ทำความรู้จัก Steven Paul Jobs ผู้กลายเป็นอดีต CEO Apple

ทำความรู้จัก Steven Paul Jobs ผู้กลายเป็นอดีต CEO Apple

ทำความรู้จัก Steven Paul Jobs ผู้กลายเป็นอดีต CEO Apple
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทำความรู้จัก Steven Paul Jobs

สตีเฟน พอล จอบส์ (Steven Paul Jobs) ผู้บริหารระดับสูงของแอปเปิล คอมพิวเตอร์ และ พิกซาร์อนิเมชั่นสตูดิโอ และเป็นบุคคลชั้นนำในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง แอปเปิลคอมพิวเตอร์ ร่วมกับสตีฟ วอซเนียก เขาได้ช่วยทำให้แนวความคิดเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นที่นิยมขึ้นมา ด้วยเครื่อง Apple II ต่อมา เขาได้เป็นผู้แรกที่มองเห็นศักยภาพทางการค้าของส่วนประสานงาน ผู้ใช้แบบกราฟิกส์ และเม้าส์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค ของบริษัทซีร็อกซ์ และได้มีการผนวกเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไว้ในเครื่องแอปเปิล แมคอินทอช สตีฟยังเป็นประธานกรรมการบริหาร และผู้บริหารระดับสูงของ พิกซาร์อนิเมชันสตูดิโอส์ ผู้นำด้านการผลิตภาพยนตร์อนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกส์


Steven Paul JobsSteven Paul Jobs

Steven Paul Jobs ผู้กลายเป็นอดีต CEC Apple

สตีฟ จอบส์ เกิดที่เมืองกรีนเบย์ มลรัฐวิสคอนซินเป็นบุตรของนางโยฮานน์ ซิมพ์สัน และมีบิดาเป็นชายชาวอียิปต์ (ไม่ทราบชื่อ) ไม่นานต่อมา เด็กชายผู้นี้ได้ถูกรับไปอุปการะโดยนายพอลและนางคลารา จอบส์ ที่มีถิ่นพำนักอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว มลรัฐแคลิฟอร์เนีย น้องสาวร่วมสายเลือดของเขาชื่อ โมนา ซิมพ์สัน เป็นนักประพันธ์นวนิยาย
 
ในปีค.ศ. 1976 สตีฟ จอบส์ในวัย 21 ปี กับสตีฟ วอซเนียก วัย 26 ปี ได้ก่อตั้งบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ขึ้น ในโรงรถที่บ้านของครอบครัวจอบส์ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ที่จอบส์กับวอซเนียกได้นำเสนอออกสู่สายตาได้แก่เครื่อง Apple I มันถูกตั้งราคาไว้ที่ 666.66 ดอลลาร์สหรัฐ โดยนำตัวเลขมาจากหมายเลขโทรศัพท์ ของเครื่องตอบโทรศัพท์เล่าเรื่องตลกขบขัน ของวอซเนียก ที่มีเบอร์โทรลงท้ายด้วย -6666
 
ในปีค.ศ. 1977 จอบส์ กับวอซเนียก ได้นำเครื่อง Apple II ออกสู่ตลาด และประสบความสำเร็จอย่างมากในตลาดคอมพิวเตอร์ใช้งานในบ้าน และทำให้แอปเปิลกลายเป็นผู้ผลิตรายสำคัญในวงการอุตสาหกรรมเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ในเดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1980 แอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้กลายมาเป็นบริษัทมหาชน และการเปิดขายหุ้นให้แก่สาธารณชนผู้สนใจร่วมลงทุน ทำให้สถานภาพส่วนตัวของจอบส์สูงส่งขึ้นเป็นอันมาก ในปีเดียวกันนี้เอง แอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้นำเครื่อง Apple III ออกวางตลาด แต่กลับประสบความสำเร็จน้อยกว่าเดิม
 
ในขณะที่จอบส์ได้กลายเป็นผู้มีบุคลิกโดดเด่นและมีส่วนผลักดันโครงการต่าง ๆ ของแอปเปิล เหล่านักวิจารณ์มักจะอ้างว่าเขาเป็นผู้จัดการที่มีบุคลิกแปลกประหลาดและโมโหร้าย ในปี ค.ศ. 1985 ภายหลังจากประสบปัญหาขัดแย้งเรื่องอำนาจภายในบริษัท จอบส์ถูกคณะกรรมการบริหารของแอปเปิลถอดออกจากภารกิจต่าง ๆ ที่เขาเป็นผู้รับผิดชอบ และได้ลาออกในที่สุด
 
หลังจากออกจากแอปเปิล จอบส์ได้ก่อตั้งบริษัทคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า เน็กซ์ (NeXT) เช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลิซา เน็กซ์มีเทคโนโลยีล้ำยุค แต่มันไม่เคยเข้าสู่กระแสความนิยมหลักได้เนื่องจากราคาที่สูงลิ่ว สำหรับผู้ที่มีเงินพอจะซื้อหามาเป็นเจ้าของได้นั้น เทคโนโลยีของเน็กซ์ทำให้มีกลุ่มผู้ติดตามจำนวนมากเนื่องจากความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีของมัน หนึ่งในผลิตภัณฑ์นั้นได้แก่ระบบพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงวัตถุ จอบส์ได้ทำตลาดผลิตภัณฑ์ของเน็กซ์โดยเน้นไปที่สาขาวิทยาศาสตร์และสถาบันการศึกษา เนื่องจากมันได้ผนวกเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในเชิงนวัตกรรม และทดลองค้นคว้ารวมอยู่ด้วย (เป็นต้นว่า เคอร์เนลมัค (Mach kernel) และแผงวงจรดีเอสพี)
 
ในปีค.ศ. 1996 แอปเปิลได้ซื้อกิจการบริษัทเน็กซ์ คอมพิวเตอร์ด้วยราคา 402 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำจอบส์กลับมาสู่บริษัทที่เขาก่อตั้งเอาไว้ ในปีค.ศ. 1997 เขาได้กลายเป็นผู้บริหารระดับสูง "ชั่วคราว" ของแอปเปิล หลังจากที่ผู้จัดการหลายคนเสียความเชื่อมั่นในตัว จิล อะเมลิโอ ผู้บริหารระดับสูงในขณะนั้นที่ถูกถอดออก ในช่วงที่กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำของแอปเปิล จอบส์เรียกชื่อตำแหน่งของเขาว่า "ไอซีอีโอ" (iCEO)
 
จอบส์ทำงานที่บริษัทแอปเปิลเป็นเวลาหลายปีติดกันด้วย ค่าจ้างรายปีเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐ และนั่นทำให้เขาได้ถูกบันทึกไว้ในสถิติโลกกินเนสส์ว่า เป็นผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับค่าจ้างต่ำที่สุดในโลก แม้ว่าเขาจะได้รับของขวัญพิเศษจำนวนมากที่สร้างรายได้แก่เขาจากคณะกรรมการบริหารตามธรรมเนียม รวมถึงเครื่องบินเจ็ต Gulfstream V มูลค่า 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีค.ศ. 1999 และหุ้นมูลค่าเกือบๆ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากหุ้นปุริมสิทธิ์ในปีค.ศ. 2000 - ค.ศ. 2002 ดังนั้น จอบส์จึงได้รับค่าตอบแทนอย่างงามสำหรับความพยายามของเขาที่แอปเปิล แม้จะได้ชื่อว่ามีค่าจ้างเพียง 1 ดอลลาร์สหรัฐก็ตาม
 
ขอบคุณที่มาของบทความ :  oxygen.readyplanet.com

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook