นมัสการ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์

นมัสการ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์

นมัสการ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เนื่องในวันสงกรานต์หรือปีใหม่ไทยนี้ เราชาวไทยต่างพากันไปทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง แต่สำหรับใครที่อยากไหว้ขอพรในด้านต่าง เช่น ขอโชคลาภ บารมี ความรัก สุภาพ ลองไปนมัสการ 9 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเจริญก้าวหน้าแก่ชีวิตในทุกๆด้านกันดูสิค่ะ

โชคลาภวาสนา
ผู้ที่ต้องการขอพรให้สมหวังในสิ่งที่มุ่งมาดปราถนา ประสบแต่โชคลาภและมีชิวิตอันอุดมสมบรูณ์ มักไปสัการะท้าวมหาพรหม และหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร

 


1.เทวาลัยท้าวมหาพรหม
ประดิษฐานอยู่หน้าโรงแรมแกรนด์ ไฮแอทเอราวัณ ถนนราชประสงค์ เป็นสิ่งศักดิ์ที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเคารพนับถือมาก ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-22.30 น. จะมีผู้คนมาสัการะบูชากันไม่ขาดสาย พร้อมด้วยดอกไม้ธูปเทียน ผ้าหลากสี รูปช้างแกะสลัก หรือถวายละครรำ เป็นเครื่องบูชาแด่พระพรหมผู้สร้างโลกตามคติของศาสนาพราหมณ์ เพื่อความเป็นมงคลแก่ชีวิต มีโชคลาภและความปราถนา

 

2.หลวงพ่อโต วัดกัลยาณิตวรมหาวิหาร
พระพุทธไตรรัตนายก พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ เป็นพระประธานของวัดนี้ สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งอยู่บนถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่ ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์

หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสัการะของชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวจีนจากประเทศต่างๆ ซึ่งมักเรียกว่า ซำปอฮุดกง หรือ ชำปอกง ในช่วงเทศกาลขึ้นปีใหม่ ตรุษจีน และวันทิ้งกระจาด จะะมีผู้คนมาถวายสัการะมากเป็นพิเศษ โดยเชื่อว่าการไหว้หลวงพ่อโตช่วยให้ค้าขายร่ำรวย มีมิตรที่ดี และเดินทางปลอดภัย สามารถแวะมานมัสการหลวงพ่อโตและชมความงามของศิลปะแบบจีนได้ทุกวันเวลา 08.00-16.00 น.


ความรักและเมตตา
หากท่านต้องการสมหวังในเรื่องความรักและได้รับความเมตตาจากผู้อื่น สิ่งศักดิ์สิทธ์ที่ควรรกราบขอพรคือ พระตรีมูรติและพระแม่กวนอิม ซึ่งถือว่าเป็นเทพผู้ทรงเมตาต่อมวงมนุษย์

 


3.พระตรีมูรติ
คือ องค์อวตารรวมของพระพรหม(ผู้สร้าง) พระนารายณ์ (ผู้ปกป้องรักษา) และพระอิศวร(ผู้ทำลาย) ถือเป็นสัญลักษณ์ของมหาเทพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ยุคใหม่ เรื่องราวเล่าขานถึงความสุขสมหวังในความรักจากการขอพร ทำให้ชื่อเสียงของพระตรีมูรตีเป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มวัยรุ่น

ทุกๆ วันเราจะเห็นหญิงสาวหลายวัยไปพร้อมหน้ากันที่เทวาลัย ด้านหน้าของศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์ ถนนราชประสงค์ โดยแต่ละคนจะมาพร้อมพวงมาลัยกุหลาบสีแดงและเครื่องบูชา รอเวลาพระตรีมูรติประทับทรง คือ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 21.30 น. ให้นำเทียนสีแดง 1 เล่ม ธูปแดง 9 ดอก และพวงมาลัยกุหลาบสีแดงไปบูชาพร้อมของสักการะตามศรัทธา โดยเฉพาะผลไม้จะเป็นที่โปรดปรานมาก

 

4.ตำหนักพระแม่กวนอิม
พระมหาเจดีย์ที่สูงสุดในเอเซียอาคเนย์เป็นพุทธศาสนาสถานมหายาน ภายในมีพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมทุกชั้น มีความวิจิตรงดงามมาก

สิ่งสำคัญของพระเจดีย์นี้คือ รูปพระแม่กวนอิมพันกรขนาดใหญ่ แกะสลักจากไม้จันทน์หอมจากจีน ปิดด้วยทองคำเหลืออร่ามทั้ง 4 องค์ บริเวณพระมหาเจดีย์ร่มรื่นไปด้วยไม้ประดับและสวนหินล้านปีแบบจีนเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ศาสนสถานแห่งนี้เป็นศุนย์รวมจิตใจของพุทธศานิกชนและเป็นสถานที่อบรมธรรมะ ซึ่งทางตำหนักได้จัดกิจกรรมเพื่อสังคมและประชาชนอย่างต่อเนื่อง ผู้สนใจสามารถแวะสัการะพระแม่กวนอิมได้ทุกวันที่พระตำหนัก ถนนโชคชัย 4 ซอย 39 ลาดพร้าว


สุขภาพพลานามัย
ผู้ที่ต้องการมีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรงภัยไข้เจ็บมักขอพรจากพระแม่อุมาเทวี ให้ช่วยคุ้มครองตนเองให้พ้นจากความป่วยไข้

 


5.วัดพระศรีมหาอุมเทวี
ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดแขก" เป็นวัดในศาสนาพราหมณ์ฮินดูนิกายศักติ ซึ่งนับถือเทพสตรีเป็นใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณถนนสีลมตัดกับถนนปั้น เขตบางรัก ภายในวัดมีเจ้าแม่อุมาเทวีหรือ "องค์พระแม่ศรีมหามารีอัมมัน" เป็นเทพองค์ประธานและยังมีเทพอื่นๆ อีกหลายองค์ เช่น พระพิฆเณศวร์

ในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคมของทุกปีจะมีพิธี "นวราตรี" ซึ่งจัดขึ้นเพื่อบูชาพระศรีมหาอุมาเทวี มีประชาชนจำนวนมากทั้งชาวฮินดู ชาวไทย และชาวต่างชาติ มาเข้าร่วมพิธีอย่างคับคั่ง โดยผู้สักการะมักขอพรเจ้าแม่ให้ตนเองมีสุขภาพแข็งแรง เปิดทำการทุกวัน เวลา 06.00-20.00 น.


อำนาจบารมี

สำหรับท่านที่ต้องการความมั่นคงในชีวิตมีอำนาจบารมี มักนิยมเดินทางไปสัการะศาลหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อเสือ พระบรมรูปทรงม้า และพระรูปกรมหลวงชุมพรฯ

 


6.ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
ตั้งอยู่ถนนราชดำเนิน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ภายในมีเทพารักษ์เป็นที่ประดิษฐานเทพารักษ์ผู้ดูแลรักษาพระนคร 5 องค์ คือ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานพระอุเทนทราธิราชและพระสยามเทวาธิราชจำลองไว้ภายในด้วย

ศาลหลักเมืองเปิดทำการทุกวัน เวลา 05.30 - 19.30 น. เครื่องสักการะมีจำหน่ายในบริเวณศาล ชุดละ 30 บาท ประกอบด้วย ดอกไม้ พวงมาลัย ผ้าแพร 3 สี ธูป เทียน และทองคำเปลว โดยเชื่อว่าไหว้ศาลหลักเมืองแล้วจะช่วยตัดเคราะห์ต่อชะตาและเสริมวาสนาบารมี นอกจากไหว้ศาลหลักเมืองเเล้ว หลายคนยังนิยมเสียงทายสิ่งที่ตนปราถนาด้วยการยก "พระพุทธรูปเสี่ยงทาย"

 


7.ศาลเจ้าพ่อเสือ
ศาลเจ้าเก่าเเก่ที่มีเทพประจำศาลคือ "เสียนเทียนซั่งตี้" หรือ "เจ้าพ่อเสือ" ตั้งอยู่บนถนนตะนาวตัดกับถนนมหรรณพ ภายในประดิษฐานรูปเสือ โดยเอากระดูกเสือบรรจุไว้ภายในแล้วอัญเชิญดวงวิญญาณเสือสถิตไว้เพื่อปกป้องประชาราษฏร์ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข

ศาลเจ้าพ่อเสือเป็นที่นับถือของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเชื่อว่าจะช่วยเสริมอำนาจบารมีให้ดียิ่งขึ้นบางครอบครัวบนบานเพื่อขอให้มีบุตร เมื่อสมความปราถนาก็จะกลับมาถวายเนื้อหมูสด ไข่ไก่สด เป็นเครื่องสักการะ นอกจากเจ้าพ่อเสือแล้วยังมีเจ้าพ่อกวนอูและเจ้าแม่ทับทิมให้สักการะด้วย เปิดทำการทุกวันเวลา 06.00-17.00 น.

 

8.พระบรมรูปทรงม้า
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประชาชนเรียกกันคุ้นปากว่า "พระบรมรูปทรงม้า" สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงต่อพสกนิกร แม้เมื่อเสร็จสวรรคตแล้วก็ทรงเป็นที่นับถือในหมู่ประชาชนตลอดมา

คนไทยจำนวนมากเรียกขานพระนามของพระองค์ท่านว่า "เสด็จพ่อ ร.5" ด้วยความรักและเทิดทูนทั้งยังเชื่อว่าการบูชาพระองค์ท่านจะช่วยให้มีโชคในการประกอบอาชีพการงาน ทุกๆวัน โดยเฉพาะวันอังคารซึ่งเป็นวันพระราชสมภพจะมีคนจำนวนมากนำดอกกุหลาบสีชมพูไปถวาย ณ ลานพระบรมรูป หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม

 

9.พระรูปกรมหลวงชุมพรฯ
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระพระโอรสองค์ที่ 28 ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นราชสกุล "อาภากร" ผู้ทรงวางรากฐานกิจการกองทัพเรือและก่อตั้งโรงเรียนนายเรือ จนได้รับขนานพระนามว่า "พระบิดาของทหารเรือไทย" ทรงเป็นที่เคารพนับถือของทหารเรือและประชาชนทั่วไป ซึ่งเรียกขานพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย"

ในกรุงเทพฯ พระรูปของกรมหลวงชุมพรฯ มีอยู่หลายที่ แต่ที่ผู้คนนิยมไปกราบไหว้กันมาคือที่ "วังนางเลิ้ง" ซึ่งเคยเป็นพระตำหนักที่ประทับเมื่อยังทรงพระชนม์ชีพ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตพณิชยการพระนคร เครื่องเซ่นไหว้ที่มักนำไปถวาย คือ หมากพลูและประทัด

 


ขอบคุณข้อมูลจาก กองการท่องเที่ยว สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร
ขอบคุณภาพประกอบจาก วิกิพีเดีย

เส้นทางการเดินทางไปทำบุญเพิ่มเติม

>เดินสายไหว้พระ 9 วัด 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook