"สาธุ" คำเดียวก็ได้บุญมหาศาล จริงหรือ?

"สาธุ" คำเดียวก็ได้บุญมหาศาล จริงหรือ?

"สาธุ" คำเดียวก็ได้บุญมหาศาล จริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาธุ แปลว่าดีแล้ว มาจากรากศัพท์ว่า สาธฺ (หรือ สธฺ) ในความหมายว่า สำเร็จ เมื่อเวลาที่เราได้ทำบุญใดๆ แล้วหากมีคนเห็นการกระทำดีของเราแล้วเขากล่าว “สาธุ” ด้วยความศรัทธาด้วยความปีติยินดีที่ได้เห็นเราทำบุญ เขาคนนั้นก็ได้บุญไปด้วยอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนการจุดเทียนแล้วมีคนมาขอต่อเทียนฉันใดฉันนั้น นี่คือบุญในรูปแบบของการโมทนาบุญเอาจากการเห็นผู้อื่นทำความดี

บุญนั้นมีความมหัศจรรย์มากในเรื่องการสร้างบุญ เราท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทำบุญเองก็ย่อมได้บุญ ชวนผู้อื่นทำบุญก็ได้บุญ แต่บางคนแม้จะไม่ได้สละทรัพย์เป็นเจ้าของวัตถุทาน ไม่ได้เป็นผู้ถวายทานด้วยมือ อีกทั้งไม่ได้อยู่ร่วมในการให้ทานกับเขาด้วย แต่มารู้ทีหลังว่าคนอื่นเขาให้ทาน รู้แล้วก็รู้สึกยินดีเลื่อมใสไปกับเขา บุคคลนั้นก็จะพลอยได้รับผลของบุญด้วยอย่างน่าอัศจรรย์

การอนุโมทนาบุญว่า “สาธุ สาธุ สาธุ” นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งกับการโมทนาบุญกับการทำทานของผู้อื่นเท่านั้น ถ้าเป็นการโมทนาในการสร้างบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เจ้าหรือพระอริยสงฆ์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยแล้วก็จะยิ่งก่อเกิดผลบุญมหาศาล ในพุทธชาดกและพุทธประวัติ เราเห็นเสมอว่าคนที่ทำบุญสร้างบารมีจริงๆ คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กระทำเพียงการโมทนาบุญอย่างเดียว กับผู้ที่บำเพ็ญบารมีสูงสุดก็ย่อมได้บุญมากตามไปด้วย

อัตราส่วนบุญที่เกิดจากการโมทนาบุญนั้นเป็นอย่างไร เรื่องนี้เป็นที่สงสัยกันมากว่าการกล่าวโมทนาบุญนั้นจะได้บุญมากน้อยเท่าไหร่เห็นคนอื่นทำดีแล้วแล้วเราไปขอแบ่งบุญเขามาอย่างนั้นหรือ หรือว่าโมทนาแล้วเป็นการขโมยบุญจากผู้อื่นมาหรือไม่ อานิสงส์ที่จะพึงได้จากการโมทนาบุญนั้นเทียบได้เป็นผลกำไรจากการใช้จิตทำบุญ ไม่ต้องลงทุนเอง ถ้าได้ทำอย่างตั้งใจจริง ด้วยจิตยินดีอย่างเต็มเปี่ยมในคุณงามความดีที่ผู้อื่นทำก็อาจได้บุญมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์

ผู้ที่เป็นเจ้าของบุญหรือผู้ที่กระทำบุญนั้นย่อมได้บุญ 100 เปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว ส่วนผู้ที่ตั้งใจโมทนาบุญก็ได้ไปครั้งละ 90 เปอร์เซ็นต์ หากมีผู้ที่มาทำบุญผ่านไป 10 คน เราก็ได้บุญประมาณ 900 มากกว่าเจ้าของผู้ทำบุญในแต่ละรายเสียอีก เป็นเคล็ดการทำบารมีให้เต็มเร็วมาก


ส่วนในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา ได้จำแนกการใช้คำว่า สาธุ ไว้ 6 นัย กล่าวคือ

สุนทระ หมายถึง ดีงาม
ทัฬหิกัมมะ เป็นการย้ำอีกครั้ง เพื่อให้การกระทำนั้นมั่นคงยิ่งขึ้น
อายาจนะ เป็นคำอ้อนวอนหรือเรียกร้อง เมื่อเริ่มต้นจะพูดอย่างอื่นต่อไป
สัมปฏิจฉนะ เป็นการรับคำหรือยอมรับคำพูดของผู้อื่น
สัชชนะ หมายถึง คนดี
สัมปหังสา เป็นคำแสดงความยินดีหรือพอใจ

ก่อนจะอธิบายธรรมอธิบายคำว่าสาธุให้ฟังสักหน่อยพวกเราได้ยินแต่ว่าสาธุ ๆ แต่ไม่รู้แปลว่าอะไร สาธุในภาษาไทยมีความหมายอย่างน้อย 5 อย่าง

1.สาธุหมายถึง อนุโมทนา แสดงความยินดี ตกลง เห็นด้วย เช่น เวลาเราเห็นด้วยกับใครตกลง โอเค เราก็บอกสาธุ เห็นด้วย ๆ สมมุติว่าเราเลือกตั้งเห็นคะแนนเสียงเราก็บอกสาธุไม่ต้องปรบมือกราว ๆ เพราะปรบมือเป็นของฝรั่งเขาของไทยคือสาธุเห็นด้วยเหมาะสมแล้ว หรืออาจารย์รู้ว่าลูกศิษย์กราบสวยอาจารย์ก็บอกสาธุดีแล้วอนุโมทนายินดีด้วย

2.สาธุหมายถึง ยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือให้สำเร็จประโยชน์ เช่นได้ยินคำว่า มัตตัญยุตตา สทา สาธุ ความรู้จักประมาณให้สำเร็จประโยชน์เสมอ

3.สาธุหมายถึง ขอให้สมพรปากกับคำอวยพรที่ท่านให้ อย่างเช่น อันนะภาระในครั้งสมัยพุทธการเป็นคนยากจนเข็ญใจทำบุญกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้อธิฐานว่าคำว่าจนอย่าได้มีและจงได้รู้ธรรมอย่าง ท่านพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ให้พรว่า อิจฉิตัง ปัตถิตัง ตุมหัง ขิปปะเมวะ สะมิชฌะตุ สัพเพ ปูเรนตุ  สังกัปปาจันโท ปัณณะระโส ยะถา มะณิ โชติระโส ยะถา แปลว่า ขออิฏฐผลที่ท่านปรารถนาแล้วตั้งใจแล้วจงสำเร็จโดยฉับพลัน ขอความดำริทั้งปวงจงเต็มที่ เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ เหมือนแก้วมณีอันสว่างไสวควรยินดี ฯ จึงรับว่าสาธุขอให้สมพรปากท่าน

4.สาธุหมายถึง ขอโอกาส อันนี้เป็นสำนวนของพระ อย่างสมมุติว่าจะอาราธนาศีลก็จะขึ้นว่า สาธุ สาธุ มะยัง ภันเต เคยได้ยินบ้างไหม เหมือนกับว่าคนเป็นครูบาอาจารย์จะทำอะไรก็ขอโอกาส พระเถระเสียก่อนเช่น จะเปิดหน้าต่างก็ ขอโอกาสท่านอาจารย์ครับผมจะเปิดหน้าต่าง ทำอะไรต้องบอก ผู้ใหญ่เสียหน่อย ไม่ใช้ทำพรวด ๆ ไปขาดความเคารพ การทำขอโอกาสอย่างนี้ท่านเรียกว่าสาธุภาษาบาลี ภาษาไทยว่าขอโอกาส

5.สาธุหมายถึง แสดงความต้อนรับแสดงความยินดีไชโยโห่ร้องกราบไหว้ ยกตัวอย่าง เวลาสมเด็จสังฆราชหรือใครก็ตามเสด็จไปต่างประเทศ ต่างประเทศเช่นเนปาลเขานิยมเวลามาต้อนรับเขาจะร้องสาธุตลอดทาง ที่มาต้อนรับ สาธุตัวนี้ก็คือขอยินดีต้อนรับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook