ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด 12 ปีนักษัตร เพื่อเสริมดวงชะตา

ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด 12 ปีนักษัตร เพื่อเสริมดวงชะตา

ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด 12 ปีนักษัตร เพื่อเสริมดวงชะตา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตามความเชื่อแบบล้านนานั้น เชื่อว่าก่อนที่บุคคลจะมาปฏิสนธินั้น วิญญาณจะลงมา ชุธาตุ หรือ พักอยู่ที่เจดีย์แห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่อเสียชีวิตแล้ววิญญาณก็จะไปพักอยู่ที่เจดีย์นั้นอีก ก่อนที่จะไปเสวยผลกรรมต่อไป ซึ่งยึดถือเอาพระธาตุเป็นที่พึ่งและคุ้มครองตน ดังนั้นการไหว้บูชาพระธาตุทุกคืนจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ อีกทั้งยังถือกันว่าในชีวิตหนึ่งควรได้มีโอกาส ไปสักการบูชาสักครั้งให้เกิดความเป็นสิริมงคล มีอายุมั่นขวัญยืน ทั้งยังได้บุญอานิสงส์มาก

นอกจากนี้การไหว้พระธาตุตามปีเกิดยังสัมพันธ์กับประเพณีการขึ้นพระธาตุทุกวันเดือนแปดเพ็ง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนหกของภาคกลาง ในวันสำคัญนี้ชาวเหนือนิยมพากันไปนมัสการพระธาตุเจดีย์ ณ สถานที่สำคัญๆ ดังนั้นแต่ละคนพึงจะไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเสมอ ก่อนเข้านอน ให้มีแต่ความสุขความเจริญในชีวิต

กราบไหว้พระธาตุประจำปีเกิด 12 นักษัตร เพื่อความเป็นสิริมงคล พระธาตุประจำวันเกิด ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำไป ว่าตัวเองมีพระธาตุอะไร เป็นพระธาตุประจำปีเกิดตาม 12 ปี นักษัตร ของตัวเอง บทความนี้เลยจะนำมาบอกเล่าให้ทุกท่านได้ทราบว่า พระธาตุประจำปีเกิดของทุกท่านอยู่ที่ไหนกันบ้าง มาลองเช็คกัน

 

ปีชวด (หนู) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุศรีจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)

นะโมพุทธายะ นะมามิ ติโลกะโมลี
โลหะกูเฎ ปะติฎฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลเกหิ
กิตติมันตัง มะโนหะ รัง อะหัง วันทามิ
อสัพพะทา อัง คะวะเย ปุเรรัมเมิโกวิลา
รัคคะปัพ พะเต สะหิเหมะคูหา คัพเภ
ทักขิณะโมลี ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะทา

 


ปีฉลู (วัว) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุลำปางหลวง เมืองลำปาง

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)

ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง
ปะติฎฐาสัมภะ กัปปะปุเร เทเวนะ
คุตตา อุตตะราภิทัยยา นะมามิหันตัง
วะระชินะธาตุง ฐะเปติ มะหา ฐาเน
เจติยัง ปูชิตา นะเะเทเวหิ
อะหัง วันทามิ ธาตุโย

 

 

ปีขาล (เสือ) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุช่อแฮ  จังหวัดหวัดแพร่

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)

โกเสยยะ ธะชัคคะ
ปัพพะเต สัตตะมะโนรัมเม
พุทธะ เกสาธาตุ ปะติฎฐิตา
อะหัง วันทามิ สัพพะทา
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิสัพพะโส

 

ปีเถาะ (กระต่าย) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุแช่แห้ง

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)

ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง
ปะติฎฐิตา นันทะกัปปะเก
ปุเร เทเวนะ คุตตา วะระพุทธะธาตุง
จิรัง วันทามิหันตัง ชินะธาตุโย
โส ตะถาคะตัง
อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ ทูระโต

 

ปีมะโรง (งูใหญ่) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)

อิติ ปะวะระสิหิงโค อุตตะมะยโสปิ
เตโข ยัตถะ จิตโตโส สักกาโร
อุปาโท สะกาละพุทธะสาสะธัง โชตะยันโตวะ
ทีโป สุระนะเรหิ มะหิโต ธะระมาโนยะ
พุทโธติ นะมามิ สิหิงคะพิมพัง
สุวัณณาภิรัมมัง ลังกาชาตัง

 

ปีมะเส็ง (งูเล็ก) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ เจดีย์ศรีมหาโพธิ์พุทธคยา (เจดีย์เจ็ดยอด)

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)

ปะฐะมัง โพธิปัลลังกัง ทุติยัง
อะนิมิสสะกัง ตะติยัง จังกะมะ
เสฏฐัง จะตุตถะกัง ระตะนะฆะรัง
ปัญจะมัง อะชะปาละนิโคธัง
ฉัฏฐัง ราชายะตะนัง สัตตะมัง มุจ
จะลินทัง อะหัง วันทามิ ทูระโต

 

ปีมะเมีย (ม้า) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง  เมียนม่าร์ (พม่า)

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)

สัมมาสัมพุทธะ นะลาตะ
อัฏฐิ จะตุเกสาธาตุยา
คันธะวะ รัง
ฐิตัง ปะระมา
ธาตุ เจติยัง
อะหัง วันทามิ สัพพะธา

 

ปีมะแม (แพะ) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระบรมธาตุดอยสุเทพ  จังหวัดเชียงใหม่

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)

สุวัณณะ เจติยัง เกสา
วะระมัตถะลุงคัง วะรัญญะธาตุง
สุเทวะนามะทัง
นะระเทเวหิ
สัพพะปูชิตัง
อะหัง วันทามิ สัพพะ

ปีวอก (ลิง) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุพนม   จังหวัดนครพนม

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)

ปุริมายะ ทักขิณายะ ปัจฉิมายะ อุตตะรายะ เหฎฐิมายะ อุปะริมายะ
ทิสายะ กะปะณะสิริส สะมิง
ปัพพะเต กัสสะเปนะ ฐาปิตัง
พุทธะอุรังคะธาตุง สิระสา นะ มามิ เสตะฉัตตัง สุวัณณะระชะตัง
ระตะนัง ปะณีตัง พุทธะอุรังคะเจติยัง
อะหัง วันทามิ สัพพะทา


ปีระกา (ไก่) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุหริภุญชัย  จังหวัดลำพูน

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)

สุวัณณะเจติยัง หะริ ภุญชะยัฎฐัง
วะระโมลีธารัง อุรัฎฐิ เสฎฐัง
สะหาอังคุลิฎฐิง
กัจจายะเน นะ ฐิตะปัตตัปปะการัง
สีเสนะ มัยหัง ปะระมามิธาตุง

ปีจอ (สุนัข) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระบรมธาตุเจดีย์เกศแก้วจุฬามณี สวรรค์ชั้นดาวดึงส์   จังหวัดเชียงใหม่

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)

ตาวะติงสายะ ปุรัมเม เกสะจุฬา
มะณี สะรีระปัพพะตา ปูชิตา
สัพพะ เทวานัง ตังสิระสา ธาตุ
อุตตะมัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา

ปีกุน(หมู) พระธาตุประจำปีเกิดนักษัตร คือ พระธาตุดอยตุง  จังหวัดเชียงราย

คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนโม 3 จบ)

อิมัสสะมิง ภัททะกัปเป จะตุพุทธา พุชฌิต ตะวา กะกุสันธะโกนาคะมะนะ
กัสสะปะ โคตะ มะราชะเคเห จะระติ
ปิณฑายะ มิถิลายะนะ คะเรสิ จะระติ ปิณฑายะ อะตีตาพุทธาเน อิมัสมิง ฐาเนสีทิ สิริสุภะปะวะรัง
มังคะลัง ตะโมลากะถามุนิราชัง สาทะรัง นมามิหันตัง วะระชินาธาตุง อะหัง
วันทามิ สัพพะทานะตัง วะชิระ
ธาตุโย อะระหัง วันทามิ สัพพะทา

 

การบูชาพระธาตุนั้น นอกเหนือจากการบูชาด้วย "อามิสบูชา" เช่น การบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และ เครื่องหอมต่างๆแล้ว การบูชาด้วยการ "ปฏิบัติบูชา" ซึ่งเป็นวิธีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่นิยมปฏิบัติควบคู่ไปด้วย ในการบูชาซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุทั้งหลาย โดยทั่วไปนิยมปฏิบัติตามแนวอริยมรรค 8 ประการ สรุปโดยย่อได้แก่

1. การบูชาด้วยศีล ซึ่งศีลเป็นพื้นฐานและเป็นที่ตั้งมั่นแห่งการทำความดี เป็นเกราะป้องกันความชั่วทั้งปวง ไม่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ทำให้เกิดความพร้อมต่อการปฏิบัติสมาธิ (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)

2. การบูชาด้วยสมาธิ ซึ่งการสวดมนต์ภาวนา นั่งสมาธิ ดูลมหายใจเข้า-ออก เป็นการฝึกความเข้มแข็งของจิต ให้มีกำลังในการพิจารณาหลักธรรมต่างๆได้ตามความเป็นจริง (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)

3. การบูชาด้วยปัญญา คือการใช้ปัญญาพิจารณาหลักความเป็นจริง ตามหลักไตรลักษณ์ (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook