"ข้ามเวลามาหารัก" ดูละครแล้วมองย้อน Technology - ยุคเพจเจอร์ครองเมือง
เสียงปี๊บๆ ของอุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ นี้คงหายไปกับเวลาที่ผ่านไป ถ้าเมื่อวานไม่บังเอิญได้กลับไปชมละครของช่อง 5 เรื่อง ข้ามเวลาหารัก (LiveStreetSeason) ที่นำแสดงโดย บี้ สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว และคุณ นก สินใจ (แทนการนั่งดู คุณ เรยา) เห็นชื่อเรื่องก็คงจะพอเดากันออกว่าเป็นละครแนวไหน โดยละเนื้อเรื่องของละครช่วงแรก ๆ เค้าเกริ่นถึงอดีตย้อนไปเมื่อประมาณ ปี2530 หรือประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ถ้าจำไม่ผิดตอนนั้น ผู้เขียนเองคงจะอยู่ประมาณ ปวช. 1 เอง และละครทำให้ผู้เขียนสะดุดกับความรู้สึกเก่า ๆ ที่เกี่ยวกับ "เครื่องเพจเจอร์" หรือที่เรียกอีกอย่างว่า "แพ็กลิงค์" ซึ่งเด็กสมัยใหม่นี้คงจะไม่ค่อยได้รู้จักกันแล้ว
วันนี้ทางทีมงาน Sanook! Hitech เลยอยากที่จะมันมาแนะนำให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จักกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปของเครื่องรุ่นต่าง ๆ หรือความเป็นมาในเรื่องของผู้ให้บริการ การบริการ เป็นต้น เอาละเกริ่นกันมาเยอะแล้ว เราไปดูกันดีกว่า ว่า อุปกรณ์การสื่อสาร ที่เราเรียกว่า เครื่องเพจเจอร์ นั้นมันมีความเป็นมาอย่างไร
ในยุคแรก ๆ นั้นเครื่อง “เพจเจอร์” ถูกผลิตออกมาสู่ท้องตลาดในรูปลักษณ์ที่ค่อนข้างใหญ่ และมีสีพื้น ๆ ดำ เทา ก็พอเข้าใจว่าเค้าทำออกมาเพื่อเน้นการใช้งานใช้เชิงธุรกิจ โดยเริ่มจากมีแค่ตัวเลข แล้วก็พัฒนามาเป็นการส่งข้อความ
ต่อมาไม่นาน “เพจเจอร์” นั้นก็เริ่มขยับเข้ามามีบทบาทกับวัยรุ่นมาขึ้น (รวมทั้งตัวผู้เขียนเอง) โดยผู้ผลิตหลาย ๆ ยี่ห้อเริ่มออกแบบให้ตัวเครื่องมีขนาดเล็กคง เบาขึ้น และแถมด้วยที่สันที่ทันสมัย หลายหลายลวดลายดีไซต์ (ใครยังพอจำกันได้ เค้าทำให้เปลี่ยนหน้ากากได้เลยนะ ไม่ต่างจากมือถือสมัยนี้เลย!!) ทำให้ในเวลาไม่นาน “เพจเจอร์” ก็เข้าไปนั่งอยู่ในใจวัยรุ่นสมัยนั้นทุกคน จากนั้นเป็นต้นมา เพจเจอร์ได้ผันตัวเองมาทำหน้าที่เป็นสื่อรักส่งข้อความหวานหยอดกันไปมา จนเจ้าหน้าที่พิมพ์เพจแทบอ้วกก็เยอะ เราไปดูตัวอย่างหวาน ๆ เลี่ยน ๆ ของเด็กวัยรุ่นสมัยก่อนกันดีกว่า บางข้อความเลี่ยนจนต้อง อายโอเปอเรเตอร์ที่เขาต้องมาฟัง
นับตั้งแต่วันรักเมื่อครั้งแรก
ไม่เคยแยกหัวใจให้เป็นสอง
จะมีเพียงหนึ่งเดียวขอรับรอง
จะไม่ยอมมีสองนอกจากเธอ
คิดถึงเธอยิ่งกว่าแร็พเตอร์
ห่วงเธอยิ่งกว่านมตราหมี
รักเธอยิ่งกว่าการบินไทย
ห่วงใยยิ่งกว่ายางมิชลิน
ถึงจะโดน Gozilla ไล่เขมือบ
ถึงจะโดน Titanic พาจมหาย
ถึงจะตายด้วย Amagedon ไม่เสียดาย
ถ้าตอนท้ายเธอบอกฉัน I Love You
มาม่าแทนความห่วงใย
ไวไวแทนความคิดถึง
ยูมีแทนความคำนึง
ส่งความคิดถึงภายใน3 นาที
ขอบคุณที่มา : webboard.sanook.com
นี่เป็นข้อความเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่หามาฝากกันพอแค่นี้ดีกว่า ก่อนจะเลี่ยนกันไปใหญ่ หรือเพื่อน ๆ คนไหนมีข้อความที่ยังพอจำกันได้ ยังประทับใจกันอยู่ ก็เอามาอวดกันได้นะ
ส่วนวิธีใช้ก็ง่ายแสนง่าย เพียงโทรเข้าไปที่ศูนย์บริการ บอกหมายเลขเครื่องที่เราจะส่งข้อความเข้าไป แล้วก็บอกข้อความที่ต้องการส่ง โอเปอเรเตอร์เสียงหวานๆ ก็จะพิมพ์ข้อความให้ ไม่ต้องพิมพ์เองเหมือนส่ง SMS แต่อาจมีเขินถ้าข้อความมันชวนน้ำเน่า
ซึ่งในสมัยนั้นกลายเป็นการขอเบอร์ กันไปมาคงเหมือนกับการแลกพินบีบี หรือการแลกเปลี่ยนเบอร์กันในสมัยนี้ (ก็ในตอนนั้นโทรศัพย์มือถือยังได้รับความนิยมน้อย และราคาค่อนข้างสูง) แถมมีลุ้นถ้าหากอีกฝั่งเพจกลับตอบมา งานที่หัวใจพองโตกันไปเลยเชียวละ (อย่ามา...รู้หรอกว่าเคยทำเพราะเคยทำเหมือนกัน)
เอาละเราไปดูกันดีกว่าว่าในสมัยก่อนมียี่ห้อทั้งอะไรกันบ้าง แต่เท่าที่จำได้มันมีหลากหลายให้เลือกเหมือนยี่ห้อมือสมัยนี้เลยนะ รวมไปถึงการที่มีหลากหลายรุ่นให้เปลี่ยนกัน
152 โฟนลิ้งค์, อันนี้ยี่ห้อแรกๆ เลย
162 ฮัทชิสัน, ยี่ห้อนี้แพงมากอันนี้แหละเป็นเครื่องแรกที่ได้ใช้ แหล๋มมะ
142 เวิร์ลเพจ
1144 แพ็คลิ้ง
1500 อีซี่คอล
1188 สามารถ โพสต์เทล, แบบย่อมเยาราคาประหยัด
แม้ในปัจจุบัน วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือได้เข้ามาแทนที่ เพจเจอร์ มานานหลายปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ ฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ ที่ในสมัยนี้สามารถทำได้ทุกอย่าง ไม่ใช่แค่ส่งข้อความเหมือนในสมัยก่อน!! เช่น ถ่ายรูปได้ Chat Facebook หรือแม้แต่การสรรหาคิดค้นหา Application ใหม่ออกมารองรับกันอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เข้ามาแทนที่เหล่านี้ทำให้เด็กรุ่นใหม่บางคนไม่รู้จัก “เพจเจอร์” ด้วยซ้ำไป
แต่สำหรับผู้เขียนแล้ว “เพจเจอร์” คือก้าวแรกของเทคโนโลยีที่ได้รู้จัก ได้ทั้งเรื่องงาน เรื่องรัก สารพัดเรื่องที่มีมาเล่าไม่หมด และ “เพจเจอร์” จะเป็นส่วนหนึ่งในความทรงจำของผู้เขียนตลอดไป ไม่ให้มันเลือนหายไปตามเวลาที่ผ่านไป
อย่าลืมนะว่า เราไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นแบบไหน วันหนึ่งอาจจะมีอะไรมาแทน โทรศัพท์มือถือ ที่ปัจจุบันเราว่าดีที่สุดแล้ว ต่อจากนี้เราคงต้องมานั่งลุ้นกันต่อไป ต่อไปการกล่าวถึงโทรศัพท์มือถือ อาจไม่แตกต่างจากการที่ผู้เขียนนั่งยิ้มกับตัวเองเมื่อคิดถึง “เพจเจอร์”
ขอบคุณที่มาของภาพประกอบ : learners.in.th,dek-d.com, thaiselling.com, doneteen.com , t-pageant.com, hi5hi.com
อัลบั้มภาพ 35 ภาพ