งดงามอลังการ! "พิธีไหว้ครู" ล้านนา คณะวิจิตรศิลป์ รุ่น 34
“ครามฮ่อม ย้อมนิล สานจินต์ ศิลป์บูชา” พิธีไหว้ครูในแบบล้านนาโบราณของ คณะวิจิตรศิลป์ ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ ปี และ ถือเป็นประเพณีที่สำคัญโดยคณะวิจิตร ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านงานศิลปะ และ การอนุรักษ์ หรือ สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของชาวล้านนา พิธีไหว้ครูก็ถือเป็นประเพณีที่ชาวล้านนาให้ความสำคัญ เพราะเป็นประเพณีการเคารพกราบไหว้ครูบาอาจารย์ที่ประสาทวิชาการต่างๆให้
โดยปีนี้ "พิธีไหว้ครู" มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2559 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พ.ย 2559 นั้นประกอบด้วย ริ้วขบวนแห่เครื่องสักการะ ขบวนแห่ เครื่องเซ่นไหว้ครู ที่แสดงถึงการเคารพธรรมชาติและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยมีขบวนแห่เสลี่ยงหลวง "นางแก้ว" (นางแก้ว ตามคัมภีร์ภาคเหนือโบราณหมายถึง นางอิตถีรัตนะ คือนางผู้วิเศษที่มีความเพียบพร้อมดีงาม) มีการบรรเลงดนตรีพื้นเมือง พร้อมถวายการบูชาด้วยนาฎย ในเครื่องแต่งกายที่สวยงามตระการ ตามแบบการแต่งกาย
นอกจากนางแก้วจะเป็นผู้เชิญขันบายศรีขึ้นบนเสลี่ยงหลวงอันงดงามแล้วระหว่างทางที่ขบวนแห่เครื่องเซ่นไหว้ และนางแก้วผ่านคือสันเขื่อนอ่างแก้วขบวนจะหยุดพัก ให้นางแก้วได้ลงจากเสลี่ยงเพื่อตักน้ำอันเป็นมงคลจากอ่างแก้วเพื่อใช้ผสมในการทำน้ำมนต์ประพรมนักศึกษาใหม่ คือพิธีรับน้ำ "สุคนธศรี สินธุธารา สุเทพาธาตุ" หมายถึงน้ำที่หลั่งไหลมาจากยอดดอยอันศักดิสิทธิ์ของชาวเชียงใหม่
และปีนี้ จะเป็นการแต่งกายแบบไทลื้อ สิบสองปันนา และผ้าสีคราม วัฒนธรรมการย่อมฮ่อมย้อมครามมาผสมผสาน คณะวิจิตรศิลป์ จึงได้ถือเอาว่าก่อนเริ่มการศึกษาทางศิลปะ ควรจะมีพิธีการเคารพกราบไหว้บวงสรวงครูบาอาจารย์ ทั้งในปัจจุบันและในธรรมชาติ ตลอดจนพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทะเจ้า พระบรมครูของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย รวมทั้งเหล่าเทพต่างๆตามความเชื่อของชาวล้านนาที่ถือเป็นครูแทบทั้งสิ้น
กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง ต้องมีความอดทนเป็นอย่างสูง ที่จะต้องปรับตัวเข้ากับ ระเบียบ ประเพณี ในการรับน้องที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน ประมาณ 2 เดือนผู้ที่มีความ อดทนเท่านั้น ที่จะสามารถเข้าสู่พิธีไหว้ครูของคณะวิจิตรศิลป์ได้เมื่อพบเจอปัญหา อุปสรรค ต่างๆ ก็สามารถที่จะแก้ไขให้ลุล่วงไปด้วยดี ด้วยสติปัญญา ความสามารถ และ อดทน
ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก FB : Paisan Tinnachatarak