รู้จักสถานที่และมาตรการรักษาความปลอดภัยของงานประมูล 3G (ถ้าได้จัด)

รู้จักสถานที่และมาตรการรักษาความปลอดภัยของงานประมูล 3G (ถ้าได้จัด)

รู้จักสถานที่และมาตรการรักษาความปลอดภัยของงานประมูล 3G (ถ้าได้จัด)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตอนที่ผมเขียนอยู่นี้ เรายังไม่รู้ว่ามหากาพย์ 3G จะลงเอยเช่นไร จะเลื่อน เลิก หรือเดินหน้าต่อ

แต่ในเมื่อสัปดาห์ก่อน ผมมีโอกาสได้ร่วมทริปสื่อมวลชน เยี่ยมชมพื้นที่รีสอร์ทที่ใช้จัดประมูล เตรียมทำสกู๊ปเพื่อรายงานการประมูลอย่างเต็มที่ (แถมยังได้อยู่ฟัง ดร. นที แถลงข่าวหลังศาลมีคำสั่งคุ้มครองอีกด้วย) ดังนั้นระหว่างที่เรายังไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับอนาคตของ 3G ก็อ่านรายงานกันไปก่อน ถ้าเกิดว่าได้ประมูลต่อจริงๆ จะได้ทำความเข้าใจกับระบบและขั้นตอนการประมูลได้ง่ายขึ้นนะครับ

ก่อนอื่นขอใช้พื้นที่ตรงนี้ แนะนำข้อมูลเบื้องต้นของการประมูลสักเล็กน้อย เพราะจากข่าวก่อนๆ หน้านี้ ยังมีความสับสนและเข้าใจผิดอยู่มาก

คำถามที่พบบ่อย

Q: 3G คืออะไร, ทำไมต้องมี, กทช. คือใคร, สัมปทานคืออะไร, ทำไมต้องประมูล ให้เลยไม่ได้เหรอ

ถ้ายังตอบไม่ได้ ลองอ่าน 10 คำถามกับ 3G ฉบับ Blognone
ปูพื้นกันก่อน

Q: มีผู้เข้าประมูลกี่ราย

ข้อมูล ณ ตอนนี้คือ 3 รายซึ่งเป็นบริษัทลูกของ AIS, DTAC, TRUE ไม่มีรายใหม่เข้ามาอย่างที่ กทช. หวังเอาไว้

การมีแค่ 3 รายทำให้กฎ N-1 ถูกใช้งาน ทำให้ กทช. จะให้ใบอนุญาตเพียงแค่ 2 ใบ พูดง่ายๆ ว่าเป็น 3 ชิง 2 นั่นเอง ส่วนอีกใบหนึ่งตามที่ กทช. เคยประกาศไว้คือจะเปิดประมูลอีกรอบในอีก 90 วันให้หลัง แต่พอมาเจอกรณีของ CAT เข้าไป คิดว่าคงจะไม่ใช่แบบนั้นเสียแล้ว

Q: การประมูลจะยาวนานแค่ไหน

คำตอบสั้นๆ คือ ไม่รู้!

คำตอบยาวๆ คือ การประมูลจะใช้ระบบ SMR (simultaneous multiple-round อ่านรายละเอียดได้ตามลิงก์ข้างต้น) โดยให้ผู้เข้าร่วมประมูลค่อยๆ เพิ่มเงินไปเรื่อยๆ ครั้งละไม่เกิน 5% ของราคาตั้งต้นหรือ 640 ล้านบาท วันหนึ่งมี 12 รอบ ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีรายใดรายหนึ่งถอนตัว อีกสองรายที่เหลือจะได้ใบอนุญาตไปครอบครอง

ดังนั้นในทางทฤษฎี มันเป็นได้ตั้งแต่ประมูลวันเดียวจบ (คือรายหนึ่งยอมแพ้แต่แรก) หรืออาจลากยาวเป็นเดือนๆ ก็ได้ถ้าทุกรายมีหน้าตักเยอะพอ

กทช. คาดการณ์ว่าจะจบลงภายใน 1 สัปดาห์ จึงจองสถานที่ไว้ 1 สัปดาห์ แต่ถ้ายาวกว่านั้นก็ขยายระยะเวลาได้ (กทช. ต้องเสียค่าไล่แขกให้ไปนอนพักที่อื่นเพิ่มเติม)

สถานที่จัดการประมูล

กทช. เลือกรีสอร์ทหรูที่ปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ รีสอร์ทนี้มีชื่อแบรนด์ว่า Six Senses ซึ่งมีหลายสาขาทั่วโลก สำหรับสาขาที่จะจัดการประมูลนี้ ในพื้นที่มีรีสอร์ทย่อยอยู่ 2 แบรนด์แยกกัน คือ

  • Six Senses Hideaway Hua Hin เป็นพื้นที่สำหรับเจ้าหน้าที่และผู้เข้าร่วมประมูล
  • Evason Hua Hin เป็นที่พักสำหรับสื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่จัดงานทั้งหมด

ที่เราตามสื่อต่างๆ จะเรียกรีสอร์ทนี้ว่า "เอวาซอน" แต่ในความจริงแล้ว หมายถึงทั้งสองส่วนรวมกันนั่นล่ะครับ

ผมพยายามหาแผนที่จากเว็บของรีสอร์ท แต่ดันเจอเฉพาะแผนที่แบบแยกชิ้นกัน เพื่อให้เข้าใจง่าย ผมพยายามจับมันมารวมกันด้วย GIMP ไม่ค่อยสวยเท่าไร หวังว่าดูแล้วคงเข้าใจกัน

map of evason huahin

จากภาพฝั่งซ้ายมือคือถนน ฝั่งขวามือคือทะเล ครึ่งบนที่สีเข้มหน่อยคือส่วนของ Six Senses Hideaway ส่วนครึ่งล่างคือ Evason ทั้งสองส่วนสามารถเดินถึงกันได้โดยไม่มีรั้วกัน (มีถนนเส้นเล็กๆ กั้นพอให้รู้ว่าเป็นคนละส่วนกันเท่านั้น)

รีสอร์ทนี้มีขนาดใหญ่พอสมควร ถ้ามีแขกครบทุกห้องน่าจะมีคนหลายร้อย เรื่องจำนวนห้องลองดูเอาเองตามสไลด์

IMG_6780

IMG_6779

กทช. ได้เหมาทั้งรีสอร์ทเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ แบ่งเป็นการเตรียมงาน 1 สัปดาห์ และประมูลจริง 1 สัปดาห์ ค่าเช่าที่ผมเห็นในหนังสือพิมพ์คือ 30 ล้านบาท ถ้าหากว่าประมูลเกิน 1 สัปดาห์ กทช. ก็ต้องเสียค่าเช่าเพิ่มอีกต่อหนึ่ง

ทำไมถึงเลือกที่นี่? อันนี้ผมไม่ทราบ แต่จากข้อมูลของทางรีสอร์ทเอง คาดว่าเป็นเพราะรีสอร์ทในส่วน Six Sense มีบ้านแบบกลุ่ม (ในสไลด์คือ Pool Villa Suite) ซึ่งจะมีบ้าน 3-4 หลังอยู่ในรั้วเดียวกัน เหมาะแก่การให้ผู้เข้าร่วมประมูลไปอยู่ในนั้นเป็นอาทิตย์ โดยไม่ต้องออกสู่โลกภายนอก

การแบ่งโซนการประมูล

ผมเอาภาพแผนที่รีสอร์ทด้านบน มาทำไฮไลท์เสียใหม่

map of evason huahin

แรกสุดขอให้ดูกรอบสีเทาก่อน กรอบนี้คืออาณาเขตทั้งหมดของรีสอร์ท ทางคณะผู้จัดงานจะเรียกพื้นที่ข้างนอกกรอบนี้ว่า "พื้นที่ชั้นนอก" มีทหารหนึ่งกองร้อยเป็นผู้รักษาความปลอดภัย ในกรณีที่อาจมีม็อบมาประท้วง

พื้นที่ด้านในกรอบสีเทาทั้งหมด เรียกว่า "พื้นที่ชั้นกลาง" มีตำรวจท้องที่เป็นผู้ดูแลความปลอดภัย ตัวรีสอร์ทด้านล่างๆ ของกรอบจะเป็นที่พักของเจ้าหน้าที่จัดงาน ทั้งจาก กทช. ตำรวจ ทหาร และจาก Index ซึ่งเป็นผู้รับเหมาจัดงาน รวมถึงสื่อมวลชนที่ไปสังเกตการณ์ด้วย กรอบสีเขียวเล็กๆ ที่วงไว้เป็นศูนย์สื่อมวลชนหรือ press center ซึ่งมีห้องแถลงข่าวในตัว

สำหรับกรอบสีแดง ซึ่งเป็นโซนของ Hideaway เป็น "พื้นที่ชั้นใน" สำหรับการประมูลจริง โซนนี้จะเป็นโซนหวงห้ามพิเศษ เข้าได้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องคือ ผู้ร่วมประมูล เจ้าหน้าที่ที่จำเป็น และเจ้าหน้าที่จากโรงแรมนิดหน่อยเท่านั้น การรักษาความปลอดภัยจะกั้นรั้วทั้งหมด และเข้าออกได้ทางเดียวคือจุดที่มีลูกศรสีแดงครับ

สุดท้าย กรอบสีม่วง เป็นบ้านพักของผู้เข้าร่วมการประมูล มีทั้งหมด 5 บ้าน (แต่จะมีคนพักแค่ 3 บ้าน) ผู้ที่เข้ามาในนี้ได้ มีแต่ผู้เข้าร่วมประมูลเท่านั้น เข้าแล้วออกไม่ได้จนกว่าการประมูลจะจบสิ้นลง

ถ้าพอเข้าใจโครงสร้างของรีสอร์ทที่จัดการประมูลแล้ว เราไปดูแต่ละส่วนกันครับ (พื้นที่ชั้นนอกคงไม่ต้องกล่าวถึงนะ)

พื้นที่ชั้นกลาง

หรือรีสอร์ทส่วนที่เป็น Evason ก็ไม่ต่างอะไรจากรีสอร์ทหรูทั่วไป ตกแต่งสไตล์ธรรมชาติ บ้านไม้ผสมบ้านดิน

IMG_6711

ห้องพักของฝั่งนี้จะเล็กกว่าฝั่ง Hideaway ที่แยกบ้านใครบ้านมัน ทุกคนที่ไม่เกี่ยวกับการประมูลโดยตรงจะต้องนอนที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น กทช. เอง ตำรวจทหาร คณะผู้จัดงาน หรือสื่อมวลชน

IMG_6725

IMG_6749

การรักษาความปลอดภัยที่นี่ไม่เข้มมาก ใช้แค่ตำรวจจาก สภอ. ปากน้ำปราณ

IMG_6605

IMG_6606

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook