๆแล้วละก็ เรายังสามารถเพิ่มการ์ดความจำ T-Flash Card หรือ microSD ก็ได้ด้วย (มี T-Flash แถมมาให้กับเครื่อง 128 MB) สำหรับการเก็บภาพ หรือเพลง ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการมากขึ้น หากใครที่กำลังมองหามิวสิคโฟน ที่เน้นหนักในการฟังเพลงมากที่สุด ในขณะที่ยังไม่ลืมที่จะใส่ความสามารถทางด้านการติดต่อสื่อสารแบบไร้สายด้วยลักษณะของโทรศัพท์มือถือพื้นฐานมาให้ใช้งานได้อย่างคล่องมือด้วยแล้ว รับรองว่า i-mobile 310 เครื่องนี้จะตอบโจทย์ได้อย่างตรงไปตรงมาทีเดียว แต่หากพูดถึงในส่วนของการใช้งานจริงแล้วอาจจะยังดูไม่เข้าทีไปซะทีเดียว ด้วยความที่ตัวเครื่องเล็ก จึงทำให้ปุ่มกด รวมถึงปุ่มควบคุมต่างๆ มีขนาดที่เล็กตามไปด้วย ซึ่งทำให้การใช้งานผ่านปุ่มกดในบางครั้งอาจทำให้ผู้ใช้เกิดอาการหงุดหงิดได้ง่าย โดยเฉพาะกับปุ่ม Jog-dial ที่ด้านข้างเครื่องที่เป็นปุ่มสำหรับควบคุมเมนูที่ค่อนข้างใช้งานได้ยากทีเดียวหากยังไม่คุ้นมือละก็อาจเกิดอาการหงุดหงิดขึ้นได้เวลาใช้งาน ส่วนปุ่มควบคุมเพลงที่ด้านหน้านั้นถือว่าออกแบบมาให้ใช้งานกับโหมดเครื่องเล่นเพลงได้อย่างดีทีเดียว โดยผู้ใช้สามารถกดใช้งานได้อย่างใจต้องการ (แต่ก็อาจจะเล็กไปบ้างสำหรับคนนิ้วมือใหญ่ๆ) โดยรวมแล้วถือว่า i-mobile 310 Music Capsule เครื่องนี้ดูจะเหมาะกับคนที่ต้องการโทรศัพท์มือถือที่มีดีเรื่องเครื่องเล่นเพลงมากที่สุดครับ ราคาประมาณ 7,700 บาท เอื้อเฟื้อเครื่องทดสอบ : สามารถ ไอ-โมบาย ***************** รีวิว Nokia E50 รีวิว Sony Ericsson P990i รีวิว Motorola ROKR E2 รีวิว Nokia 2310 รีวิว Nokia N73 รีวิว i-mobile 610

สนับสนุนเนื้อหาโดยนิตยสาร

อัลบั้มภาพ 15 ภาพ

อัลบั้มภาพ 15 ภาพ ของ รีวิว i-mobile 310 Music Capsule

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook