MS เชื่อม Facebook กับ Outlook 2010
หลังจากกูเกิ้ล (Google) ประกาศเชื่อมต่อการทำงานระหว่างจีเมล์ (Gmail) กับโซเชียลเน็ตเวิร์กกิ้ง ล่าสุดเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ (Microsft) ก็ประกาศเดินหน้าจับ Outlook อีเมล์ไคลเอ็นต์ที่แข็งแกร่งของทางบริษัทผูกปิ่นโตกับโซเชียลเน็ตเวิร์กด้วย เหมือนกัน
Outlook Social Connector (OSC) คุณสมบัติใหม่ใน Office 2010 จะสามารถดึงข้อมูลการอัพเดตต่างๆ จากโซเชียลเน็ตเวิร์กเข้าไปในซอฟต์แวร์ Outlook ได้ ซึ่งประโยชน์ทีได้รับก็คือ ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านข้อความในอีเมล์ พร้อมกับทำกิจกรรมต่างๆ บนโซเชียลเน็ตเวิร์กโดยใช้ผู้ส่ง (sender) คนเดียวกันจากในกรอบหน้าต่างของโปรแกรมได้ทันที อย่างไรก็ตาม ในเวอร์ชันทดสอบจะยังคงไม่อนุญาตให้โพสต์อัพเดตกลับเข้าไปในเว็บไซต์โซเชีย ลต่างๆ ได้จากใน Inbox
ไมโครซอฟท์ ได้แนะนำ OSC เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว พร้อมทั้งเปิดตัวส่วนเสริมการทำงานของโปรแกรมเอาท์ลุกเวอร์ชันทดสอบ ซึ่งก็คือ LinkedIn for Outlook ตลอดจนการประกาศความร่วมมือกับเว็บไซต์โซเชียลอย่าง Facebook และ MySpace ทางด้านนาย Dev Balasubramanian ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ MS Outlook อธิบายในวิดีโอว่า เป้าหมายของการเป็นพันธมิตรก็เพื่อนำโซเชียลเน็ตเวิร์กเข้าไปใส่ใน"กล่อง จดหมายเข้า"ของผู้ใช้เอาท์ลุกนั่นเอง
เมื่อสัปดาห์ ที่แล้ว กูเกิ้ลจับโซเชียลเน็ตเวิร์กใส่เข้าไปในอินบ๊อก แต่ก็ต้องถูกแรงต้านเนื่องจากบริการดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาความเป็นส่วนตัว เนื่องจากอีเมล์ใช้สำหรับการสื่อสารเรื่องส่วนตัวในขณะที่บริการโซเชียลส่วน ใหญ่จะใช้เพื่อเผยแพร์แชร์ข้อมูล ซึ่งดูจะขัดกันในแง่ของการใช้งานพอสมควร อย่างไรก็ดี Balasubramanian โพสต์ไว้ในบล็อกว่า OSC ได้รับการออกแบบให้ทำงานภายใต้นโยบายความเป็นส่วนตัวของโซเชียลเน็ตเวิร์ กต่างๆ ตามที่ผู้ใช้กำหนด แทนทีจะสร้างขึ้นมาใหม่เหมือกับของกูเกิ้ล "เราคาดว่า ผู้ใช้จะประทับใจกับ OSC เนื่องจากมันไม่ได้นำโซเชียลเน็ตเวิร์กเข้าไปผสมปนกัน (ความเป็นส่วนตัวกับเรื่องสาธารณะ) ในขณะที่ OSC จะช่วยให้ผู้ใช้ที่ค่อนข้างมีงานยุ่ง แต่ก็อยู่ในโซเชียลเน็ตเวิร์กได้รับความสะดวก และไม่สับสน" สำหรับซอฟต์แวร์เชื่อมโยงการทำงานร่วมกับ Facebook และ MySpace ใน Outlook 2010 คาดว่าจะสามารถเปิดให้ดาวน์โหลดไปใช้ได้ในช่วงปลายปีนี้ โดยผู้ใช้สามารถติดตามอัพเดตเว็บไซต์โซเชียลทั้งสองได้จากในรายชื่อผู้ติด ต่อของเอาท์ลุก
ข้อมูลจาก: crn