"วัดร่องขุ่น" พุทธศิลป์ที่ได้แรงบันดาลใจจาก "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙"

"วัดร่องขุ่น" พุทธศิลป์ที่ได้แรงบันดาลใจจาก "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙"

"วัดร่องขุ่น" พุทธศิลป์ที่ได้แรงบันดาลใจจาก "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ท่านไม่เพียงแต่เป็นพระกษัตริย์ด้านการปกครองและนักพัฒนาประเทศที่ดีแล้ว แต่ยังมีความเป็นเลิศทางด้านงานศิลปะ สร้างแรงบันดาลใจแก่ศิลปินต่างๆ ของประเทศ รวมถึง "อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์" ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) จนได้ก่อสร้าง "วัดร่องขุ่น" ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก

หลังจากที่เคยถวายรับใช้ผลงานด้านศิลปะใต้เบื้องยุคลบาท หนังสือพระมหาชนก พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙  เป็นความภาคภูมิใจของอาจารย์เฉลิมชัย เป็นแรงผลักดันให้อาจารย์มีการก่อสร้าง "วัดร่องขุ่น" สร้างพุทธศิลป์เพื่อแผ่นดิน ถวายเป็นพุทธบูชา ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในปีพ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน จนเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติในนาม "White Temple"

ซึ่งวัดร่องขุ่นถอดแบบมาจากวัดมิ่งเมือง จังหวัดน่าน ด้วยศิลปะไทยประยุกต์หรือศิลปะสมัยใหม่ โดย อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งคือ

1. ชาติ ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
2. ศาสนา ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
3. พระมหากษัตริย์ จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชหลายครั้ง ทำให้เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน

และมายืนอยู่ ณ จุดนี้ได้เพราะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยตัวเองตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ทุ่มเทให้กับศิลปะสมัยใหม่อย่างจริงจัง ด้วยหวังว่าช่วงชีวิตนี้อยากมีโอกาสถวายงานด้านศิลปะเพื่อรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท ซึ่งผลงานศิลปะเหล่านี้จะเป็น ศิลปะประจำรัชกาลที่ ๙ เพื่อเทิดพระเกียรติให้โลกได้รู้ว่าศิลปะเหล่านี้ได้เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองและประกาศความยิ่งใหญ่ต่อคนทั้งโลก โดย "อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์" ยืนยันว่าจะทำต่อไปจนวันตาย

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก wikipedia , watrongkhun

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook