100Hz.. มันมีดีอะไร มีแล้วดีอย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?? อยากรู้ ไปดูกัน

100Hz.. มันมีดีอะไร มีแล้วดีอย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?? อยากรู้ ไปดูกัน

100Hz.. มันมีดีอะไร มีแล้วดีอย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?? อยากรู้ ไปดูกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

100Hz.. มันมีดีอะไร มีแล้วดีอย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?? อยากรู้ ไปดูกัน

เวลาเราจะซื้อทีวีสักเครื่อง เวลาไปเดินตามห้าง หรือ ดูในโบรชัวร์ จะเห็นคำนึงที่เขียนว่า เครื่องนี้รองรับ 100Hz / 120Hz บางยี่ห้อยิ่งเอาค่านี้มาแข่งกันเลย บางเครื่องอาจจะบอกว่าเครื่องนี้ 400Hz 600Hz โหยยย อะไรมันจะมากมายกันนักกันหนา

ค่า Hz เนี้ยเป็นการนำเสนอของ Refresh Rate ครับ ค่านี้ไม่ได้เพิ่งมีนะครับ มีมานานแล้ว คุณสมบัตินี้มีมาตั้งแต่สมัยเราใช้จอแก้ว หรือ CRT แล้ว สำหรับทีวีนั้น จะมีแต่รุ่นที่ค่อนข้าง hi-end นิดนึง และ แน่นอนว่า ราคาจะสูงกว่ารุ่นธรรมดา แต่ก็แลกมากับคุณภาพที่ดีกว่า ส่วนจะดีกว่ายังไง เดี๋ยวเราจะได้รู้กันครับ

100Hz.. มันมีดีอะไร มีแล้วดีอย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?? อยากรู้ ไปดูกัน

โดยปกติแล้ว การออกอากาศของระบบโทรทัศน์ ในแถบอเมริกา จะใช้ระบบ NTSC จะมีความถี่ของสัญญาณ 60Hz และ ในแถบยุโรป รวมทั้งเอเชีย และ ประเทศไทย จะใช้ระบบ PAL (หรือ SECAM) จะมีความถี่ของสัญญาณ 50Hz ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อออกอากาศผ่านสายอากาศ หรือ เคเบิ้ลทีวี จะต้องถูกสัญญาณรบกวนจะภาวะรอบข้าง และระบบของไฟฟ้าของไทยเรา ก็ใช้ 50Hz เช่นกัน แน่นอนว่า ง่ายต่อการถูกรบกวนแน่ๆ

100Hz.. มันมีดีอะไร มีแล้วดีอย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?? อยากรู้ ไปดูกัน

Refresh Rate คือค่าความไวในการเปลี่ยนภาพ ขณะที่เราดูทีวี แน่นอนว่ามันเป็นภาพเคลื่อนไหว หลักการของภาพเคลื่อนไหว นั่นคือ การมีภาพนิ่งหลายๆมาเรียงต่อกัน และ ระบบที่จอ CRT หรือจอกระจกใช้ นั่นคือปืนอิเลกตรอนที่อยู่ภายในหลอดภาพ โดยมันจะยิ่งมาที่แต่ละ pixel บน panel ด้านหน้าที่เคลือบสารเคมีจำพวกสารเรืองแสงเอาไว้ ทีละบรรทัด ให้เกิดแสงสีในแต่ละ pixel ไล่จากซ้ายไปขวา และ ไล่ลงมาเรื่อยๆจากบนลงล่าง พอยิงครบหนึ่งภาพ เขาจะเรียกว่า 1 Frame ครับ ซึ่งโดยปกติจอ TV แบบ CRT นั้นจะมีความไวที่เท่ากับระบบการออกอากาศ นั่นคือ 50-60Hz ครับ

100Hz.. มันมีดีอะไร มีแล้วดีอย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?? อยากรู้ ไปดูกัน

100Hz.. มันมีดีอะไร มีแล้วดีอย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?? อยากรู้ ไปดูกัน

การที่มีค่า Refresh Rate สูงกว่า source นั่นหมายความว่า การเปลี่ยนภาพในแต่ละภาพ (Frame) จะมีความไวขึ้น ถ้าเกิดว่าโทรทัศน์เครื่องนั้น เป็นระบบ 100Hz นั่นหมายความว่า จะมีระบบแสกนภาพเร็วเป็นสองเท่า โดยใน TV แต่ละเครื่องจะมีชิปประมวลผลที่จะ ทำนายการเคลื่อนไหวของframeถัดไปที่กำลังจะตามมา แล้วนำframeนั้นมาแทนที่ ทำให้เกิดความนิ่งมากขึ้น สัญญาณรบกวนที่เกิดจากสิ่งรอบด้านก็ลดลงไปด้วยครับ

 

100Hz.. มันมีดีอะไร มีแล้วดีอย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?? อยากรู้ ไปดูกัน

พราะข้อดีเรื่องความนิ่งของภาพ การกระพริบที่ลดน้อยลง ระบบแสกนภาพสูงๆ จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในจอ Monitor ของ Computer เพราะจอ Computer เป็นจอที่ผู้ใช้ต้องนั่งจ้องตัวอักษรในระยะใกล้ การปรับค่า Refresh Rate จึงมีอยู่ใน Computer ทุกเครื่อง

100Hz.. มันมีดีอะไร มีแล้วดีอย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?? อยากรู้ ไปดูกัน

ถ้าคุณเคยดูข่าว หรือ รายการทีวีที่เขาเอากล้องไปถ่ายจอโทรทัศน์ จะเห็นว่า จะมีเส้นดำๆ วิ่งจอตลอดเวลา เพราะว่ากล้องนั้นมี Refresh rate ที่ต่างจาก จอTVเครื่องนั้น เมื่อถึงเวลาที่จอ CRT เริ่มจะหายไปจากตลาด จอ LCD/Plasma เริ่มมีความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เริ่มพัฒนาจากระบบ 50Hz ก่อนครับ และ วางขายกันมาจนถึงปัจจุบัน แต่ปัญหาเก่าๆก็ตามมาอีกแล้ว นั่นคือภาพที่เกิดการกระพริบระหว่างการแสกนภาพ อันที่จริงแล้วปัญหานี้มันควรจะหายไปได้แล้ว เพราะจอ LCD นั้นมีหลักการแสดงภาพที่ไม่ต้องอาศัยปืนอิเลกตรอนภายในหลอดภาพอีกแล้ว แต่จริงๆแล้ว LCD จะมีค่าที่เรียกว่า Response time ขึ้นมาครับ โดยมันจะเป็นความเร็วในการที่แสง backlight จะสองไปยัง pixel ที่ใช้แสดงสีออกมาก่อนจะออกมาเป็นภาพหนึ่งภาพ โดยค่า Response Time นั้นจะมีหน่วยเป็น Milli-Second (ms) ถ้ายิ่งน้อย ก็จะยิ่งดี ยิ่งเปลี่ยนภาพได้ไว ผนวกกับความถี่ของแสง backlight นั้นที่มีความถี่ 50Hz

100Hz.. มันมีดีอะไร มีแล้วดีอย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?? อยากรู้ ไปดูกัน

ระบบ100Hz บนจอLCD/Plasma มีข้อดีไม่ต่างจาก CRT เลยครับ เพราะจะให้ภาพที่นิ่งกว่า 50Hzแบบเดิมๆ นั่นทำให้ตอนนี้หลายๆค่ายเริ่มจะออกมาให้ความสำคัญกับระบบใหม่นี้กันแล้ว ครับ จึงมีให้เลือกตั้งแต่ 100Hz สำหรับ PAL/SECAM และ 120Hz สำหรับ NTSC บางรุ่นทยานสูงไปถึง 200Hz 240Hz เลยครับ

100Hz.. มันมีดีอะไร มีแล้วดีอย่างไร จำเป็นต้องมีไหม?? อยากรู้ ไปดูกัน

แต่มีค่านึงที่ผมดูว่าอาจจะเยอะไปซะหน่อย นั่นคือ 600Hz ตรงนั้นจะมีกำกับไว้ว่าเป็น Sub Field Drive จริงๆแล้วระบบนี้มีความคล้ายคลึงกับระบบการแสกนภาพ 100Hz นั่นแหละครับ แต่ Sub Field Drive นี้เป็นขั้นตอนที่จะแสดงภาพออกมาด้วยความเร็วสูงบนจอ โดยเวลาที่แต่ละ frame แสดงขึ้นบนจอ Sub Field Drive จะแสดงภาพ 10 ครั้ง (หรือมากกว่า) นั่นหมายความว่า มันกระพริบ 600 ครั้งต่อวินาที (สำหรับ 600Hz) ยิ่งภาพหนึ่งภาพ กระพริบในจำนวน frame ที่มากๆ สิ่งที่ตามมา นั่นคือภาพเคลื่อนไหวที่เนียนเป็นธรรมชาติ เงาซ้อนก่อนจะเปลี่ยนภาพ ก็จะลดเลือนหายไป

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี่คือเทคโนโลยีในการแสดงภาพของ TV สมัยใหม่ แต่การจะนำระบบการแสกนภาพแบบนี้ ต้องใช้อุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างสูง ค่ายบางค่ายจึงไม่ได้นำ 100Hz มาใส่ แต่จะมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่พยายามจะทดแทน แต่ผมว่ายังไม่ดีพอ เช่น Clear TV, TV Plus ฯลฯ ส่วนจะดีกว่าหรือเปล่า ต้องใช้ตาคุณเองพิสูจน์แล้วหละครับ

ที่มา : www.lcdspec.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook