"โสมนัส" องค์หญิงผู้ทรมานกับโรคร้าย จอมนางราชสำนักไทยคนที่ 5 ใน ร.4

"โสมนัส" องค์หญิงผู้ทรมานกับโรคร้าย จอมนางราชสำนักไทยคนที่ 5 ใน ร.4

"โสมนัส" องค์หญิงผู้ทรมานกับโรคร้าย จอมนางราชสำนักไทยคนที่ 5 ใน ร.4
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัส หรือพระนามเต็มคือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัส พระองค์เป็นพระธิดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษณานุคุณ พระองค์หญิงโสมนัสทรงประชวรเจ็บออด ๆ แอด ๆมาแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ หากเรียกตามภาษาชาวบ้านก็คือเด็กขี้โรคนั่นเอง เมื่อเจริญพระชันษาขึ้นพระองค์ทรงมีพระสิริโฉมงดงามเป็นอย่างยิ่ง ดังดรุณีแรกรุ่นที่เจ้าชายหนุ่มในพระราชวงศ์หมายปอง เมื่อ รัชกาลที่ 4 ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าอยู่หัว พระองค์หญิงโสมนัสจึงต้องเข้าถวายตัวเป็นพระมเหสี

จากนั้น รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระองค์หญิงโสมนัสขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเธอโสมนัสวัฒนาวดี พระนางนาฎ บรมอัครราชเทวี ในตำแหน่งพระอัครมเหสี สูงสุดในฝ่ายในชีวิตของพระองค์นับได้ว่าเป็นชีวิตที่มีความสุข โรยไปด้วยกลีบกุหลาบ เพราะในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุราว 17-18 พรรษาเท่านั้น นับได้ว่าพระองค์ทรงเป็นเจ้าหญิงที่อายุน้อยที่สุดในพระราชวงศ์ที่ขึ้นดำรงตำแหน่งพระอัครมเหสีเหสี หากพระองค์ทรงมีพระประสูติกาลเป็นพระราชโอรส แน่นอนว่าพระราชโอรสของพระองค์จะได้เป็นสมเด็จเจ้าฟ้ารัชทายาทอย่างแน่นอน ซึ่งการต่อมาก็เห็นจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ สมเด็จพระนางทรงพระครรภ์ ซึ่งสร้างความปิติยินดีให้แก่พระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์เป็นอย่างมาก แต่แล้วเรื่องที่ไม่มีผู้ใดคาดคิดก็เกิดขึ้น

ไม่กี่เดือนหลังจากสมเด็จพระนางทรงพระครรภ์ เหตุการณ์อันน่ากลัวก็เกิดขึ้นจนได้ สมเด็จพระนางทรงพระประชวรปวดท้องถึงกับตรัสไม่ได้ความ สั่นไปทั้งตัว ทรงคลื่นเหียนเวียนไส้ถึงกับตกพระโลหิตติดต่อกันเกือบอาทิตย์ แต่แล้วพระอาการก็หายเป็นปกติเหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น ทรงพระดำเนินได้สะดวกปฏิบัติหน้าที่ดังเดิม แต่แล้วก็กลับมามีอาการเจ็บพระครรภ์อีก เป็นๆหายๆอย่างนี้จนพระครรภ์เข้าเดือนที่ 7 แต่คราวนี้เห็นจะเป็นมากกว่าครั้งก่อนๆ ถึงกับเจ็บท้องข้ามคืนและข้ามไปอีกหลายๆคืนเลยทีเดียว เหมือนจะทรงมีพระประสูติกาล แล้วก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ

เที่ยงคืนวันนั้นพระองค์ทรงมีพระประสูติกาลเป็นพระราชกุมาร แต่หลังจากประสูติได้เพียง 4 ชั่วโมง พระราชโอรสองค์น้อยก็เริ่มหายพระทัยโรยราและสิ้นพระชนม์ลงโดยสงบ ไม่มีผู้ใดกล้ากราบบังคมทูลสมเด็จพระนาง แต่แล้วรุ่งขึ้นตัวสมเด็จพระนางเองกลับมีพระอาการทรุดลง อาเจียนเป็นสีดำ สีเขียว และสีเหลือง แพทย์หลวงจึงเร่งระดมรักษาพระอาการประชวรแต่แล้วพระอาการก็ทรุดลงอีก คณะแพทย์หมดหนทาง พระเจ้าอยู่หัวถึงกับมีคำสั่งให้ราชสำนักออกประกาศไปทั่วทั้งแผ่นดินว่าจะพระราชทานเงินทองกว่า 2 หาบ หากใครรักษาสมเด็จพระนางได้

พระอาการเหมือนจะทรงทุเลาขึ้น ผ่านมาเดือนกว่ากลับมีพระอาการที่ไม่มีผู้ใดคาดคิดขึ้นมาอีก ทั้งน้ำเลือด น้ำเหลืองและน้ำหนองหลั่งไหลออกมาอย่างรวดเร็วจากร่างกายของพระองค์แทบจะทุกทิศ ข้าหลวงถึงกับต้องใช้อ่างใบขนาดย่อมมารองไว้ วินาทีนั้นทรงตรัสหาแต่พระโอรสหวังว่าจะได้เห็นหน้า บ่ายวันที่ 10 ตุลาคม 2395 พระองค์ทรงหายพระทัยเป็นครั้งสุดท้ายแล้วสวรรคตลงอย่างเฉียบพลัน เสียงโศกอาดูรของพระราชวงศ์ข้าหลวงในราชสำนักดังปกคลุมไปทั่วทั้งวังหลวง

พระเจ้าอยู่หัวทรงพระอาลัยอย่างยิ่ง ถึงกับพระราชทานเครื่องทรงขัตติยราชิสริยาภรณ์เต็มที่ตามโบราณราชประเพณีของพระอัครมเหสีอย่างสมพระเกียรติ แล้วเชิญลงพระโกศทองใหญ่พร้อมพระชฏากษัตริย์บนพระเศียร แล้วแห่จากพระตำหนักของพระองค์เข้าสู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีงานออกพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวงอย่างยิ่งใหญ่ แล้วทรงสร้างวัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่พระอัครมเหสีนางผู้เป็นที่รักยิ่ง วัดแห่งนี้ก็คือ “วัดโสมนัสวิหาร” นั่นเอง นามสกุลที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์คือ นามสกุล สุวรรณทัต ทางเจ้าจอมมารดางิ้ว มารดาของสมเด็จพระนาง

 

(จากภาพคือ ภาพเหมือนสมเด็จพระนางโสมนัส ภาพด้านซ้ายคือหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ ส่วนของฝ่ายในที่ประทับของสมเด็จพระนาง และวัดโสมนัส)


วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร หรือ วัดโสมนัสวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถและพระวิหารมีภาพจิตกรรฝาผนังอันงดงาม มีคลองผดุงกรุงเกษมที่รัชการที่ 4 โปรดให้ขุดขึ้นแล้วเสร็จในปี 2395 ผ่านทางด้านหน้าของพระอุโบสถ ภายในวัดมีเจดีย์ 2 องค์ เจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ (เจดีย์ทอง รูปทรงแบบลังกาสีทองเหลืองอร่าม ยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่า สามารถมองเห็นได้ไกล ซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติแวะเวียนเข้ามาชมความงามและกราบนมัสการกันอยู่มิได้ขาด)

และยังมีเจดีย์องค์เล็ก (เจดีย์มอญ) อีกองค์ที่มีลักษณะสวยงามเช่นเดียวกับปรินิพพานสถูปในอินเดีย และหาชมได้ยากเพราะเจดีย์ลักษณะนี้มีเพียง 2 องค์ในประเทศไทย คือ ที่วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร และที่วัดกันมาตุยาราม อีกองค์หนึ่ง ปัจจุบันมีการก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างเพิ่มเติม อาทิเช่น ตึก 150 ปี โรงเรียนศาลักษณาลัย ศาลาสำนักงานภาค ศาลาสถิต ศาลามุขหน้าวัด ตึก 80 ปีสมเด็จพระวันรัต เป็นต้น นอกจากนั้นยังมี โรงเรียนวัดโสมนัส กองการฌาปนกิจกรมทหารบก สุสานทหาร อยู่ภายในบริเวณวัด

ข้อมูลและภาพประกอบจาก คลังประวัติศาสตร์ไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook