รีวิว Samsung Galaxy Nexus

รีวิว Samsung Galaxy Nexus

รีวิว Samsung Galaxy Nexus
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รีวิว Samsung Galaxy Nexus

Samsung Galaxy Nexus - หลังจากที่ได้ประกาศเปิดตัวไปเมื่อปลายเดือนตุลาคม Samsung Galaxy Nexus มือถือน้องใหม่ในครอบครัว Nexus ซึ่งเป็นตระกูลมือถือที่กูเกิลเลือกที่จะมีส่วนร่วมในขั้นตอนการออกแบบ โดยมีจุดประสงค์ที่จะเป็นอุปกรณ์กำหนดมาตรฐานให้กับผู้ผลิตมือถือที่จะใช้ ระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชั่นหลักตัวใหม่

ในครั้งนี้ซัมซุงได้ถูกเลือกให้เป็นผู้ผลิตมือถือตระกูล Nexus ให้กับกูเกิลอีกครั้ง หลังจากที่เคยผลิต Nexus S ให้กับกูเกิลเมื่อปลายปี 2010 มาแล้ว โดยในครั้งนี้ ซัมซุงได้ตัดสินใจที่จะมอบชื่อ Galaxy ตระกูลสมาร์ทโฟนชื่อดังของซัมซุงให้เจ้ามือถือตัวนี้ด้วย ตามสโลแกนแล้ว Galaxy Nexus เป็นมือถือที่ "ดีกว่าด้วยการเอาสองสิ่งที่ดีอยู่แล้วมาปนกัน" คือเมื่อสมาร์ทโฟนคุณภาพของตระกูล Galaxy มาเจอกับระบบปฏิบัติการใหม่ Android 4.0 หรือที่เรียกกันว่า Ice Cream Sandwich ก็เปรียบเสมือนกับการกินโอรีโอ้แล้วจุ่มนม หรือการอ่านหนังสือพิมพ์ไปกับการจิบกาแฟร้อน ๆ ซักแก้ว

*หมายเหตุ: รีวิวนี้ผมตัดสินใจเขียนขึ้นโดยเน้นจะให้ข้อมูลตามความรู้สึกจากการใช้งาน จริงมากกว่าข้อมูลทางเทคนิค และอธิบายในสิ่งที่ผมไม่เห็นรีวิวจากเว็บอื่นเน้นหรือพูดถึงไปแล้ว โดยผมขอแนะนำให้เข้าไปอ่านข่าวเก่า หรือรีวิวจากเว็บ Engadget และ The Verge ที่มีรูปสวย ๆ และวีดีโอการใช้งานให้ดูครับ (และต้องขออภัยเรื่องรูปภาพไม่ครบในส่วนของฮาร์ดแวร์ เดี๋ยวจะขอกลับไปแก้ตัวอีกครั้งตอนกลางวันด้วยกล้องจริงตอนกลางวันอีกที)

ในตอนนี้ Galaxy Nexus วางขายแล้วในยุโรป เครื่องที่ใช้ในการรีวิวนี้มาจากประเทศอังกฤษ ราคาประมาณ 21,800 บาทสำหรับรุ่นความจุ 16GB รวมค่าขนส่งและภาษีแล้ว สำหรับประเทศไทยก่อนหน้านี้มีรายงานว่าก่อนสิ้่นปีนี้มีขายแน่นอน (และคงถูกกว่านี้ด้วย T^T)

ฮาร์ดแวร์

เมื่อเห็นหน้าตาของ Galaxy Nexus แล้วจะบอกได้เลยว่าแทบจะไม่ต่างจาก Nexus S ที่ถูกรถทับแบนมา หน้าตาโดยรวมใกล้เคียงกับ Nexus S มาก (เพราะมันบางกว่าแต่กว้างและยาวขึ้น) หน้าจอขนาด 4.65 นิ้วที่มากับเครื่องเป็นหน้าจอ HD Super AMOLED ของซัมซุงที่ให้สีสันสดใสแต่ไม่เกินจริงเหมือนกับ Galaxy S II

ด้านหน้าของตัวเครื่องไม่มีปุ่มใด ๆ ทั้งสิ้น ปุ่มทั้งหมดกลายเป็นส่วนหนึ่งของหน้าจอแสดงผลแทน คล้าย ๆ กับแท็ปเล็ตที่รันระบบปฏิบัติการ Android 3.0 หรือ Honeycomb บริเวณกระจกด้านหน้าของตัวเครื่องไม่ใช่ Gorilla Glass อีกต่อไป แต่เป็น "กระจกแข็ง" ที่สามารถกันรอยขีดข่วนได้มากกว่ากระจกธรรมดาแต่ไม่มียี่ห้อ "Gorilla" ติดแล้วเท่านั้น บริเวณพื้นที่ว่างด้านล่างของหน้าจอจะมีไฟ LED เพื่อใช้ในการแจ้งเตือน ซึ่งมีประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราสามารถกำหนดสีของไฟในการแจ้งเตือนในแต่ละแอพ (ผมใช้โปรแกรม Light Flow)

ตำแหน่งของปุ่มต่างบริเวณขอบด้านข้างของตัวเครื่องได้แก่ปุ่มเพิ่ม-ลด ระดับเสียงที่จะอยู่ขอบด้านซ้ายบน ปุ่ม Sleep/Wake จะอยู่ด้านขวา ส่วนช่องเสียบสาย micro USB จะอยู่ตรงกลางบริเวณก้นของตัวเครื่อง โดยมีช่องเสียบหูฟังอยู่เยื้องไปทางขวา

ฝาด้านหลัง มีไมโครโฟนตัวที่สองอยู่ด้านขวาบนเพื่อการตัดเสียงรบกวนขณะสนทนา (เป็นรูเล็ก ๆ อาจจะมองหายากในภาพนี้)

ภายในฝาด้านหลัง ถาดใส่ซิมการ์ดขนาดปกติ และแบตเตอรี่ที่มีเสาอากาศ NFC ติดมาด้วย

โดยรวมแล้ววัสดุภายนอกต่าง ๆ ที่ถูกนำมาใช้ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่เมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุที่คู่แข่งอย่าง HTC หรือ Nokia N9 เอามาใช้แล้วจะรู้สึกว่าด้อยกว่าอย่างชัดเจน แต่เมื่อลองถือในมือจริง ๆ แล้วจะรู้สึกได้ว่าตัวเครื่องมีความแข็งแรงทนทานแม้ว่ามันจะบางและเบา

เปรียบเทียบขนาดกับ HTC Sensation (กลาง) และ iPhone 4 (ขวา/ล่าง)

 size comparison  thickness comparison


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook