สตีฟจอบส์เปิดตัว iCloud ในงาน WWDC
ในงาน WWDC เมื่อวานนี้ สตีฟ จอบส์ (Steve Jobs) ซีอีโอ Apple ได้ปรากฎตัวขึ้นอีกข้างบนเวที เพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ของทางบริษัทถึง 3 ตัวด้วยกันได้แก่ iCloud, iOS5 และ Lion โดยในงานนี้ ผู้เข้าฟังนอกจากจะตื่นเต้นกับการปรากฎตัวของเขาแล้ว ดูเหมือน iCloud จะเป็นบริการที่หลายคนให้ความสนใจมากที่สุด
"หลายคนคิดว่า คลาวด์ (Cloud) ก็เป็นแค่ฮาร์ดดิสก์บนท้องฟ้า..." จอบส์ กล่าว "เราคิดว่ามันเป็นอะไรที่มากกว่านั้น และเราเรียกมันว่า ไอคลาวด์ (iCloud) ไอคลาวด์จะเก็บคอนเท็นต์ของคุณไว้ในคลาวด์ และส่งมันกลับไปยังอุปกรณ์ทั้งหมดของคุณผ่านระบบไร้สาย... อีกทั้งยังเชื่อมโยงการทำงานกับแอพพลิเคชันได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นทุกอย่างจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ และมันได้มีอะไรใหม่ที่ต้องเรียนรู้ นั่นก้คือการทำงานหมดของไอคลาวด" แม้การนำเสนอเกี่ยวกับ iCloud ของ Jobs จะกระชับ และได้ใจความพอสมควร แต่เพื่อให้คุณผู้อ่านได้เข้าใจ และเห็นความสำคัญของ iCloud มากขึ้น เรามาติดตามรายละเอียดของบริการนี้กันดีกว่าครับ
หากย้อนไปในอดีต Apple เข้าสู่ตลาดเพลงค่อนข้างช้า โดยทางบริษัทเปิดตัว iTunes ในเดือนมกราคม 2001 ในขณะที่ Napster กำลังไปได้สวย และผู้ผลิตวินโดวส์พีซียังทำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมกับไดรฟ์ CD-RW ไม่เพียงเท่านั้น Apple ยังเข้าสู่ตลาดสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตทีหลังชาวบ้านเขาอีกด้วย แต่รายงานล่าสุด ทางบริษัทได้จำหน่ายอุปกรณ์ iOS ไปแล้วมากกว่า 200 ล้านเครื่อง และ iPad มากถึง 25 ล้านเครื่องภายในระยะเวลาแค่ 14 เดือน ครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ Apple เข้าสู่ตลาดคลาวด์หลังเพื่อน และเช่นเคย Apple กำลังนิยามบริการคลาวด์ใหม่ด้วย iCloud ที่แตกต่าง แต่คล้ายคลึงกับของคู่แข่ง สาวกแมคอาจโต้แย้งว่า Apple ไม่ได้เข้าตลาดข้าทั้งหมด เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางบริษัทได้ให้บริการ MobileMe แต่ต้องยอมรับว่า มันเป็นบริการที่ไม่ได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับบริการของ Google อย่างไรก็ดี สำหรับ iCloud มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในการให้บริการที่อาจทำให้ Apple ก้าวเป็นผู้นำของบริการนี้ได้อีกครั้ง แม้จะมาที่หลังก็ตาม โดยมีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจดังนี้
ประเด็นแรก iCloud เน้นการส่งข้อมูลไปให้มากกว่าดึงข้อมูล เนื่องจากบริการคลาวด์คอมพิวติ้งส่วนใหญ่จะดึงคอนเท็นต์เข้ามาเก็บมากกว่า ผลักคอนเท็นต์ลงไปยังอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากนี้บริการคลาวด์ทั่วไปจะต้องมีขั้นตอนที่ผู้ใช้ต้องจัดการไมว่าจะเป็น การอัพโหลด หรือดาวน์โหลดคอนเท็นต์ แต่ iCloud จะทำงานเหล่านี้โดยอัตโนมัติ และจะเน้นการผลักคอนเท็นต์ไปยังอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่าจัดเก็บมันไว้ในคลาวด์
ประเด็น ที่สอง พื้นฐานการทำงานของ iCloud จะเป็นการให้บริการซิงค์ข้อมูล ผู้ใช้หลายคนจะคุ้นเคยกับบริการอย่าง Dropbox หรือ Windows Live SkyDrive ซึง iCloud จะมีความคล้ายคลึกับบริการสตอเรจออนไลน์มากๆ แต่มันไม่ใช่แค่ให้คุณไว้จัดเก็บข้อมูลเท่านั้น แต่สตอเรจของ iCloud จะทำหน้าที่ซิงค์ข้อมูลไปลบนอุปกรณ์ต่างๆ ไมว่าจะเป็น แมค วินโดวส์พีซี สมาร์ทโฟน เครื่องเล่นเพลง และแท็บเล็ต ในขณะที่บริการคลาวด์ส่วนใหญ่จะซิงค์ข้อมูลจากอุปกรณ์ไปไว้บนคลาวด์ แต่ iCloud ของ Apple จะใช้คลาวด์ในการซิงค์คอนเท็นต์ระหว่างอุปกรณ์หลายตัว โดย iCloud สามารถซิงค์ปฏิธิน คอนแท็ค เอกสาร อีเมล์ ภาพถ่าย และแม้แต่เพลงระหว่างหมวดคอนเท็นต์ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย
ประเด็น ที่สาม iCloud ทำหน้าที่แทน iTunes ในฐานะศูนย์รวมของการซิงค์ทุกอย่าง ซึ่งดูเหมือนจะเป็นฟังก์ชันสำคัญที่สุด เมื่อพิจารณาในแง่ของกลยุทธ์ เนื่องจากฟังก์ชัน Sync ของ iTunes เป็นคุณสมบัติที่มีมาตั้งแต่ iPod ตัวแรกวางตลาดในเดือนตุลาคม 2001 เมื่อเวลาผ่านไป iTunes กลายเป็นศูนย์กลางของการซิงค์ของ Apple ไป แต่มันอาจจะผิดที่ผิดทางไป สำหรับการจัดการทั้ง iPod Touch, iPhone และ iPad การซิงค์ข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ กับซอฟต์แวร์กลายเป็นเรื่องล้าสมัย เมื่อเข้าสู่ยุคที่เราสามารถซิงค์ข้อมูลทั้งหมดไว้ในบริการคลาวด์ได้ (Google ซิงค์คลาวด์กับอุปกรณ์ Android) เมื่อเป็นเช่นนี้ iCloud จึงต้องเข้ามาทำหน้าที่นี้แทน iTunes เพื่อขยายความสามารถในการให้บริการ โดยเฉพาะการซิงค์คอนเท็นต์ชนิดต่างๆ ทั้งเพลง และแอพฯ
ประเด็นสุด ท้าย iCloud ไม่ใช่บริการสตรีมมิ่งเพลง เนื่องจากข่าวลือก่อนหน้านี้คาดว่า บริการ iCloud จะมีเรื่องของสตรีมมิ่งเพลงด้วย แต่ในความเป็นจริง iCloud ไม่ได้ให้บริการดังกล่าว ข่าวลือดังกล่าวน่าจะมีสาเหตุมาจากการที่ Apple ซื้อบริการสตรีมมิ่งเพลงที่ชื่อว่า Lala ในขณะเดียวกัน หลายฝ่ายคาดว่า Apple ต้องพยายามทำให้ iCloud สามารถเทียบเคียงคู่แข่งอย่างบริการสตรีมเพลงของ Amazon ที่เรียกว่า Cloud Player ที่เปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หรือแม้แต่บริการ Google Music แต่สิ่งที่ Apple มอง iCloud มันดีกว่านั้นมาก โดยยังคงหลักการผลักคอนเท็นต์ ซึ่ง iCloud จะส่งคอนเท็นต์ไปยังผู้ใช้ เพื่อดาวน์โหลด และซิงค์ระหว่างอุปกรณ์ ในขณะที่บริการเพลงของ Amazon และ Google ผู้ใช้ตอ้งอัพโหลดเพลงขึ้นไปยังไลบรารี่ของพวกเขา
ตัวอย่าง บริการบน iCloud เช่น iTunes บน Cloud ที่ทำหน้าที่ผลักคอนเท็นต์ต่างๆ ตั้งแต่เพลงไปจนถึงแอพที่ซื้อผ่าน iTunes ไปบนอุปกรณ์ต่างๆ ในขณะที่ยังคงก็อปปี้คอนเท็นต์เหล่านั้นไว้บนคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ของ Apple โดยนอกจากแอพพลิเคชันอย่าง iTunes บน Cloud แล้ว ยังมีแอพพลิเคชันอื่นๆ อีก 8 ตัวด้วยกันได้แก่ Photo Stream, Apps Books, Documents, Backup, Contacts, Calendar และ Mail ซึ่งบริการทั้งหมดยังเป็นเวอร์ชันทดลองสำหรับนักพัฒนา iOS และ Mac OS X และจะเปิดให้ใช้บริการกับผู้ใช้ทั่วไปในช่วงเดือนตุลาคมนี้ สำหรับสนนค่าบริการรายปีน่าจะอยู่ที่ 25 เหรียญฯ (ประมาณ 750 บาท)
เว็บไซต์ในข่าว: Apple