Firefox ใช้ซีพียูมากไปทำให้โน้ตบุ๊กร้อน?

Firefox ใช้ซีพียูมากไปทำให้โน้ตบุ๊กร้อน?

Firefox ใช้ซีพียูมากไปทำให้โน้ตบุ๊กร้อน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) บราวเซอร์ที่กำลังมาแรง ตกเป็นผู้ต้องหาที่ทำให้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเน็ตบุ๊ก และโน้ตบุ๊กเกิดอาการร้อนเกิน (overheat) เนื่องจากการใช้พลังประมวลผลของซีพียูที่มากเกินไป (บ่อยครั้งขึ้นถึง 100%) นอกจากนี้ยังส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์โดยรวมลดลงอีกด้วย

ขอบคุณภาำพประกอบจาก : bpic.ac.th

 

ใคร ที่กำลังสงสัยว่า ไฟร์ฟอกซ์มีการใช้พลังประมวลผลของซีพียูมากกว่าบราวเซอร์ตัวอื่น หรือเปล่า? โดยเฉพาะเวลาที่ดู Process ใน Task Manager ที่มันวิ่งชนเพดาน 100% ให้เห็นอยู่บ่อยๆ คุณไม่ใช่คนเดียวหรอกครับที่ได้รับรู้รับทราบในเรื่องนี้ ข้อมูลจากหน้าซัพพอร์ตในเว็บของโมซิลล่า (Mozilla) ภายใต้หัวข้อ "Firefox consumes a lot of CPU resources" ระบุว่า การทำงานของไฟร์ฟอกซ์ในบางครั้งอาจต้องมีการใช้ทรัพยากรจากซีพียูเป็นจำนวน มาก เพื่อดาวน์โหลด ตลอดจนกระบวนการทำงานต่างๆ เพื่อแสดงหน้าเว็บให้เสร็จสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว ซึ่งการเพิ่มการใช้ซีพียูสามารถทำให้เกิดความร้อนเพิ่มขึ้นได้โดยตรง โดยเฉพาะในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก และเดสก์ทอปขนาดเล็ก
การ ใช้พลังประมวลผลของซีพียูมากเกินไปไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบให้อุณหภูมิของ ระบบเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่มันยังส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานด้วย ซึ่งปกติซ๊พียูจะถูกเรียกใช้งานจากทุกๆ กระบวนการทำงาน หรือโพรเซส (Process) ที่เกิดขึ้นบนคอมพิวเตอร์ รวมถึงโพรเซสที่มีการทำงานอยู่ด้านหลัง (background process) ที่ถูกสั่งให้ทำงานโดยระบบปฏิบัติการด้วย ดังนั้น เมื่อรวมการใช้พลังงานประมวลผลจากซีพียูของโอเอสกับแอพพลิเคชันต่างๆ ที่กำลังทำงานในขณะนั้น อย่างเช่น เว็บบราวเซอร์ ไอเอ็ม ซอฟต์แวร์วอยส์หรือวิดีโอแชต ซีพียูก็จะถูกใช้งานหนักขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับสมรรถนะการทำงานของคอมพิวเตอร์ ทำให้โพรเซสต่างๆ ที่มีการเรียกใช้งานตามมาทำงานได้ช้าลงกว่าเดิม
หน้าเว็บซัพพอร์ตของไฟร์ฟอกซ์พยายาม ให้เหตุผลต่างๆ มากมายถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการเพิ่มการใช้ซีพียูจากไฟร์ฟอกซ์ เช่น การใช้ซีพียูเพิ่มขึ้นอาจจะเกิดกับบางเว็บไซต์ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการเรียกใช้ปลั๊กอินบนหน้าเว็บนั้นๆ ก็ได้ อย่างเช่น Flash, Java หรือ Adobe Reader อย่างไรก็ตาม หากการใช้ซีพียูมากเกินปกติเกิดขึ้นในหลายๆ เว็บไซต์ที่เข้าไปเยี่ยมชม หรือทุกเว็บไซต์ หน้าเว็บซัพพอร์ตระบุว่า มันเป็นไปได้ที่จะเกิดจากการตั้งค่าการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ส่วนเสริมการทำงาน (Extensions) ของโปรแกรมก็เป็นตัวที่ใช้ซีพียู และหน่วยความจำ (memory) ของบราวเซอร์ด้วยเหมือนกัน ซึ่งการตั้งค่ากำหนดการทำงานของส่วนต่างๆ อย่างเช่น การเร่งความเร็วของฮาร์ดแวร์ของพอยน์เตอร์ของเมาส์ การตั้งค่า Windows Compatibility และอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้การใช้ซีพียูเพิ่มขึ้นได้  อธิบายมากมายจนถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านคิดว่า Firefox เป็นตัวการสำคัญที่ใช้ซีพียูมากไปจนทำให้เครื่องร้อนจริงๆ หรือเปล่า? ใครทีมีประสบการณ์ร่วมกันแสดงความคิดเห็นกันได้เต็มที่เลยนะครับ (ข้างล่างเป็นคลิปวิดิโอที่อ้างว่า มีวิธีเซตให้ Firefox ใช้ซีพียู และหน่วยความจำน้อยลง)


ข้อมูลจาก: jkontherun



 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook