รีวิว Motorola RAZR การกลับมาที่สมศักดิ์ศรีของแบรนด์มือถืออันโฉบเฉี่ยว

รีวิว Motorola RAZR การกลับมาที่สมศักดิ์ศรีของแบรนด์มือถืออันโฉบเฉี่ยว

รีวิว Motorola RAZR การกลับมาที่สมศักดิ์ศรีของแบรนด์มือถืออันโฉบเฉี่ยว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รีวิว Motorola RAZR การกลับมาที่สมศักดิ์ศรีของแบรนด์มือถืออันโฉบเฉี่ยว

ตามสัญญาครับ หลังจาก Motorola เปิดตัว RAZR อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมก็ได้รับเครื่องมารีวิวเรียบร้อย

ตอนแรกก็เขียนสั้นๆ เป็นมินิรีวิว แต่เอาไปเอามายาวกว่าที่คิด อย่างไรก็ตามจะพยายามให้สั้นกระชับได้ใจความมากที่สุดครับ ประเด็นสเปกเครื่องคงไม่ต้องฉายซ้ำให้เสียพื้นที่ ยุคสมัยของอินเทอร์เน็ต เพียงแค่คลิกไปที่เว็บ Motorola หนึ่งครั้งก็เห็นสเปกเครื่องโดยละเอียดกันหมดแล้ว เข้าประเด็นส่วนของรีวิวกันเลยดีกว่า

กล่องและอุปกรณ์ที่มาพร้อมกับเครื่อง

เราจะพูดถึงตรงนี้กันสั้นๆ RAZR มาในกล่อง 2 ชั้นสวยงาม กล่องถือว่าค่อนข้างใหญ่เทียบกับมือถือสมัยนี้ อุปกรณ์ที่แถมมาให้มีสายชาร์จ/Micro USB และชุดหูฟังมาตรฐาน นอกจากนี้มีคู่มือเล่มเล็กๆ มาให้อีก 2 เล่ม

 

ตามสเปกของ RAZR รองรับ 3G WCDMA บนคลื่น 850/2100/1900/900 ผมลองกับ DTAC 3G ก็ใช้งานได้ดีไม่มีปัญหาอะไรครับ (แถมตอน DTAC ล่มดันใช้งานได้ด้วยนะ)

ฮาร์ดแวร์และดีไซน์ภายนอก

Motorola RAZR เป็นฮาร์ดแวร์ในตระกูล Droid (ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าของ Verizon ในสหรัฐ ดังนั้นการทำตลาดนอกสหรัฐจะใช้ชื่อว่า RAZR เฉยๆ ไม่ใช่ Droid RAZR) ทำให้การออกแบบภายนอกของมันยังคงสไตล์ของ Droid นั่นคือเข้มแข็ง บึกบึน เน้นโทนสีดำและโลหะสีเงิน อารมณ์เหมาะสำหรับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

อย่างไรก็ตาม RAZR ถือว่าพัฒนามาจากมือถือรุ่นพี่ในตระกูล Droid ตัวอื่นๆ (โดยเฉพาะ Droid 1/Milestone) คือเน้นการตกแต่งภายนอกมากขึ้นกว่าเดิม ดูไม่ geek มากเหมือนกับ Milestone ในอดีต

จุดขายสำคัญของมันอยู่ที่ความบาง ซึ่งบางเพียง 7.1 มิลลิเมตร (ไม่รวมส่วนหัวที่ปูดออกมาเป็นกล้อง) ถือว่าบางที่สุดของสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ตอนแรกผมดูรูปก็เฉยๆ แต่พอได้จับของจริงแล้วก็ต้องยอมรับแต่โดยดีว่า มันบางจริงๆ แฮะ

เนื่องจากผมไม่มีมือถือตัวอื่นมาเทียบ ก็ขอเทียบกับ Nexus S ที่ใช้อยู่แล้วกันนะครับ จะได้พอเห็นภาพ แต่ก็อย่างที่บอกไปว่าดูภาพมันเฉยๆ พวกนี้มันต้องลองจับเอง

ด้านหน้าของตัวเครื่องเป็นจอ Super AMOLED ขนาด 4.3 นิ้ว ความละเอียด 960x540 (16:9) สีสันสวยงาม ใช้ Gorilla Glass แข็งแกร่งบึกบึน ในวิดีโอโฆษณาของ Motorola บอกว่ามันกันน้ำหกใส่ได้ด้วยแต่อันนี้ผมก็ไม่กล้าลองน่ะนะ

ด้านบนของหน้าจอด้านหน้า เป็นโลโก้ Motorola ในแผ่นโลหะ นอกจากนี้ยังมีกล้องหน้าและ proximity sensor แต่จุดที่น่าสนใจคือมันมีไฟ LED แสดงสถานะการแจ้งเตือนด้วย (ยุคสมัยของ LED notification กำลังจะกลับมา?)

ปุ่มควบคุมด้านล่างของตัวเครื่อง เป็น 4 ปุ่มมาตรฐานของ Android และรูเล็กๆ สำหรับไมโครโฟน ปุ่มเหล่านี้ยังไม่ใช่ปุ่มบนหน้าจอเหมือนกับ Galaxy Nexus ต้องรอดูว่ามือถือรุ่นต่อไปของ Motorola (จริงๆ ก็ยี่ห้ออื่นทั้งหมด) จะเดินรอยตาม Galaxy Nexus ในเรื่องนี้หรือไม่

ปุ่มต่างๆ ของตัวเครื่องจะอยู่ที่ขอบด้านขวามือทั้งหมด ซึ่งก็มีแค่ 3 ปุ่มตามมาตรฐานมือถือสมัยใหม่ นั่นคือ power และ volume up/down

ขอบด้านซ้ายของตัวเครื่องมีบานพับสำหรับใส่ซิมการ์ดและ Micro SD อยู่ สำหรับ RAZR นี่ต้องใช้ Micro SIM นะครับ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ จะอยู่ด้านบนของตัวเครื่อง ซึ่งก็มี Micro USB, Micro HDMI (ไม่ได้ให้สายมาด้วย) และช่องเสียบหูฟัง ส่วนด้านล่างของตัวเครื่องมันบางมากจนใส่พอร์ตอะไรไม่ได้เลย

ด้านหลังของตัวเครื่อง ส่วนบนคือกล้อง 8MP พร้อมแฟลช และลำโพง (ซึ่งเสียงดังมากจนผมตกใจหลายรอบเวลามีเมลเข้า ถือเป็นมือถือที่เสียงดังมาก) ส่วนที่เห็นลายๆ ด้านล่างเป็นจุดขายอย่างที่สองของการออกแบบภายนอก มันคือ "เคฟลาร์" (Kevlar) วัสดุสังเคราะห์ที่มักใช้ในเสื้อเกราะกันกระสุนหรืออุปกรณ์ทางการทหาร ป้องกันรอยขีดข่วนได้เต็มรูปแบบ

การเลือกใช้เคฟลาร์ถือเป็นทิศทางที่น่าสนใจของ Motorola ประโยชน์ของมันคือสามารถป้องกันรอยขีดข่วนด้านหลังได้โดยไม่ต้องใส่เคส (โดยเฉพาะกรณีผู้ชายใส่มือถือไว้ในกระเป๋ากางเกง ร่วมกับกุญแจ)

ว่าแล้วเราก็ลองข่วนกันเสียหน่อย ไม่มีร่องรอยจริงตามโฆษณาครับ (เพียงแต่ประโยชน์จริงๆ ของมันอาจไม่เยอะมากนัก ถือเป็นกิมมิคทางการออกแบบเสียมากกว่า)

RAZR นี่ ถอดแบตไม่ได้ นะครับ เหตุผลเดียวกับที่แอปเปิลนำมาอ้างบ่อยๆ คือเครื่องมันบางเกินไปจนต้องรวมแบตมาให้เลย (แบตขนาด 1,780 mAh)

เท่าที่ลองใช้มาเกือบสัปดาห์ ผมพบว่าวัสดุและการประกอบภายนอกของ RAZR ถือว่าดีมาก ให้ความรู้สึกว่าเป็นอุปกรณ์มีราคา ส่วนขนาดของตัวเครื่องก็ถือว่าใหญ่พอสมควร เต็มไม้เต็มมือแต่ก็อยู่ในระดับที่ถือได้

ด้านความเบาและความบางที่เป็นจุดขายก็ทำได้ดี เพียงแต่ในทางกลับกัน ความบางกลับทำให้ถือยากอยู่บ้าง เพราะเครื่องมีขนาดใหญ่และบาง ทำให้มือถือมันแบนๆ ไม่ค่อยสอดรับกับอุ้งมือมากนัก รูปแบบการถือเครื่องเลยเป็นเราโก่งมือ กดที่ขอบทั้งสองข้างโดยไม่แตะขอบด้านหลังเสียมากกว่า

 

Facebook :

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

Facebook :

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

อัลบั้มภาพ 11 ภาพ

อัลบั้มภาพ 11 ภาพ ของ รีวิว Motorola RAZR การกลับมาที่สมศักดิ์ศรีของแบรนด์มือถืออันโฉบเฉี่ยว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook